บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

กฏหมายใหม่การอายัดเงินเดือน

วันนี้ ( 11 ก.ค. 60) – น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า ในวันที่ 4 กันยายน 2560 เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทไม่ได้อีกแล้ว ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ที่จะมีผลบังคับใช้โดยกฎหมาย ที่ระบุใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ที่ กฎหมายได้ปรับรายได้หรือเงินเดือน จากเดิมกำหนดว่า 1 หมื่นบาทแรก เป็น 2 หมื่นบาทแรก ไม่สามารถอายัดได้นั้น เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินไว้ดำรงชีพ และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป น.ส.รื่นวดีชี้แจงว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการแก้ไขครั้งสำคัญในภาคบังคับคดี เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมดในส่วนการบังคับคดี เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนการบังคับคดีมีการใช้มานานกว่า 20 ปี จึงต้องปรับให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีการดูแลเรื่องพื้นฐานของลูกหนี้ด้วย ในส่วนที่ 2 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี คือ มาตรา 301 และมาตรา 302 โดยมาตรา 301 เป็นเรื่อ

คู่มือเตรียมตัวเตรียมใจลาออกจากงานประจำ

ในวันที่ชีวิต ได้เดินมาถึงจุดเปลี่ยน     เสียงเพลงของป้ากมลา ล่องลอยเข้ามาในหัว      วันที่มนุษย์เงินเดือนอายุไม่น้อยคนนึงมีความคิดว่าจะลาออกก่อนวัยเกษียณ    สิ่งที่จะต้องทำเมื่อความคิดนี้มันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ หนึ่ง      ต้องรู้ว่าตัวเองมี Minimum Cost of Living เท่าไหร่ คิดง่ายๆเป็นรายเดือนก็ได้เช่น   รายการ ต่อวัน ต่อเดือน หมายเหตุ กินข้าวซื้อหนังสือพิมพ์เข้าเซเว่น ค่าใช้จ่ายรายวัน 300 900 ค่าน้ำค่าไฟ 1,500 ค่าอินเตอร์เนต สำคัญอยุ่นะ 700 ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน 2000 อื่นๆ เช่น มีรายการพิเศษเข้ามา ซ่อมบ้าน หรือ ไปเลี้ยงงาน 1000 รวมๆแล้ว 14,200   ตีซะ 15,000 ทางที่ดี เราควารมีเงินพอใช้อย่างน้อง 12 เดือน   ซึ่งคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่คนเราปรับตัวและหาทางทำมาหากินเพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไปได้   12 คูณ 15,000   คือ ต้องมีเงินอย่างน้อย 180,000 ก่อนคิดลาออกจากงาน ยอด 180,000 นี้ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ขอ

การอายัดเงินเดือนตามกฎหมายใหม่ ถ้าเงินเดือนเกิน 20,000 โดนยึดส่วนที่เกิน 20,000

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ระบุลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท บังคับคดีอายัดเงินเดือนไม่ได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สำหรับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ประกอบด้วย   1. เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจํานวนไม่เกินเดือนละ 20,000 บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 2. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่หน่ว

พรบ ทวงหนี้ กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการทวงหนี้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘ ู มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคล ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว การติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถาม หรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น โดยผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ ( ๑) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ ( ๒) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อ ให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหน้าที่ของศาล

         เขียนโดย คุณนกกระจอกเทศ ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิต ถ้าจะว่ากันตามกฏหมายแล้ว หากมีหนี้ซึ่งกันและกัน แล้วเกิดการไม่ชดใช้หนี้กันขึ้น ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง(หรือศาลคดีผู้บริโภคก็ตาม) เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวตามคำฟ้อง ( คดีดำ) โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด ? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่ ? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น ศาลจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่ ? ผ่อนเท่าไหร่ ? และผ่อนอย่างไร ? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ... ดังนั้น ท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หากลูกหนี้กับเจ้าหนี้(ทนายโจทก์)ตกลงกันเองได้ ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าว โดยกำหนดให้ต้องเขียนเป็นสัญญากันขึ้นมา โดยมีชื่อของสัญญาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความ   และให้ถือว่าสัญญาที่เซ็นต์กันฉบับนี้   เป็นคำพิพากษาของศาล