บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2018

อายัดเงินดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา

ลูกหนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลรวมกันหลายแสนบาท ต่อมาโดนฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ อยากทราบขั้นตอนการถูกอายัดเงินเดือน และลูกหนี้สามารถจะส่งเงินเดือนที่ถูกอายัดได้เองหรือไม่ ตอบ 1. เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้วเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาสามารถขออายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะพิจารณา อายัดให้ ดังนี้ เงินเดือน อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30 ของอัตราเงินเดือน  ก่อนหักรายจ่ายอื่น ทั้งนี้ต้องมีเงินคงเหลือให้ลูกหนี้ไม่น้อยกว่า   2 0,000 บาท เงินโบนัส อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 50 เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30 เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดเต็มจำ นวนไม่เกินหนี้   ตามหมายบังคับคดี 2. เมื่อผู้รับคำสั่งอายัด (นายจ้าง) ได้รับคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงาน   บังคับคดีแล้ว ต้องนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดอย่างเคร่งครัด หากมีเหตุขัดข้อง ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ มิฉะนั้นนายจ้างอาจต้องรับผิดชำระหนี้ เสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำ พิพากษา เท่ากับจำ นวนที่นายจ้างไม่ได้นำส่งเงิน ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี 3. ในกรณีลูกหนี้ประสงค์จะนำ

บ้านผ่อนอยู่เจ้าหนี้บัตรเครดิตยึดได้หรือไม่

เจ้าหนี้จะขอยึดที่ดินฯ ของลูกหนี้   ซึ่งติดจำนองธนาคาร หรือบุคคลอื่นได้หรือไม่ สามารถดำ เนินการได้ แต่ผลของการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้จำ นองขอรับชำ ระหนี้บุริมสิทธิ (ขอรับชำ ระหนี้จำ นอง) ต่อศาลและศาลมีคำสั่งอนุญาตเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จำ นองเป็นอันดับแรก ถ้ามีเงินเหลืออีก จึงจะจ่ายให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้รับจำ นอง จะแถลงขายโดยการจำ นองติดไปเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น ภายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงจะจ่ายให้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ถ้าลูกหนี้มีชื่อเป็นเจ้าของร่วม ก็จะโดนฟ้องบังคับคดีเช่นกันครับ ทางที่ดี เคลียร์ตัวเองออกมาดีกว่า ไม่เดือดร้อนคนอื่นครับ