วิธีการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ 74 วิธี

ธีการทวงหนี้ 74 วิธี ที่พี่นกกระจอกเทศเคย

โพสต์ไว้เมื่อ 14 มี.ค. 2009, 17:20


ต่อไปนี้...เป็นหัวข้อตำรา "วิธีการทวงหนี้ 74 วิธี" ของไอ้พวกที่ชอบอ้างตัวเองว่า เป็นสถาบันกฏหมาย (แต่โดยแท้จริงแล้วเป็นไอ้พวกหมาทวงหนี้) ที่ใช้สำหรับทำการเปิดคอร์ส "สอนอบรม" กันมาเป็นทอดๆ จากรุ่นเก่า-สู่รุ่นใหม่ , จากรุ่นชั่วมาก-สู่รุ่นชั่วฉิบหาย...และถ่ายทอดกันมาเรื่อยๆ จนสู่ปัจจุบัน

ที่ผมเอาเนื้อหาเหล่านี้มาลงให้อ่านกัน ก็เพื่อให้สมาชิกของชมรมฯ ได้ศึกษาหาความรู้จากแนวทาง ที่พวกมันจะใช้ในการติดตามทวงหนี้...จะได้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของพวกมัน ตามสุภาษิตจีนโบราณที่เคยกล่าวไว้ว่า

รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้ง-ชนะร้อยครั้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามหนี้ 74 วิธี

ปัญหา
1. ลูกหนี้ชอบผลัด และไม่มาจ่ายตามที่ผลัดไว้จะผลัดไปเรื่อยๆ
วิธีแก้ไข
ถามเหตุผลที่ลูกหนี้ขอผลัดเพราะอะไร มีเหตุผล และความจำเป็นจริงหรือไม่ที่จะขอผัดผ่อน พิจารณาเป็นกรณีไปหากไม่มีเหตุผลเพียงพอพยามยามไม่ให้ผัดผ่อนตื๊อตามเก็บให้ ได้หรือหากลูกหนี้มีความจำเป็นจริงๆ ก็ให้นัดระยะเวลาอันใกล้พร้อมกับมีเงื่อนไขว่าหากผิดนัดตามที่ผัดผ่อนอีกจำ ต้องขอรถกลับก่อน เพื่อสร้างแรงกดดันและป้องกันมิให้ผิดนัดตามที่ผลัดไว้อีก
 ถ้าพบลูกหนี้ประเภทนี้พยายามดูรายละเอียด หลังการ์ดจะเห็นประวัติการผิดนัดหลายครั้งหลายหน ใช้ข้อมูลเหล่านั้นมายืนยันกับลูกหนี้ว่า เคยผิดนัดมาแล้วหลายครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย มิฉะนั้นจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
 การตกลงนัดหมายพยายามทำเป็นหนังสือระบุเงื่อนไข หากผิดนัดยินดีคืนรถหรือให้ยึดได้ทันที และให้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ทำสำเนาให้ลูกหนี้ไว้ด้วย 1 ชุด เพื่อช่วยเตือนความจำ

ปัญหา
2. ลูกหนี้ย้ายที่อยู่โดยไม่แจ้งบริษัททราบ พนักงานไปตามก็จะไม่เจอตัว ส่งจดหมายไปก็ตีกลับ
วิธีแก้ไข
 ติดต่อผู้เช่าซื้อที่ทำงาน
 สอบถามบ้านข้างเคียงว่าย้ายไปไหน เมื่อไหร่
 ติดต่อผู้ค้ำประกัน เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้เช่าซื้อ และทรัพย์เช่าซื้อ
 ดูบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านว่า ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน ส่งจดหมายไปหรือออกตาม
 ดูรายละเอียดจากจดหมายตีกลับว่า กลับมาเพราะสาเหตุข้อไหน เช่น บ้านรื้อถอน หรือไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า หรือจ่าหน้าไม่ถูกต้องเพราะพิมพ์ผิด จะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

ปัญหา
3. ลูกหนี้เอารถไปจำนำขายต่อ หรือไม่เกรงกลัวและไม่ยอมเปลี่ยนสัญญา
วิธีแก้ไข
ติดต่อลูกหนี้และชี้แจงให้ทราบว่าไม่มีสิทธิ์จำนำหรือขายรถของบริษัทต่อ บุคคลอื่น จนกว่าจะผ่อนหมดเพราะกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังลูกหนี้จนกว่าจะชำระงวดสุด ท้าย
 ติดต่อผู้เช่าซื้อรถต่อ ให้รีบตามผู้เช่าซื้อเข้ามาโอนสัญญา หากหาผู้เช่าซื้อไม่พบอาจใช้วิธียึดมาขายไป เพื่อเป็นการแก้ไขหนี้มีปัญหาแทนการโอนสิทธิ์
 ติดต่อผู้เช่าซื้อรถต่อ ให้รีบตามผู้เช่าซื้อมาโอนสัญญา หากหาผู้เช่าซื้อไม่พบอาจใช้วิธียึดมาขายไป เพื่อเป็นการแก้ไขหนี้มีปัญหาแทนการโอนสิทธิ์

ปัญหา
4. ลูกหนี้ชอบโกหก เริ่มตั้งแต่ตอนซื้อรถ อาจปิดบังสถานที่อยู่ที่แท้จริง ปิดบังการทำงาน บางครั้งออกจากที่ทำงานแล้วยังอ้างว่าทำอยู่คนซื้อคนค้ำบางครั้งเป็นสามี ภรรยากัน ก็ปิดบังว่าเป็นญาติกัน
วิธีแก้ไข
กรณีนี้เจ้าหน้าที่สินเชื่อ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเครดิต หรือพนักงานขายต้องช่วยวิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลที่ลูกหนี้ให้ว่าถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ และไม่ให้ความร่วมมือกับลูกหนี้หรือแต่งตัวให้ลูกค้าเสียเอง โดยเขียนปิดบังอำพรางเอาไว้ (เพื่อให้ผ่านการอนุมัติให้สินเชื่อ) ทั้งๆ ที่ตนเองรู้ข้อมูลที่แท้จริงว่าไม่ถูกต้อง
 กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบข้อมูลลูกหนี้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องรีบบันทึกข้อมูลให้หน่วยจัดเก็บเร่งรัดหนี้ทราบ เพื่อรีบสืบหาลูกหนี้ และทรัพย์เช่าซื้ออย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันควรส่งข้อมูลเหล่านี้ให้หัวหน้าแผนกสินเชื่อรู้เพื่อตักเตือน เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ผู้ปล่อยรถรายนั้นด้วย

ปัญหา
5. ลูกหนี้ไม่ได้ใช้รถเอง เอารถให้คนอื่น หรือญาติ ใช้อยู่ต่างจังหวัดเก็บเงินก็ไม่ได้
วิธีแก้ไข
 พยายามกดดันผู้เช่าซื้อให้รับผิดชอบตามสัญญาเช่าซื้อและว่าอาจถูกฟ้องตาม สัญญาเช่าซื้อได้แม้ไม่ใช้รถเองก็ตาม ให้รีบนำรถกลับคืนหรือติดตามผู้ใช้รถให้รีบชำระ
 ติดต่อและกดดันผู้ค้ำประกัน ให้รีบตามผู้เช่าซื้อและผู้ใช้รถให้รีบชำระ หรือคืนรถ มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม
 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้รถ สถานที่ใช้รถ วัน-เวลา ที่พบตัวและรถ เพื่อออกตามยึดรถกลับหรือส่งข้อมูลให้รับจ้างยึดนอกดำเนินการต่อไป

ปัญหา
6. ลูกหนี้มักชอบอ้างว่ารู้จักกับผู้บริหาร ผู้จัดการ เจ้าของ
วิธีแก้ไข
ชี้แจงลูกหนี้ว่าเราทำตามหน้าที่ ในขณะขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก่อน หากผู้บริหาร หรือผู้จัดการ เจ้าของ ที่ลูกหนี้รู้จัก มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงอย่างไรจะแจ้งมาที่ตัวเรา และเราจะปฏิบัติตามภายหลังกรณีนี้ให้ชี้แจงด้วยความสุภาพมิใช่ท้าทาย เพราะลูกหนี้อาจนำไปขยายผลพูดกับบริหารในทางลบ และเป็นผลเสียแก่ตัวเราได้

ปัญหา
7. ลูกหนี้มักจะไม่อยู่บ้าน
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ต้องดูว่าลูกหนี้ทำงานอะไร เราออกตามช่วงเวลาไหน ลูกหนี้จงใจหลบหรือไม่อยู่เพราะออกไปทำงาน – ทำธุระหรือไม่ พยายามออกตามช่วงลูกหนี้อยู่บ้าน เช่น บางรายต้องออกตามช่วงเช้ามืด หรือดึกๆ หรือวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น หากไปแล้วไม่พบควรฝากโน๊ตไว้ว่าเรามาตามและให้รีบติดต่อกลับโดยเร็ว โดยให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับด้วย

ปัญหา
8. ผู้ค้ำประกันมีปัญหากับผู้เช่าซื้อ จะมาถอนค้ำประกันทันที
วิธีแก้ไข
ชี้แจงผู้ค้ำประกันว่าถอนค้ำไม่ได้ เพราะบริษัทจะขาดผู้ค้ำประกันรายนี้ แต่มีวิธีแก้ไขโดยขอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระปิดบัญชีไป ผู้ค้ำประกันก็จะหลุดพ้นจากหน้าที่ค้ำประกันหรือยึดรถมาคืนบริษัทเพื่อเป็น การบอกเลิกสัญญา แต่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายหากขายขาดทุน หรือหาผู้ค้ำประกันคนใหม่ ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าหรือดีกว่ามาค้ำประกันแทนแต่ต้องผ่านการพิจารณาเครดิต จากฝ่ายสินเชื่อและตรวจสอบเครดิตด้วย

ปัญหา
9. ใช้สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเก่ามาเช่าซื้อ แต่ย้ายออกไปนานแล้ว(โดยใช้ใบถ่ายเอกสารใบเก่ามาซื้อรถ ซึ่งไม่ได้ระบุว่าย้าย
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ต้องแจ้งให้ฝ่ายสินเชื่อทราบเพื่อระมัดระวังและป้องกันโดยอาจเทียบ กับต้นฉบับตัวจริง หรือออกตรวจสอบดูว่าอยู่บ้านปัจจุบันที่ไหน โดยขอไปส่งรถให้ที่บ้าน แล้วดูว่าตรงกันกับข้อมูลในทะเบียนบ้านหรือไม่? ฝ่ายสินเชื่ออย่าปล่อยปละละเลย หรือแนะนำลูกค้าว่าไม่เป็นไรใช้ทะเบียนบ้านเก่าได้เพื่อให้ผ่านการอนุมัติ สินเชื่อ เพราะจะทำให้ตามลูกหนี้ไม่พบ และมีผลเสียต่อการทำงานด้านติดตามหนี้ กล่าวคือ ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการสืบหาที่อยู่ปัจจุบันของลูกหนี้ใหม่

ปัญหา
10. บางราย สามีเป็นผู้เช่าซื้อรถ ให้ภรรยาเป็นผู้ค้ำประกัน (แต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียน)
วิธีแก้ไข
ปกติถ้าสามีภรรยาเป็นทั้งผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน จะทำให้การค้ำประกันไม่ดีพอ เพราะตามกฎหมายคือว่า สามี-ภรรยา เป็นบุคคลคนเดียวกัน และมีรายได้และรายจ่ายร่วมกัน เวลาย้ายหรือหลบหนีก็ไปพร้อมกัน ฝ่ายสินเชื่อที่ดีจะไม่ทำสัญญาในลักษณะนี้ แต่บางกรณีอยู่กินด้วยกันแล้ว แต่ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนไม่ได้เปลี่ยนนามสกุล (หรือเปลี่ยนจากนางสาวเป็นนาง) เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรสมาอ้างว่าเป็นเพื่อนแล้วออกรถก็มี กรณีนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ใช้เทคนิคสอบถาม ตรวจสอบข้อมูล และการสังเกตเพื่อได้ข้อมูลที่แท้จริง หรืออาจขอผู้ค้ำประกันเพิ่มเติม

ปัญหา
11. ลูกหนี้ชอบอ้างบริษัทโน้นบริษัทนี้ ว่าขาดผ่อนตั้งหลายเดือนไม่เห็นมีปัญหา
วิธีแก้ไข
กรณีลูกหนี้มักจะอ้างเพื่อไม่ให้เราเร่งรัดหนี้นั่นเอง ดังนั้น ให้ชี้แจงว่าระเบียบของบริษัทเราเป็นอย่างไร และว่าระเบียบบริษัทเราอาจจะไม่เหมือนที่อื่นได้ ลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบบริษัทเรา
 ให้ชี้แจงลูกหนี้ว่าบริษัทส่วนใหญ่แล้วมีระเบียบคล้ายกัน คงไม่เปิดโอกาสให้ขาดผ่อนหลายเดือนโดยไม่มีปัญหาแน่นอน ยกเว้นแต่พนักงานบางคนปล่อยปละละเลยไม่ตามหนี้เท่านั้น

ปัญหา
12. ไปหาลูกหนี้แล้วไม่เจอ เพราะลูกหนี้ทำงานไม่เป็นหลักแหล่งอยู่ไม่เป็นที่
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ต้องดูว่าลูกหนี้ทำงานประเภทไหน เช่น รับเหมาก่อสร้างหรือขายของเร่ตามตลาดนัด หรือขายของต่างจังหวัด พยายามสืบหาที่ทำงาน(ไซด์งาน) ขอรายละเอียดที่อยู่-แผนที่-โทรศัพท์ผู้ติดต่อ-ประสานงานได้
 ติดต่อผู้ค้ำประกันเพื่อช่วยติดตามอีกทางหนึ่ง
 การตามที่บ้านไม่พบให้ฝากโน้ตไว้
 ดูบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้าน ส่งจดหมายเตือนหรือออกติดตามภูมิลำเนาเดิม ซึ่งอาจกลับไปทำงาน หรือเยี่ยมญาติ เป็นต้น

ปัญหา
13. ลูกหนี้ไม่ย่อมผ่อนเวลามีรถหาย รถถูกจับ
วิธีแก้ไข
กรณีรถหายไม่มีประกัน (รถยนต์, รถจักรยานยนต์)
1. รีบติดต่อลูกหนี้ให้ชำระปิดบัญชีโดยเร็ว หรือผ่อนชำระเป็นเงินก้อน 2-3 งวด ปิดบัญชี โดยหมุนเงินจากผู้ค้ำประกันหรือจุดอื่นก่อน
2. ติดต่อผู้ประค้ำประกันให้รับทราบและช่วยแก้ไขหนี้
3. หากเพิกเฉยรีบออกโนติส และดำเนินคดีโดยเร็วอย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะลูกหนี้จะเพิกเฉยไม่ยอมชำระ
 กรณีรถถูกจับ ให้ติดต่อลูกหนี้และผู้ใช้ว่ารถอยู่ที่ สน.อะไร ร้อยเวรชื่ออะไร เหตุเกิดเมื่อไหร่ สถานที่เกิดเหตุ ข้อหาอะไร ขอสำเนา บ.จ.ว. แนบเรื่องไว้ด้วย เพื่อติดตามขอรับรถคืนโดยเร็วแล้วขายทอดตลาดและเจรจาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ พร้อมติดต่อผู้ค้ำประกัน หากเพิกเฉยรีบออกโนติสและดำเนินคดี

ปัญหา
14. ลูกหนี้ที่อยู่ต่างจังหวัดไกลๆ ธนาณัติมาได้ เวลาค้างแล้วติดตามยาก และค้าง 3 งวด ชอบส่งธนาณัติมาชำระแค่ 1 งวด ทำให้ยอดค้างยังมีอยู่
วิธีแก้ไข
ตรวจดูซองธนาณัติว่ามีที่อยู่หรือไม่ ส่งมาจากจังหวัดไหน ดูเทียบกับทะเบียนบ้าน-บัตรประชาชนว่าตรงกันหรือไม่ หรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน
 ออกจดหมายเตือนให้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่โดยส่งตามที่อยู่ ตามสัญญาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ที่อยู่ในซองธนาณัติ ที่ทำงาน และส่งผู้ค้ำประกันด้วย
 พยายามติดต่อลูกหนี้และผู้ค้ำ เจรจาให้ชำระทันดิว เพื่อไม่ต้องเสียเบี้ยปรับล่าช้าต่อไป

ปัญหา
15. ลูกหนี้นำรถไปใช้ที่อื่นแล้วไม่ยอมผ่อนต่อ พนักงานก็ติดตามไม่ถึง
วิธีแก้ไข
กรณีลูกหนี้นำรถไปใช้ที่อื่นต้องพยายามสืบข้อมูลว่าใช้รถอยู่ที่ไหนโดยสอบ ถามจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น ญาติพี่น้อง ผู้ร่วมงาน และติดต่อกดดัน ผู้ค้ำประกันให้ช่วยสืบหาและรับผิดชอบ
 ตรวจสอบดูว่าภูมิลำเนาเดิมตามทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชนว่าอยู่ที่ใด เพราะลูกหนี้อาจนำรถไปใช้ต่างจังหวัด หรือใช้ตามไซด์งาน
 กรณีนี้พนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ติดตามหนี้อาจไม่รู้วิธีการสืบหา-สอบ ถาม-กดดัน เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ใช้รถของลูกหนี้ เราในฐานะหัวหน้างานต้องแนะนำวิธีการให้ มิฉะนั้น บัญชีลูกหนี้เหล่านี้จะขาดการดูแลรับผิดชอบ และอาจกลายเป็นหนี้สูญได้

ปัญหา
16. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระค่างวดได้ตรงตามกำหนด หรือล่วงเลยเกินเวลาอันสมควร
ลูกหนี้ที่มีปัญหาไม่ชำระหนี้ตามกำหนดนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความสามารถในการชำระหนี้อ่อน เช่น มีปัญหาการเงิน รายได้ลดลง หรือมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น หรือบางส่วนเกิดจากความตั้งใจในการชำระคือน้อยลงเช่น พวกเหนียวหนี้ มีอิทธิพล นำเงินไปหมุนจุดอื่นก่อน พวกนี้จะประวิงการชำระหนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีแก้ไขคือ
1. กรณีความสามารถในการชำระหนี้อ่อน พิจารณาถึงสาเหตุเป็นรายๆ ไป เช่น ถ้ามีปัญหาการเงินเพราะเล่นการพนันใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เที่ยวเตร่ ฯลฯ คงต้องรีบกดดันให้ชำระหนี้โดยเร็วหากไม่ชำระอาจต้องสืบหาทรัพย์เช่าซื้อ เตรียมยึดคืน เมื่อกดดันให้ชำระหนี้ที่ค้าง หรือให้ชำระปิดบัญชี
2. กรณีความตั้งใจในการชำระคืนน้อยลง กรณีนี้คงต้องรีบสืบหาทรัพย์เช่าซื้อโดยเร็ว และยึดคืนเพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์เช่าซื้อและบริษัท เพราะลูกหนี้ไม่ตั้งใจจะชำระหนี้ประวิงเวลา เพื่อใช้ทรัพย์เช่าซื้อไปเรื่อยๆ เมื่อยึดทรัพย์เช่าซื้อแล้ว โดยมากมักให้ชำระหนี้ปิดบัญชีเท่านั้น หากใช้อิทธิพลไม่ยอมให้ยึดหรือหลบซ่อน รีบออกโนติสและดำเนินคดีโดยเร็วเพื่อเร่งให้ชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย

ปัญหา
17. ลูกหนี้ที่ถูกฟ้อง หรือเรียกค่าเสียหายไม่ค่อยติดต่อกับบริษัท
วิธีแก้ไข
 กรณีลูกหนี้ถูกฟ้อง ส่วนมากลูกหนี้เหล่านี้มีปัญหาเรื่องความสามารถในการชำระหนี้อยู่แล้ว และบางส่วนก็มีปัญหาในการไม่ชำระคืนด้วย มักไม่ค่อยติดต่อบริษัท จึงจำเป็นที่พนักงานต้องหมั่นติดต่อกับลูกหนี้ และเจรจาเร่งรัดให้มีการทำยอมหรือคืนรถโดยเร็ว
 กรณีลูกหนี้ถูกเรียกค่าเสียหาย ส่วนมากลูกหนี้ถูกยึดรถมาแล้วขายขาดทุนมีค่าเสียหาย มักจะเพิกเฉย เพราะสภาพบังคับมีน้อย ต้องตั้งพนักงานให้รับผิดชอบโดยเฉพาะเพื่อหมั่นติดต่อลูกหนี้และติดตามเรียก ค่าเสียหายจากผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันหลายบริษัทตั้งเป็นหน่วยงานเรียก ค่าเสียหายโดยตรง

ปัญหา
18. ไปไม่พบลูกหนี้แต่พบญาติของลูกหนี้ ฝากญาติไว้ก็ไม่ได้ติดต่อกลับ
วิธีแก้ไข
กรณีไม่พบลูกหนี้ต้องพยายามโน้ตข้อความฝากไว้ เพราะการฝากญาติบอกด้วยวาจาบางครั้งก็ลืมบอก หากฝากโน้ตข้อความไว้ แล้วยังไม่ติดต่อกลับมา แสดงว่ามีเจตนาหลบเลี่ยงไม่ยอมติดต่อกลับบริษัทให้รีบออกจดหมายเตือนและ ติดต่อผู้ค้ำประกัน ตลอดจนเริ่มสืบหาทรัพย์เช่าซื้อว่าใช้อยู่ที่ไหน และอาจโทรศัพท์ติดต่อกลับไปตรวจสอบว่าได้รับโน้ตข้อความหรือไม่ แล้วทำไมไม่ติดต่อกลับบริษัท เพราะหากเพิกเฉยบริษัทจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะเกิดผลเสียกับตัวลูกหนี้ได้
1. กรณีความสามารถในการชำระหนี้อ่อน
พิจารณาถึงสาเหตุเป็นรายๆ ไป เช่น ถ้ามีปัญญาการเงินเพราะ เล่นการพนัน ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เที่ยวเตร่ ฯลฯ คงต้องรีบกดดันในชำระหนี้โดยเร็ว หากไม่ชำระอาจต้องสืบหาทรัพย์เช่าซื้อเตรียมยึดคืน เพื่อกดดันให้ชำระที่ค้างหรือให้ชำระปิดบัญชี
2. กรณีความตั้งใจในการชำระคืนน้อยลง
กรณีนี้คงต้องรีบสืบหาทรัพย์เช่าซื้อโดยเร็ว และยึดคืนเพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์เช่าซื้อและบริษัท เพราะลูกหนี้ไม่ตั้งใจจะชำระหนี้ ประวิงเวลาเพื่อใช้ทรัพย์เช่าซื้อไปเรื่อยๆ เมื่อยึดทรัพย์เช่าซื้อแล้ว โดยมากมักให้ชำระหนี้ปิดบัญชีเท่านั้น หากใช้อิทธิพลไม่ยอมให้ยึดหรือหลบซ่อนโนติสและดำเนินคดีโดยเร็ว เพื่อเร่งให้ชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย

ปัญหา
19. ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจบางคนจะตามได้ยากมาก เพราะไม่ค่อยอยู่กับที่ หรือบางหน่วยงานไม่ค่อยให้เข้าพบต้องรออยู่ด้านนอก พอแจ้งให้ทราบก็จะกลับมาบอกว่าไม่อยู่ ไปไหนไม่รู้ ไม่มาทำงาน ไปทานข้าว เป็นต้น
วิธีแก้ไข
 กรณีลูกหนี้อยู่ไม่เป็นที่ อาจฝากโน๊ตข้อความไว้หรือฝากหัวหน้า-ผู้บังคับบัญชา-เพื่อนร่วมงาน และย้ำว่าเป็นเรื่องสำคัญให้รีบติดต่อกลับ
 กรณีไม่ให้เข้าพบ อาจใช้วิธีอ้างว่าเป็นเพื่อน-ญาติ มาติดต่อเรื่องสำคัญหรือเรื่องส่วนตัว หากปกปิดอีกให้ฝากโน้ตข้อความไว้ว่าเรามาหาแล้วไม่พบ ให้รีบดำเนินการชำระหนี้หรือคืนรถโดยเร็วมิฉะนั้นจำต้องดำเนินการตามขั้นตอน หรือขอเข้าพบ หัวหน้า-ผู้บังคับบัญชา-เพื่อนร่วมงานแทนและใช้ยุทธวิธีปล่อยข่าวว่าลูกหนี้ กำลังจะถูกดำเนินการตามขั้นตอนแล้วให้รีบมาติดต่อด่วนภายในวันนี้ เพื่อกดดันลูกหนี้ให้ปรากฎตัวออกมา

ปัญหา
20. ลูกหนี้ประเภทข้าราชการ เช่น ทหาร ตำรวจ บางคนเก็บยากเพราะเขาอ้างว่าเขารู้กฎหมายเหมือนกัน บริษัทจะทำอะไรรุนแรงก็ไม่กล้า
วิธีแก้ไข
 กรณีลูกหนี้หัวหมอ เช่น ทนายความ ทหาร ตำรวจ บางคนที่มีปัญามากบางบริษัทมีนโยบายไม่ให้สินเชื่อกับลูกหนี้กลุ่มนี้ หรือหากให้สินเชื่อก็จะต้องมีผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้ บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานที่สามารถติดตามเร่งรัดหนี้ให้ชำระหนี้หรือคืนรถ ได้
 หากพบลูกหนี้กลุ่มนี้ พยายามติดต่อผู้ค้ำประกันให้ช่วยเจรจาเร่งรัดหนี้ให้สำหรับการเจรจากับ ลูกหนี้เหล่านี้ ก็ใช้วิธีการขอร้องให้รีบชำระหนี้ หรือคืนรถ เพราะการขู่ไม่ได้ผล หากผิดนัดอีก ก็ต้องส่งยึดหรือออกโนติส แล้วส่งฟ้องทันที เพราะส่วนใหญ่มีเจตนาไม่ชำระหนี้ และให้อิทธิพลไม่ยอมคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อด้วย

ปัญหา
21. ลูกค้าประเภทพูดไม่เข้าใจแล้วชอบโวยวาย ค้างอยู่ 3 งวด แต่เพิ่งให้มา 1 งวด เรามีจดหมายทวงหนี้ไป ก็มาโวยวายบริษัทว่าเพิ่งจะมาจ่าย ทำไมมีจดหมายไปอีก
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ควรชี้แจงลูกหนี้ว่าทางบริษัทมีระเบียบว่า หากลูกหนี้มียอดหนี้ค้างเกิน 1 งวด ต้องออกจดหมายเตือนลูกหนี้ (บางบริษัทออกจดหมายโดยระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ คือมียอดค้าง ก็จะพิมพ์จดหมายเตือนออกมา เพื่อส่งให้ลูกหนี้) หากไม่อยากให้ออกจดหมายเตือนก็ต้องชำระทันงวด คือไม่มียอดค้างนั่นเอง

ปัญหา
22. ลูกค้าที่ผ่อนหมดแล้ว แต่ไม่ค่อยได้มาโอน พอมีปัญหารถชนรถล้ม รถถูกจับอยู่โรงพัก แล้วก็จะมาขอหนังสือมอบอำนาจกับบริษัทเพื่อไปรับรถ ทำให้ยุ่งยากและเสียเวลา
วิธีแก้ไข
กรณีนี้บริษัทควรตั้งหน่วยงาน หรือมอบหมายให้พนักงานติดตามลูกหนี้ที่ผ่อนหมดแล้ว ให้มาทำโอนโดยเร็วเพื่อลูกหนี้จะได้สมุดทะเบียนเก็บไว้เป็นหลักฐานแสดง กรรมสิทธิ์ในตัวรถต่อไป หากลูกหนี้มาทำโอนแล้วได้เล่มทะเบียนไป ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาก็จะหมดไปด้วย

ปัญหา
23. ลูกหนี้ไม่มีเงินผ่อน เพราะไม่มีงานทำ หรือทำแล้วเงินไม่พอใช้
กรณีลูกหนี้ไม่มีเงินผ่อน เพราะมีปัญหาเรื่องไม่มีรายได้เพียงพอจึงไม่มีความสามารถชำระหนี้คืน ลักษณะนี้ต้องพิจารณาว่าลูกหนี้มีปัญหาชั่วครั้งชั่วคราวหรือมีลักษณะถาวร หากมีลักษณะถาวรคือ ไม่ยอมทำการทำงาน หรือทำก็ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพราะมีฐานะค่อนข้างต่ำอยู่เดิม
วิธีแก้ไข
1. ต้องนัดชำระหนี้แบบมีเงื่อนไขหากผิดนัดขอรถคืน และสืบหาทรัพย์เช่าซื้อเพื่อเตรียมยึดกลับ เพราะหากปล่อยไว้จะเสื่อมสภาพและเกิดค่าเสียหายมาก
2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกหนี้ประเภทนี้เพื่อแจ้งให้ฝ่ายขาย ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายตรวจสอบเครดิตงดปล่อยสินเชื่อลูกหนี้เหล่านี้ เพราะมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถจัดเก็บ-เร่งรัดหนี้ได้ ต้องยึดรถซึ่งขาดทุนแน่นอน

ปัญหา
24. ลูกหนี้ชอบเอารถไปซ่อน หรือเอาไปใช้ต่างจังหวัดไม่ทราบที่อยู่แน่นอน
วิธีแก้ไข
กรณีลูกหนี้ชอบเอารถไปซ่อน หรือใช้ต่างจังหวัด ต้องใช้วิธีกดดันผู้เช่าซื้อและขอให้ผู้ค้ำประกันช่วยติดตามอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันก็สืบดูภูมิลำเนาเดิมจากทะเบียนบ้าน-บัตรประชาชน และหาข้อมูลว่าใช้รถอยู่ที่ไหน อาจสอบถามจากญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงาน และส่งจดหมายที่มีข้อความตรายางว่า “อนุมัติฟ้อง” หรือ “เตือนครั้งสุดท้าย” เพื่อกดดันให้ลูกหนี้ปรากฎตัวออกมา หากใช้ทุกวิถีทางแล้วยังเพิกเฉยคงต้องออกโนติสและดำเนินคดีต่อไปตามลำดับ

ปัญหา
25. ลูกหนี้ไม่ค่อยเชื่อใจ เพราะเปลี่ยนพนักงานเก็บเงินบ่อย
วิธีแก้ไข
กรณีนี้พนักงานใหม่ต้องชี้แจงลูกหนี้พร้อมกับให้ดูบัตรพนักงานเอกสารเกี่ยว กับลูกหนี้ นามบัตร ฯลฯ เพื่อให้ลูกหนี้ไว้ใจ และอาจแนะนำว่าสามารถโทรศัพท์เข้าบริษัทเพื่อตรวจสอบได้ หากยังสงสัยอยู่ แต่การแก้ไขที่ดีคือ การป้องกันมิให้พนักงานเก็บเงินออกบ่อย โดยหาสาเหตุว่าออกเพราะอะไรเพื่อนำสาเหตุนั้นมาวิเคราะห์และหาทางแก้ไข เช่น การให้ผลตอบแทน โอกาสก้าวหน้า หรือพนักงานทุจริต ถูกไล่ออก เป็นต้น

ปัญหา
26. เก็บไม่ค่อยเข้าเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ต้องพิจารณาดูว่าตัวเรายังมีสิ่งใดที่จะต้องปรับปรุงบ้าง เช่น เรามีการวางเป้าหมายในการทำงานหรือไม่ มีการวางแผน มีการจัดลำดับความเร่งด่วน-ความสำคัญของงานหรือไม่ มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเพียงพอหรือยัง มีความขยัน-ความตั้งใจเพียงพอหรือไม่? ลองดูคนที่เก็บได้ตามเป้าหมายนั้นเพราะเขาทำสิ่งใดบ้าง พยายามนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของเรา เมื่อเราเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็คาดหวังได้ว่าจะสามารถเก็บได้เข้าเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ ยกเว้นแต่ตั้งเป้าหมายเกินความเป็นจริง หรือคุณภาพลูกหนี้โดยรวมไม่มีคุณภาพเพียงพอปล่อยสินเชื่อโดยไม่คัดเกรด ลูกหนี้

ปัญหา
27. ลูกค้าจะจ่ายไม่ครบตามจำนวนค่างวดที่ค้างไว้
วิธีแก้ไข
กรณีนี้พยายามติดตามลูกหนี้บ่อยๆ และขอให้ชำระมากกว่า 1 งวด อาจเป็น 2 งวด หรืองวดครึ่ง เพื่อให้ทันดิว หรือใช้ป้ายวงกลมเร่งรัดหนี้ หากชำระครบจึงจะให้ป้าย เป็นต้น หรือขอให้ชำระทันดิวช่วงโบนัสออก หรือได้เงินรางวัลพิเศษ และแจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงผลดีว่าจะได้ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ

ปัญหา
28. ลูกค้าไม่ค่อยรู้ว่าค้างผ่อน 1 เดือน หรือ 2 เดือนขึ้นไป จะมีพนักงานตามไปเก็บเงิน อยากให้ฝ่ายเช่าซื้อช่วยอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจด้วย
วิธีแก้ไข
ในกรณีนี้ให้ถือว่าเป็นข้ออ้างของลูกหนี้ที่จะบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้ เพราะโดยปกติการค้างชำระค่างวด 1-2 งวด ก็จะต้องมีพนักงานไปตามและลูกหนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ และส่วนใหญ่แล้วฝ่ายเช่าซื้อก็คงจะไปบอกล่วงหน้ากับลูกหนี้เช่นนั้นไม่ได้ เพราะลูกหนี้ยังไม่ค้างและอาจเกิดการเข้าใจผิดหาว่าพูดดูถูกลูกค้าได้
ดังนั้น คงต้องชี้แจงให้ลูกหนี้เข้าใจระเบียบของบริษัท และหน้าที่การชำระค่างวดของลูกหนี้โดยคำพูด

ปัญหา
29. ลูกหนี้ค้างสูงแล้วแอบมาชำระที่บริษัททีละงวด
วิธีแก้ไข
กรณีต้องประสานงานกับผู้รับชำระหนี้หรือผู้ติดบัญชีลูกหนี้ว่าหากลูกหนี้ ค้างชำระสูงหลายงวดก่อนรับชำระหรือตัดบัญชีให้สอบถามความเห็นของเจ้าหน้าที่ ผู้ติดตามลูกหนี้รายนั้นก่อน ว่าจะให้ตัดชำระหรือตั้งพักเจ้าหนี้ไว้ (บางแห่งเรียกว่า “ตั้งรับฝาก”) เพื่อมิให้มีผลเป็นการรับชำระเพราะต้องออกใบเสร็จ และลูกหนี้อ้างได้ว่าชำระหนี้แล้ว การยึดรถจะมิชอบและฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่ได้ หรือต้องบอกเลิกสัญญาใหม่แล้วต้องรอระยะเวลาในจดหมายทำให้เสียเวลา และลูกหนี้รู้ตัวหลบไปก่อน

ปัญหา
30. ส่วนมากถามหาชื่อจริงผู้เช่าซื้อไม่ค่อยมีคนรู้จัก
วิธีแก้ไข
กรณีออกติดตามลูกหนี้ หรือโทรศัพท์หาลูกหนี้ บางครั้งถามหาชื่อจริงของลูกหนี้คนไม่รู้จัก ต้องบอกชื่อเล่นถึงจะรู้ว่าเป็นใคร ดังนั้นควรขอความร่วมมือจากฝ่ายขาย-เช่าซื้อ ช่วยถามลูกหนี้ว่า ชื่อเล่นอะไรแล้วเขียนลงในประวัติลูกหนี้ด้วยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตาม หนี้ อนึ่งการเรียกชื่อเล่นลูกหนี้ในการติดตามเร่งรัดบางครั้งจะดีกว่าใช้ชื่อ จริง เพราะสามารถอ้างว่าเป็นเพื่อนกัน เพราะรู้จักชื่อเล่น และเป็นคนใกล้ชิดกับลูกหนี้ซึ่งคนรับสายจะไม่ระวังตัวและไม่กันท่าไม่ให้เรา พูดกับลูกหนี้

ปัญหา
31. ในการ์ดให้ข้อมูลเลขตัวรถผิด รุ่นผิด ทำให้มีปัญหาในการติดตามหนี้
วิธีแก้ไข
กรณีนี้เจ้าหน้าที่ต้องสะท้อนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่จัดทำการ์ดหรือคีย์ ข้อมูลผิดให้แก้ไขและระมัดระวังรายต่อไปเพราะหากข้อมูลผิดพลาดาและทำให้ พนักงานติดตามหนี้ไม่แน่ใจ และทำให้เสียเวลาต้องตรวจสอบข้อมูล ซึ่งบางครั้งไม่มีเวลาเพียงพอที่จะมารอการตรวจสอบข้อมูล เช่น อยู่หน้าบ้านลูกค้ากำลังจะยึดรถ ดูเลขตัวรถผิด ไม่กล้ายึด เป็นต้น ทำให้เสียจังหวะการปฎิบัติงาน

ปัญหา
32. ออกจดหมายเตือนลูกหนี้ พอพนักงานออกตามลูกหนี้จะอ้างว่ายังไม่ครบกำหนด 30 วัน แล้วมาตามทำไป
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ชี้แจงลูกหนี้ว่าที่ให้โอกาส 30 วันนั้น เป็นไปตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย (รถเก๋ง) เพื่อดำเนินการขั้นสุดท้ายคือ ยึด หรือ ฟ้องต่อไป แต่ที่มาติดตามนี้นั้นเพราะไม่อยากใช้วิธียึดหรือฟ้อง แต่ต้องการให้รีบผ่อนชำระ และไม่เสียเครดิต เสียเบี้ยปรับล่าช้าเป็นการให้โอกาสลูกหนี้

ปัญหา
33. ลูกหนี้ที่อยู่บ้านเช่า อาศัยเขาอยู่ ไม่ได้อยู่ตามบ้านเลขที่ที่ให้ไว้ในสัญญา
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ลูกหนี้อาจให้ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านในการทำสัญญาเช่าซื้อหรือบัตรประชาชน แต่ตัวจริงอยู่บ้านเช่า แก้ไขโดย
1. สอบถามข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่มีบุคคลแวดล้อม เช่น ที่อยู่เก่า ที่ทำงาน ญาติพี่น้อง ผู้ค้ำ
2. กดดันลูกหนี้ให้ปรากฎตัวและขอที่อยู่ใหม่โดยใช้การฝากโน้ตข้อความ หรือส่งจดหมายเตือนระบุว่าลูกหนี้ย้ายที่อยู่โดยไม่แจ้งถือว่ามีเจตนาปิดบัง ซ่อนเร้นรัพย์เช่าซื้อ ถ้าค้างตั้งแต่งวดแรกๆ ที่เช่าซื้อให้รีบกดดันผู้ค้ำประกันช่วยตามลูกหนี้ และหาข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ใหม่และสถานที่ใช้ทรัพย์เช่าซื้อ เพื่อสืบยึดกลับโดยเร็วต่อไป

ปัญหา
34. ลูกหนี้มีเจตนาหลบเลี่ยง
วิธีแก้ไข
กรณีนี้อาจเป็นเพราะมีความสามารถในการชำระหนี้ แต่ไม่มีเจตนาที่จะชำระคืน หรือเพราะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้และไม่มีเจตนาจะชำระด้วย แก้ไขโดย
1. รีบสืบยึดทรัพย์เช่าซื้อกลับโดยเร็ว เพราะลูกหนี้มีเจตนาใช้ทรัพย์ไปเรื่อยๆ ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อ เพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดแก่ตัวทรัพย์เช่าซื้อ มิให้ขาดทุนมาก
2. ติดต่อผู้ค้ำประกัน ให้ช่วยติดตามลูกหนี้และทรัพย์เช่าซื้ออย่างกระชั้นชิด และให้ช่วยส่งข่าวหรือข้อมูลต่างๆ ตลอดจนช่วยยึดกลับคืนด้วย
3. บางครั้งต้องใช้วิธีกดดันโดยปล่อยข่าวลือว่าจะฟ้อง หรือขอความร่วมมือ จากผู้บังคับบัญชาหัวหน้างาน พ่อ-แม่ ญาติพี่น้อง ภริยาช่วยกดดันให้ยอมคืนทรัพย์เช่าซื้อโดยเร็ว

ปัญหา
35. การคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ลูกหนี้จะไม่เข้าใจวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่คิดทบต้นในแต่ละเดือน
วิธีแก้ไข
กรณีนี้ ขอให้ลูกหนี้สอบถามทางบัญชีหรือการเงิน เพื่อจะได้ทราบวิธีการคิดที่ถูกต้อง และแนะนำลูกหนี้ ว่าจำเป็นไม่ควรค้างชำระ เพราะจะเสียเบี้ยปรับ โดยคิดจากจำนวนงวดที่ค้างคูณด้วยจำนวนเงินค่างวด คูณด้วยจำนวนที่ค้างชำระ ยิ่งค้างมาก และค้างนาน ยิ่งเสียค่าเบี้ยปรับมาก

ปัญหา
36. กรณีไปยึดรถลูกหนี้จะไม่ยอมให้รถ โดยเอารถไปซ่อนไว้ที่อื่นและบอกว่ารถหาย
วิธีแก้ไข
กรณีลูกหนี้เอารถไปซ่อนแล้วบอกว่าหาย แก้ไขโดยการขอสำเนาบันทึกประจำวันจากลูกหนี้ว่ามีการแจ้งหายหรือไม่
1. ถ้ามี แจ้งลูกหนี้ว่าถ้าหายจริงก็ต้องรับผิดชอบตามสัญญาต้องผ่อนชำระค่างวด มิฉะนั้นบริษัทจำต้องส่งเรื่องฟ้องผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันถ้าไม่หายจริง แล้วแจ้งว่าหาย อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จได้
2. ถ้าไม่มี (หรือบ่ายเบี่ยงว่าต้องไปขอคัดสำเนา) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่หายจริง พยายามสืบหารถต่อไปและกดดันลูกหนี้ ให้รีบส่งมอบรถคืนมิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน