หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน
หมายศาล" จะต้องถูกส่งไปยังที่อยู่ของผู้ที่ถูกฟ้อง(บ้าน/ภูมิลำเนา
ของจำเลย)ณ ปัจจุบันเท่านั้น...จึงจะถูกต้องตามขั้นตอนของกฏหมาย
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์(เจ้าหนี้) ก่อนที่จะทำการฟ้องลูกหนี้(จำเลย)ให้เป็นคดีความ
โจทก์จะต้องทำการเช็คทะเบียนบ้านของลูกหนี้ให้ Update และถูกต้องตามความเป็นจริงเสียก่อน
ว่าลูกหนี้ที่โจทก์จะทำการฟ้องผู้นั้น อยู่ที่ใดตามทะเบียนบ้านที่ถูกต้อง ณ ปัจจุบัน
โดยการไปเช็คข้อมูลที่อยู่ของลูกหนี้ ที่"กองทะเบียนราษฎร์" สังกัดกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย ให้ถูกต้องเสียก่อนที่จะส่งเรื่องฟ้อง...มิฉะนั้น อาจเข้าข่าย"ฟ้องผิดสถานที่"ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
หมายศาล จะมีลักษณะที่เป็นชุดกระดาษหนาเป็นปีกๆ
(มีจำนวนกระดาษหลายๆแผ่น จึงทำให้ดูหนามากๆ)
และการปิดหมายศาลดังกล่าว จะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของศาล
(แมสเสนเจอร์ศาล) เป็นผู้นำส่ง
ไม่ใช่กระทำโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายเจ้าหนี้ เป็นผู้นำส่ง
โดยเจ้าหน้าที่ของศาลผู้นำส่งหมาย จะนำเอาหมายศาลมาผูกเชือก แล้วทำการหาที่แขวนหรือที่ผูกห้อยไว้ที่บริเวณหน้าบ้านของจำเลย
เช่นที่ประตูบ้าน หรือที่บริเวณประตูรั้วหน้าบ้าน โดยไม่มีการใส่ซองใดๆทั้งสิ้น (คล้ายๆกับการแขวนประจานให้จำเลยต้อง
รับรู้/รับทราบ และเห็นได้ชัดๆ) เช่นการแขวนเอาไว้ดัง"ตัวอย่าง"
แต่ในบางครั้ง หากบ้าน/ภูมิลำเนา ของจำเลยนั้น ไม่ปรากฏโดยชัดเจน(เช่นปรากฏว่าจำเลยมีที่อยู่ใน"ทะเบียนบ้านกลาง")
ทางโจทก์ก็สามารถร้องต่อศาลให้จัดส่งหมายศาล ไปยังที่ทำงานของจำเลย หรือจัดส่งหมายศาลไปยังที่อยู่ของจำเลย
ตามที่จำเลยได้เคยให้ข้อมูลไว้ในใบสมัคร ก็ได้
ถ้าโจทก์ส่งหมายศาลไปสถานที่ไหน จำเลยก็ต้องไปขึ้นศาล
ณ.ศาลที่อยู่ในเขตพื้นที่นั้นๆรับผิดชอบอยู่
นี่คือขั้นตอนการนำส่งหมาย"ตามปกติ"นะครับ
(ซึ่งส่วนใหญ่เกือบ 100% เขาก็จัดส่งแบบนี้กันทั้งนั้น)
แต่ถ้านำส่งหมายฟ้อง แบบ"ไม่ปกติ"ล่ะ...จะเป็นยังไง?
ถ้าหากจำเลยมีสถานที่อยู่โดยชัดเจน แต่โจทก์ได้ร้องขอต่อศาลให้จัดส่งหมายศาลไปยังสถานที่อื่นๆ
ซึ่งมิใช่บ้าน/ภูมิลำเนาของจำเลย และจำเลยไม่สะดวกในการเดินทางไปศาลตามที่โจทก์กำหนด
จำเลยสามารถร้องขอต่อศาลได้ว่า...โจทก์มีเจตนากลั่นแกล้งจำเลย และโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ"การนำส่งหมาย"ที่ถูกต้องดังนั้น
จำเลยสามารถร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงสถานที่ในการพิจาณาคดีใหม่ได้ (ในกรณีที่ยังไม่ถูกพิพากษา)
หรือร้องขอต่อศาลให้มีการหยิบยกการพิจาณาคดีขึ้นมาใหม่ (ในกรณีที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว)
โดยจำเลยต้องอ้างว่า...จำเลยไม่ได้รับหมายศาล เนื่องจากโจทก์ได้ร้องขอให้จัดส่งหมายศาลไป"ผิดที่"
จึงทำให้จำเลยไม่ได้รับทราบหมาย และขาดโอกาสในการต่อสู้คดี พร้อมกับขอให้โจทก์ทำการจัดส่งหมายให้ใหม่อีกครั้ง
ให้เป็นไปตามภูมิลำเนาที่ถูกต้อง และให้มีการรื้อฟื้นการพิจาณาคดีขึ้นมาใหม่ ตามภูมิลำเนาที่จำเลยปรากฏหลักฐานตามทะเบียน
จึงทำให้การฟ้องในครั้งที่ผ่านมานั้น ต้องเป็นอัน"โมฆะ"ตามข้อกฎหมายในทันที
เคยมี"ตัวอย่าง"ในกรณีนี้ เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งมีผู้หญิงคนหนึ่ง
มีบ้าน/ภูมิลำเนา อาศัยอยู่ที่เชียงใหม่ตั้งแต่เกิด แต่เธอมาทำงานอยู่ที่กรุงเทพตั้งแต่ปี
2548 โดยอาศัยอยู่ที่บ้านเพื่อนที่รู้จักกันในกรุงเทพ
ปี 2550 เธอได้สมัครทำสินเชื่อที่กรุงเทพ โดยกรอกที่อยู่ในใบสมัครเป็นที่อยู่ของเพื่อนเธอ
เพื่อให้เจ้าหนี้ทำการจัดส่งเอกสาร"ใบแจ้งหนี้"มาให้เธอทราบเป็นระยะ...โดยในใบสมัคร
เธอก็ได้ระบุที่อยู่ตามทะเบียน ที่เชียงใหม่ พร้อมกับแนบสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน
ไปพร้อมกับใบสมัครด้วยหลังจากนั้น เธอก็เริ่มมีปัญหาด้านเศรฐกิจ ทั้งตัวเธอเอง และบริษัทที่เธอทำงานอยู่ต่อมา...บริษัทที่เธอทำงานได้ปิดกิจการลง(เจ๊ง)
เธอตกงาน และต้องย้ายกลับไปอยู่บ้านที่เชียงใหม่ตามเดิม...โดยไม่มีเงินมาจ่ายหนี้สินเชื่อที่ค้างชำระอยู่ผ่านไป
3 ปี...เธอได้รับข่าวแจ้งจากเพื่อนในกรุงเทพ ที่เธอเคยไปพักอาศัยอยู่ในบ้านของเขา
ว่ามีหมายศาลส่งฟ้องเธอมา และให้เธอไปขึ้นศาลวันที่ xx เดือน
xx ปี 25xx โดยต้องไปขึ้นศาลที่ศาลแขวงพระนครใต้(จังหวัดกรุงเทพฯ)
เธอตกใจต่อข่าวนี้มาก...เธอได้โทรปรึกษาทนาย และทนายก็ได้แนะนำให้เธอไปชี้แจงต่อศาล(ที่ศาลแขวงพระนครใต้)
ว่าเธอมีหลักฐานว่าตัวเธอเอง มีบ้าน/ภูมิลำเนา อยู่ที่เชียงใหม่มาโดยตลอด ไม่เคยเปลี่ยนแปลงที่อยู่เลย
และเธอมีความประสงค์จะต่อสู้คดี แต่เธอไม่สะดวกที่จะเดินทางมาพร้อมกับทนายความ (ทนายความก็อยู่ที่เชียงใหม่เหมือนกัน)
เพื่อสู้คดีที่กรุงเทพ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าจ้างทนายให้มาสู้ความที่กรุงเทพก็แพงมาก
จึงเขียนคำร้องขอต่อท่าน ให้ส่งเรื่องไปพิจาณาคดีตาม บ้าน/ภูมิลำเนา ที่แท้จริงของเธอแทน
ศาลได้อ่านคำร้องขอแล้ว พิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลและเป็นไปตามข้อเท็จจริง
จึงประทับรับคำร้อง แล้วทำเรื่องโอนคดีส่งต่อไปยังศาลแขวงเชียงใหม่ต่อไป
เห็นไหมครับว่า ทุกอย่างมันมีขั้นตอน และระบบของมันรองรับอยู่แล้วหากไม่ได้รับความเป็นธรรม
ไม่ใช่ว่าฝ่ายเจ้าหนี้มันนึกอยากจะทำอะไรตามใจ มันก็สามารถทำได้ทุกอย่าง ไม่ใช่ว่ามันนึกจะส่งหมายฟ้องไปที่ไหนก็ได้
โดยไม่สนใจกฏกติกาที่ถูกต้อง...มิฉะนั้น มันก็สามารถส่งหมายฟ้องโดยการกลั่นแกล้ง ให้ลูกหนี้ไปขึ้นศาลที่
"ศาลพระกาฬ" หรือให้ไปขึ้นที่ "ศาลเจ้า" , "ศาลพระภูมิ"
หรือที่ไหนๆก็ได้...แล้วแต่มันจะนึกเอา
.
______________________________________________________________
ปล.กฏหมายในข้อนี้ เขาออกมาเพื่อเหตุผลในการป้องกันไม่ให้โจทก์
สามารถกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยได้ตามใจชอบ
เช่น โจทก์รู้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคเหนือ
แต่ฟ้องโจทก์กลับฟ้องให้จำเลยต้องไปขึ้นศาลที่ 3 จังหวัดชายแดนในภาคใต้...เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น