บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ คดีบัตรเครดิต

ข้อต่อสู้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ควรศึกษา

ข้อต่อสู้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ควรศึกษา เมื่อตนเองต้องตกอยู่ในฐานะลูกหนี้และอาจต้อง ถูกฟ้องคดีต่อศาล ลูกหนี้บางคนตกใจและยิ่งต้องเจอกับการทวงหนี้แบบไม่ค่อยจะถูกต้องนักจากตัว แทนฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยแล้ว บางคนอาจเกิดอาการเครียดและเท่าที่เคยปรากฏเป็นข่าวบางคนถึงกับคิดฆ่าตัวตายเนื่องจากไม่รู้ว่าจะหาเงิน จากที่ไหนมาใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่ต้องกังวลนัก หากท่านรู้ถึงข้อต่อสู้ที่ตนเองมีอยู่เพื่อจะได้นำไปใช้ชี้แจงกับฝ่ายเจ้า หนี้ได้ สำหรับข้อต่อสู้ของลูกหนี้นั้นก็มี...เป็นต้นว่า - ตนเองเป็นหนี้จริงหรือไม่ สัญญาที่เจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่นั้นเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ - หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาทวงถามกับลูกหนี้นั้น สามารถบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นโมฆะหรือไม่ หรือได้ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ - ในส่วนดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้เรียกร้องมานั้น ได้มีการคิดถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ และเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ (กฎหมายกำหนดให้คิดได้ไม่เกิน 15% ต่อปี ยกเว้นกรณีที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินสามารถคิดได้ตามที่ประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทยอนุญาตไว้) - และเรื่องสำคั

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล

ถ้าจะว่ากันตามกฏหมายแล้ว หากมีหนี้ซึ่งกัน แล้วเกิดการไม่ชดใช้หนี้กันขึ้น ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง(หรือศาลคดีผู้บริโภคก็ตาม) เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวตามคำพิพากษา (คดีดำ) โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น ท่านจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่? ผ่อนเท่าไหร่? และผ่อนอย่างไร? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...ดังนั้น ส่วนมากท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หรือไม่งั้นจำเลยก็ต้องภาวนา ขอให้ได้เจอกับศาลที่ใจดีมากๆ และท่านเข้าข้างช่วยคุณแบบสุดๆ ท่านอาจจะลงมาช่วยพิจารณา ในเรื่องการขอผ่อนของคุณให้...ก็เป็นไปได้...ก็คงต้องไปรอลุ้นกันต่อไปใน ชั้นศาลเอาเองนะครับ และถ้าหากลูกหนี้ถูกศาลแพ่งพิพากษาแล้ว ก็ยังไม่ยอมใช้หนี้ตามคำพิพากษาอีก(หรือที่