กฏหมายใหม่การอายัดเงินเดือน



วันนี้ (11 ก.ค. 60) – น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า ในวันที่ 4 กันยายน 2560 เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทไม่ได้อีกแล้ว ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ที่จะมีผลบังคับใช้โดยกฎหมาย ที่ระบุใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ที่ กฎหมายได้ปรับรายได้หรือเงินเดือน


จากเดิมกำหนดว่า 1 หมื่นบาทแรก เป็น 2 หมื่นบาทแรก ไม่สามารถอายัดได้นั้น เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินไว้ดำรงชีพ และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป น.ส.รื่นวดีชี้แจงว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการแก้ไขครั้งสำคัญในภาคบังคับคดี เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมดในส่วนการบังคับคดี เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนการบังคับคดีมีการใช้มานานกว่า 20 ปี จึงต้องปรับให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีการดูแลเรื่องพื้นฐานของลูกหนี้ด้วย ในส่วนที่ 2 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี คือ มาตรา 301 และมาตรา 302 โดยมาตรา 301 เป็นเรื่องของทรัพย์สิน ส่วนมาตรา 302 เป็นเรื่องของเงิน หรือสิทธิ์เรียกร้องที่เป็นเงินของลูกหนี้ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

นอกจากนี้ ในส่วนของทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มุ่งไปถึงการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตามสมควรกับฐานะของลูกหนี้ กรณีเบี้ยเลี้ยงชีพ ซึ่งเดิมเบี้ยเลี้ยงชีพที่ไม่สามารถยึดบังคับคดีมีจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท แต่ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไป จึงปรับเป็นไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 302 (1)

ดังนั้น ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนไม่เกิน 20,000 บาท จะไม่ถูกบังคับคดี เพราะจะบังคับคดีได้เฉพาะส่วนที่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ บำเหน็จตกทอดทายาท เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ ตามมาตรา 302 (2) จะไม่ถูกบังคับคดี โดยไม่ต้องดูว่าเกินจำนวน 20,000 บาท หรือไม่ หรือคนทั่วไป ต้องเป็นเงินเดือนส่วนที่เกิน 20,000 บาท จึงจะบังคับคดีได้ แต่ถ้าเป็นข้าราชการ เงินเดือน เงินบำนาญ บังคับคดีไม่ได้ ส่วนคนที่ไม่ได้มีเงินเดือนประจำ แต่มีเงินได้ในลักษณะ 3-4 เดือน เป็นเงินก้อน เช่น 50,000 บาท ซึ่งเข้ามาตรา 302 (1) ในกรณีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณา ยกเว้นการบังคับคดีให้ได้ตามสมควรในส่วนที่เกิน 20,000 บาท



น.ส.รื่นวดีระบุว่า ในส่วนของทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ไม่ถูกบังคับคดี ตามมาตรา 301 ยังมีในส่วนของเครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท รวม 3 ประเภทเป็นเงิน 60,000 บาท ไม่ถูกบังคับคดี จากเดิมแค่ 50,000 บาท และในส่วนเครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งสัตว์ สิ่งของที่จำเป็น ขณะเดียวกัน กฎหมายยังเปิดช่อง หากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอก ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด สามารถร้องต่อศาลได้



ที่มา หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ 12 ก.ค.60


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน