ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
ถ้าจะว่ากันตามกฏหมายแล้ว หากมีหนี้ซึ่งกัน แล้วเกิดการไม่ชดใช้หนี้กันขึ้น
ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง(หรือศาลคดีผู้บริโภคก็ตาม)
เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวตามคำพิพากษา(คดีดำ)
โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น
ท่านจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่? ผ่อนเท่าไหร่? และผ่อนอย่างไร? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...ดังนั้น ส่วนมากท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หรือไม่งั้นจำเลยก็ต้องภาวนา ขอให้ได้เจอกับศาลที่ใจดีมากๆ และท่านเข้าข้างช่วยคุณแบบสุดๆ ท่านอาจจะลงมาช่วยพิจารณา ในเรื่องการขอผ่อนของคุณให้...ก็เป็นไปได้...ก็คงต้องไปรอลุ้นกันต่อไปใน ชั้นศาลเอาเองนะครับ
และถ้าหากลูกหนี้ถูกศาลแพ่งพิพากษาแล้ว ก็ยังไม่ยอมใช้หนี้ตามคำพิพากษาอีก(หรือที่เรียกกันว่า“ดื้อแพ่ง” เพราะยังดื้อด้านต่อคำสั่งของศาลแพ่ง จึงเป็นที่มาของคำว่า“ดื้อแพ่ง”ยังไงล่ะครับ) ที่นี้เจ้าหนี้ก็ต้องเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาไปแล้ว(คดีแดง) ไปยื่นต่อหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกว่า“กรมบังคับคดี” เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการอายัดตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ดังนั้น หากจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีเรื่องหนี้เงิน
จะต้องมาตั้งคำถามกับตัวเองเสียก่อนว่า...จะไปศาลขึ้นเพื่ออะไร?
การไปขึ้นศาล มีอยู่ 3 แนวทาง...ดังนี้
1. ไปศาลเพื่อไปต่อสู้คดี เพื่อให้รู้ผล แพ้-ชนะ คดี กันไปข้างหนึ่ง ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่งแนวทางนี้ จะต้องเขียน คำให้การในการต่อสู้คดี โดยใช้แบบฟอร์มของศาลที่มี“ตราครุฑ” ๑๑(ก.) สำหรับคดีแพ่ง หรือแบบฟอร์ม ผบ.๓ สำหรับคดีผู้บริโภค โดยเขียนคำให้การต่อสู้เป็นภาษากฏหมาย ซึ่งถ้าเขียนเองไม่เป็น ก็ต้องจ้างทนายช่วยเขียนให้
ขอย้ำว่า...การต่อสู้คดีบนชั้นศาล จะต้องยื่นคำให้การด้วยทุกครั้ง ไม่สามารถสู้คดีด้วยปากเปล่าได้
หากจำเลยไม่เขียนคำให้การไปยื่นต่อศาล...ศาลจะถือว่าจำเลยมีเจตนา“ไม่ต้อง การสู้คดี” ต่อให้จำเลยมีหลักฐานอันแน่นหนาว่า โจทก์โกง , โจทก์ผิดกฏหมาย , โจทก์ฉ้อฉล , คดีขาดอายุความไปแล้ว...ฯลฯ ศาลท่านก็จะไม่พิจารณาตามหลักฐานดังกล่าวเลย เพราะถือว่า จำเลยไม่ยอมปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของศาล
2. ไปศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมยอมความกับทนายโจทก์ เช่น ถูกหมายฟ้องให้ชดใช้หนี้เป็นจำนวนเงิน xx,xxx บาท แต่ฝ่ายจำเลยยังไม่มีเงินก้อนที่จะสามารถชำระหนี้ให้ได้ในตอนนี้ จึงขอไกล่เกลี่ยกับทนายโจทก์ว่า อยากจะขอผ่อนต่อนับจากนี้เป็นต้นไป ซึ่งเงื่อนไขที่จะสามารถตกลงกันได้บนชั้นศาลนี้ ทางฝ่ายโจทก์มักจะไม่ยอมให้ผ่อนต่อในระยะเวลายาวๆอีกต่อไป ส่วนมากก็จะบังคับให้ผ่อนให้หมดภายในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี (แต่บางรายอาจขอได้นานสูงสุดถึง 3 ปี) โดยในช่วงที่ผ่อนอยู่นี้ โจทก์อาจขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อนนี้ด้วย ซึ่งก็ต้องมาพูดคุยตกลงกันอีกว่า จะยอมให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนที่เท่าไหร่? ก็จะมีตั้งแต่ 15% , 13% , 10%...หรือบางรายอาจขอได้ 0%(ไม่คิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อน ก็มี) ทั้งนี้ก็แล้วแต่ฝีปากและเทคนิคในการเจรจาต่อรองของแต่ละราย
แต่...ตัวเลขยอดหนี้ที่จะตกลงผ่อนกันใหม่นี้ จะเป็นตัวเลขตามที่โจทก์ยื่นฟ้องมาในหมายศาลแบบ"เต็มๆ" โดยแทบจะไม่มีส่วนลดอะไรให้กับลูกหนี้เลย (เรียกได้ว่า เขียนฟ้องมาเท่าไหร่ ก็เอาตัวเลขอันนั้นแหละ มาทำสัญญาผ่อนกันใหม่)
เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ทำการร่างสัญญาที่ตกลงกันเอาไว้ ลงในแบบฟอร์ม“สัญญาประนีประนอมยอมความ”(ตราครุฑ ๒๙) พร้อมกับเซ็นต์ลงนาม ชื่อโจทก์ , ชื่อจำเลย และชื่อของผู้พิพากษาอีก 2 ท่าน(ในฐานะเป็นพยาน)
วิธีการนี้ เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้“เพียงรายเดียว”เท่านั้น...หรือ เหลือเจ้าหนี้แค่รายนี้“เป็นรายสุดท้าย”
โดยที่ตัวของลูกหนี้ จะต้องมีความมั่นใจเป็นอย่างสูงว่า หากเซ็นต์ชื่อลงในสัญญาแล้ว จะต้องปฎิบัติให้ได้ตามข้อตกลงในสัญญา เพราะในสัญญาฉบับนี้ มีลายเซ็นต์ของผู้พิพากษาลงนามเป็นพยานถึง 2 ท่าน หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายตามข้อตกลงได้ สัญญาทั้งหมดจะถือว่าเป็น“โมฆะ” และจะถูกย้อนให้กลับไปใช้ตัวเลขมูลหนี้ทั้งหมด ในอัตราสูงสุดของหมายฟ้องในครั้งแรกทันที
อีกทั้ง ทางฝ่ายโจทก์สามารถยื่นเรื่องผ่านไปที่“กรมบังคับคดี”ได้เลย โดยไม่ต้องฟ้องซ้ำอีกแล้ว และจำเลยก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ด้วย เพราะถือว่าจำเลยได้ทำการ“ตระบัดสัตย์”ต่อศาลไปแล้ว
ดังนั้น...ถ้าหากลูกหนี้ทำการประเมินตัวเองแล้ว คาดว่าในภายภาคหน้าอาจจ่ายชำระตามข้อตกลงในสัญญาไม่ไหว ก็อย่าไปตกลงทำสัญญาดีกว่าครับ หันมาใช้วิธีการตามในแนวทางที่ 1 หรือแนวทางที่ 3 จะดีกว่า
3. ไปศาลเพื่อร้องขอความเมตตากรุณาจากศาล โดยขอให้ท่านช่วยตัดลดมูลหนี้บางอย่างลงมาให้บ้าง...เช่น ดอกเบี้ย , ค่าล่าช้า , ค่าทวงถาม , ค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายโจทก์ด้วย ซึ่งจะได้ลดมากหรือลดน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเมตตาจากท่าน (ต้องไปวัดดวงเอาเอง) แต่สำหรับ หนี้เงินต้น นั้น ศาลท่านไม่สามารถช่วยปรับลดให้ได้ (ตามข้อกฏหมาย)...ฉะนั้นอย่าไปขอท่านในส่วนนี้เป็นอันขาด
สรุปก็คือ
ศาลแพ่งหรือศาลผู้บริโภค มีหน้าที่แค่พิจารณาหนี้ไปตาม คำร้อง/คำโต้แย้ง ของคู่ความเท่านั้น
โดยใช้ข้อกฏหมาย(มาตราต่างๆ)เป็นตัวพินิจพิเคราะห์
และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วก็จะออกเป็นคำสั่ง“พิพากษา”เพื่อบังคับให้ใช้หนี้ ระหว่างกัน โดยเสียดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด (อาจเป็นร้อยละ 7.5 , 10 , 12 , 15 ต่อปี...แล้วแต่ศาลเป็นผู้พิจารณา)
และเมื่อศาลพิพากษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็หมดสิ้นหน้าที่ของศาล เรื่องต่างๆต่อจากนี้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับศาลอีกต่อไปแล้ว จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการชดใช้หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยอาจมีกรมบังคับคดีมามีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าหากมีการร้องขอให้ทำการอายัดใดๆของจำเลย...ตามที่โจทก์ไปยื่นคำร้องไว้ ที่กรมบังคับคดี
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากในกระทู้นี้
www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=969
www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=3037&view=flat&catid=2
โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น
ท่านจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่? ผ่อนเท่าไหร่? และผ่อนอย่างไร? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...ดังนั้น ส่วนมากท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หรือไม่งั้นจำเลยก็ต้องภาวนา ขอให้ได้เจอกับศาลที่ใจดีมากๆ และท่านเข้าข้างช่วยคุณแบบสุดๆ ท่านอาจจะลงมาช่วยพิจารณา ในเรื่องการขอผ่อนของคุณให้...ก็เป็นไปได้...ก็คงต้องไปรอลุ้นกันต่อไปใน ชั้นศาลเอาเองนะครับ
และถ้าหากลูกหนี้ถูกศาลแพ่งพิพากษาแล้ว ก็ยังไม่ยอมใช้หนี้ตามคำพิพากษาอีก(หรือที่เรียกกันว่า“ดื้อแพ่ง” เพราะยังดื้อด้านต่อคำสั่งของศาลแพ่ง จึงเป็นที่มาของคำว่า“ดื้อแพ่ง”ยังไงล่ะครับ) ที่นี้เจ้าหนี้ก็ต้องเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาไปแล้ว(คดีแดง) ไปยื่นต่อหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกว่า“กรมบังคับคดี” เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการอายัดตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ดังนั้น หากจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีเรื่องหนี้เงิน
จะต้องมาตั้งคำถามกับตัวเองเสียก่อนว่า...จะไปศาลขึ้นเพื่ออะไร?
การไปขึ้นศาล มีอยู่ 3 แนวทาง...ดังนี้
1. ไปศาลเพื่อไปต่อสู้คดี เพื่อให้รู้ผล แพ้-ชนะ คดี กันไปข้างหนึ่ง ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่งแนวทางนี้ จะต้องเขียน คำให้การในการต่อสู้คดี โดยใช้แบบฟอร์มของศาลที่มี“ตราครุฑ” ๑๑(ก.) สำหรับคดีแพ่ง หรือแบบฟอร์ม ผบ.๓ สำหรับคดีผู้บริโภค โดยเขียนคำให้การต่อสู้เป็นภาษากฏหมาย ซึ่งถ้าเขียนเองไม่เป็น ก็ต้องจ้างทนายช่วยเขียนให้
ขอย้ำว่า...การต่อสู้คดีบนชั้นศาล จะต้องยื่นคำให้การด้วยทุกครั้ง ไม่สามารถสู้คดีด้วยปากเปล่าได้
หากจำเลยไม่เขียนคำให้การไปยื่นต่อศาล...ศาลจะถือว่าจำเลยมีเจตนา“ไม่ต้อง การสู้คดี” ต่อให้จำเลยมีหลักฐานอันแน่นหนาว่า โจทก์โกง , โจทก์ผิดกฏหมาย , โจทก์ฉ้อฉล , คดีขาดอายุความไปแล้ว...ฯลฯ ศาลท่านก็จะไม่พิจารณาตามหลักฐานดังกล่าวเลย เพราะถือว่า จำเลยไม่ยอมปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของศาล
2. ไปศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมยอมความกับทนายโจทก์ เช่น ถูกหมายฟ้องให้ชดใช้หนี้เป็นจำนวนเงิน xx,xxx บาท แต่ฝ่ายจำเลยยังไม่มีเงินก้อนที่จะสามารถชำระหนี้ให้ได้ในตอนนี้ จึงขอไกล่เกลี่ยกับทนายโจทก์ว่า อยากจะขอผ่อนต่อนับจากนี้เป็นต้นไป ซึ่งเงื่อนไขที่จะสามารถตกลงกันได้บนชั้นศาลนี้ ทางฝ่ายโจทก์มักจะไม่ยอมให้ผ่อนต่อในระยะเวลายาวๆอีกต่อไป ส่วนมากก็จะบังคับให้ผ่อนให้หมดภายในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี (แต่บางรายอาจขอได้นานสูงสุดถึง 3 ปี) โดยในช่วงที่ผ่อนอยู่นี้ โจทก์อาจขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อนนี้ด้วย ซึ่งก็ต้องมาพูดคุยตกลงกันอีกว่า จะยอมให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนที่เท่าไหร่? ก็จะมีตั้งแต่ 15% , 13% , 10%...หรือบางรายอาจขอได้ 0%(ไม่คิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อน ก็มี) ทั้งนี้ก็แล้วแต่ฝีปากและเทคนิคในการเจรจาต่อรองของแต่ละราย
แต่...ตัวเลขยอดหนี้ที่จะตกลงผ่อนกันใหม่นี้ จะเป็นตัวเลขตามที่โจทก์ยื่นฟ้องมาในหมายศาลแบบ"เต็มๆ" โดยแทบจะไม่มีส่วนลดอะไรให้กับลูกหนี้เลย (เรียกได้ว่า เขียนฟ้องมาเท่าไหร่ ก็เอาตัวเลขอันนั้นแหละ มาทำสัญญาผ่อนกันใหม่)
เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ทำการร่างสัญญาที่ตกลงกันเอาไว้ ลงในแบบฟอร์ม“สัญญาประนีประนอมยอมความ”(ตราครุฑ ๒๙) พร้อมกับเซ็นต์ลงนาม ชื่อโจทก์ , ชื่อจำเลย และชื่อของผู้พิพากษาอีก 2 ท่าน(ในฐานะเป็นพยาน)
วิธีการนี้ เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้“เพียงรายเดียว”เท่านั้น...หรือ เหลือเจ้าหนี้แค่รายนี้“เป็นรายสุดท้าย”
โดยที่ตัวของลูกหนี้ จะต้องมีความมั่นใจเป็นอย่างสูงว่า หากเซ็นต์ชื่อลงในสัญญาแล้ว จะต้องปฎิบัติให้ได้ตามข้อตกลงในสัญญา เพราะในสัญญาฉบับนี้ มีลายเซ็นต์ของผู้พิพากษาลงนามเป็นพยานถึง 2 ท่าน หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายตามข้อตกลงได้ สัญญาทั้งหมดจะถือว่าเป็น“โมฆะ” และจะถูกย้อนให้กลับไปใช้ตัวเลขมูลหนี้ทั้งหมด ในอัตราสูงสุดของหมายฟ้องในครั้งแรกทันที
อีกทั้ง ทางฝ่ายโจทก์สามารถยื่นเรื่องผ่านไปที่“กรมบังคับคดี”ได้เลย โดยไม่ต้องฟ้องซ้ำอีกแล้ว และจำเลยก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ด้วย เพราะถือว่าจำเลยได้ทำการ“ตระบัดสัตย์”ต่อศาลไปแล้ว
ดังนั้น...ถ้าหากลูกหนี้ทำการประเมินตัวเองแล้ว คาดว่าในภายภาคหน้าอาจจ่ายชำระตามข้อตกลงในสัญญาไม่ไหว ก็อย่าไปตกลงทำสัญญาดีกว่าครับ หันมาใช้วิธีการตามในแนวทางที่ 1 หรือแนวทางที่ 3 จะดีกว่า
3. ไปศาลเพื่อร้องขอความเมตตากรุณาจากศาล โดยขอให้ท่านช่วยตัดลดมูลหนี้บางอย่างลงมาให้บ้าง...เช่น ดอกเบี้ย , ค่าล่าช้า , ค่าทวงถาม , ค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายโจทก์ด้วย ซึ่งจะได้ลดมากหรือลดน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเมตตาจากท่าน (ต้องไปวัดดวงเอาเอง) แต่สำหรับ หนี้เงินต้น นั้น ศาลท่านไม่สามารถช่วยปรับลดให้ได้ (ตามข้อกฏหมาย)...ฉะนั้นอย่าไปขอท่านในส่วนนี้เป็นอันขาด
สรุปก็คือ
ศาลแพ่งหรือศาลผู้บริโภค มีหน้าที่แค่พิจารณาหนี้ไปตาม คำร้อง/คำโต้แย้ง ของคู่ความเท่านั้น
โดยใช้ข้อกฏหมาย(มาตราต่างๆ)เป็นตัวพินิจพิเคราะห์
และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วก็จะออกเป็นคำสั่ง“พิพากษา”เพื่อบังคับให้ใช้หนี้ ระหว่างกัน โดยเสียดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด (อาจเป็นร้อยละ 7.5 , 10 , 12 , 15 ต่อปี...แล้วแต่ศาลเป็นผู้พิจารณา)
และเมื่อศาลพิพากษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็หมดสิ้นหน้าที่ของศาล เรื่องต่างๆต่อจากนี้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับศาลอีกต่อไปแล้ว จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการชดใช้หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยอาจมีกรมบังคับคดีมามีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าหากมีการร้องขอให้ทำการอายัดใดๆของจำเลย...ตามที่โจทก์ไปยื่นคำร้องไว้ ที่กรมบังคับคดี
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากในกระทู้นี้
www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=969
www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=3037&view=flat&catid=2
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น