การอายัดเงินเดือนตามกฎหมายใหม่ ถ้าเงินเดือนเกิน 20,000 โดนยึดส่วนที่เกิน 20,000
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560
ระบุลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท
บังคับคดีอายัดเงินเดือนไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศพระราชบัญญัติ
(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560
โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
สำหรับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ประกอบด้วย
1.
เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ
ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจํานวนไม่เกินเดือนละ 20,000
บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
2. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด
หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ
และเงินสงเคราะห์ บํานาญ
หรือบําเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
3. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้
เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน
นอกจากนี้ ยังมีนายจ้างหรือบุคคลอื่นใดได้จ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส
หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินเดือนละ 20,000
บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
4. บําเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม,
เป็นจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท
หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
5. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่น
เป็นจํานวนตามที่จําเป็นในการดําเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/069/1.PDF
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น