บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ขึ้นศาล

ความหมายของการนัดขึ้นศาล

ถ้าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า ให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ยในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555 และให้จำเลยมาศาลเพื่อการสืบพยานโจทก์ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555 ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ วันนัดไกล่เกลี่ย (นัดที่หนึ่ง)  และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ" (นัดที่สอง) ส่วนสำหรับวันนัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา) จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน? ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง) เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กัน

แนวทางการไปศาล

1. เลื่อนนัดศาลเพื่อไปเจรจา Hair-Cut กับเจ้าหนี้ต่อ (เป็นการเลื่อนนัดปากเปล่าด้วยตัวจำเลยเอง จะเลื่อนได้ ประมาณ 1-2 เดือน เต็มที่ไม่เกิน 3 เดือน) 2. ยื่นคำให้การเพื่อสู้คดี โดยเฉพาะถ้ามีประเด็นเรื่องหมดอายุความ หรือดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนด(สามารถไปสวนลุม ปรึกษาคุณอา ที่ปรึกษาของชมรมหนี้ โดยท่านจะให้คำปรึกษาที่สวนลุมทุกวันอาทิตย์ช่วงบ่าย) 3. ทำประนอมยอมความหน้าศาล (มีเจ้าหนี้ที่ฟ้อง หรือมีโอกาสจะฟ้อง น้อยราย และมั่นใจว่าสามารถจ่ายได้ตลอดรอดฝั่ง) 4. ให้ศาลท่านพิพากษาเลย หลังจากคุณได้รับคำพิพากษาแล้ว คุณจะ 4.1 หักคอจ่าย (เจรจากับโจทก์ไม่ลงตัว แต่ก็ฝืนที่ะจ่ายให้เจ้าหนี้เข้าไป โดยยอดที่ชำระ ต้องชำระภายใน 15 วันหลังจากได้รับคำพิพากษา และเป็นยอดที่สมน้ำสมเนื้อ เมื่อคุณได้คำพิพากษา ผมจะช่วยคำนวณให้คร่าวๆ แต่วิธีนี้ไม่รับประกันว่าโจทก์จะไม่ไปอายัดเงินเดือนต่อหรือไม่ - เป็นวิธีที่ต้องวัดดวงเอา) 4.2 เจรจากับโจทก์เพื่อขอจ่ายแบบผ่อนชำระ xx งวดๆ ละ xxxx บาท (โจทก์จะยื่นข้อเสนอให้ผ่อนเท่ากันเป็นงวดๆ หรือเป็นขั้นบันได อาจจะปลอดดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ยก็จะไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี)

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล

ถ้าจะว่ากันตามกฏหมายแล้ว หากมีหนี้ซึ่งกัน แล้วเกิดการไม่ชดใช้หนี้กันขึ้น ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง(หรือศาลคดีผู้บริโภคก็ตาม) เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวตามคำพิพากษา (คดีดำ) โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น ท่านจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่? ผ่อนเท่าไหร่? และผ่อนอย่างไร? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...ดังนั้น ส่วนมากท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หรือไม่งั้นจำเลยก็ต้องภาวนา ขอให้ได้เจอกับศาลที่ใจดีมากๆ และท่านเข้าข้างช่วยคุณแบบสุดๆ ท่านอาจจะลงมาช่วยพิจารณา ในเรื่องการขอผ่อนของคุณให้...ก็เป็นไปได้...ก็คงต้องไปรอลุ้นกันต่อไปใน ชั้นศาลเอาเองนะครับ และถ้าหากลูกหนี้ถูกศาลแพ่งพิพากษาแล้ว ก็ยังไม่ยอมใช้หนี้ตามคำพิพากษาอีก(หรือที่