บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ขึ้นศาลคดีบัตรเครดิต

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

รูปภาพ
แก้วจ๋าขอออกตัวก่อนว่า ที่ตั้งกระทู้นี้ ไม่ใช่คิดว่า ตัวเองเป็นเซียนขึ้นศาล แค่ได้รับเกียรติจาก 11 เจ้าหนี้ยื่นฟ้องประมาณ 22 บัตรเครดิตและสินเชื่อเท่านั้นค่ะ แต่เห็นว่า ใครๆมักถามบ่อยเรื่องเกี่ยวกับหมายศาล ได้แล้วต้องทำตัวยังไงดี แก้วจ๋าจึงขอตั้งกระทู้นี้เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกเลือกไปพิจารณาปรับให้ เข้ากับมูลหนี้และความสามารถของตัวเองนะค่ะ แก้วจ๋าขอเน้นแนวทาง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะค่ะ ไม่เน้นข้อกฎหมาย ไม่เน้นทนาย แก้วจ๋าและชมรมฯ เข้าใจว่า ลูกหนี้ทุกคนมีความทุกข์มากพอแล้ว ไม่อยากให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มถ้าไม่จำเป็น เงินทุกบาททุกสตางค์ของคุณควรถูกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและในยามจำเป็น จริงๆค่ะ ขอเกริ่นเรื่องระยะเวลาตามระบบก่อน โดยนับจากเดือนที่หยุดจ่ายค่ะ แต่ละท่านอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นไปด้วยดี สม่ำเสมอหรือเปล่าด้วยค่ะ ยิ่งลูกหนี้หนี ไม่รับ ไม่รู้ และมูลหนี้สูง ยิ่งส่งผลให้เจ้าหนี้เร่งส่งฟ้องก่อนหมดอายุความค่ะ 1-4 เดือน →ทวงหนี้ , 4-6เดือน→ เริ่มขอปรับโครงสร้างหนี้ , 6เดือนขึ้นไป→ เตรียมตัวเข้าสู่กระบ

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล

าจะว่ากันตามกฏหมายแล้ว หากมีหนี้ซึ่งกันและกัน แล้วเกิดการไม่ชดใช้หนี้กันขึ้น ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง(หรือศาลคดีผู้บริโภคก็ตาม) เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวตามคำฟ้อง (คดีดำ) โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น ท่านจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่? ผ่อนเท่าไหร่? และผ่อนอย่างไร? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...ดังนั้น ส่วนมากท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หรือไม่งั้นจำเลยก็ต้องภาวนา ขอให้ได้เจอกับศาลที่ใจดีมากๆ และท่านเข้าข้างช่วยคุณแบบสุดๆ ท่านอาจจะลงมาช่วยพิจารณา ในเรื่องการขอผ่อนของคุณให้...ก็เป็นไปได้...ก็คงต้องไปรอลุ้นกันต่อไปใน ชั้นศาลเอาเองนะครับ และถ้าหากลูกหนี้ถูกศาลแพ่งพิพากษาแล้ว ก็ยังไม่ยอมใช้หนี้ตามคำพิพากษาอีก(หรือ