คู่มือเตรียมตัวเตรียมใจลาออกจากงานประจำ


ในวันที่ชีวิต ได้เดินมาถึงจุดเปลี่ยน     เสียงเพลงของป้ากมลา ล่องลอยเข้ามาในหัว     

วันที่มนุษย์เงินเดือนอายุไม่น้อยคนนึงมีความคิดว่าจะลาออกก่อนวัยเกษียณ   สิ่งที่จะต้องทำเมื่อความคิดนี้มันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ


หนึ่ง     ต้องรู้ว่าตัวเองมี Minimum Cost of Living เท่าไหร่ คิดง่ายๆเป็นรายเดือนก็ได้เช่น 

รายการ
ต่อวัน
ต่อเดือน
หมายเหตุ
กินข้าวซื้อหนังสือพิมพ์เข้าเซเว่น ค่าใช้จ่ายรายวัน
300
900

ค่าน้ำค่าไฟ

1,500

ค่าอินเตอร์เนต สำคัญอยุ่นะ

700

ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน

2000

อื่นๆ เช่น มีรายการพิเศษเข้ามา ซ่อมบ้าน หรือ ไปเลี้ยงงาน

1000

รวมๆแล้ว

14,200 
ตีซะ 15,000

ทางที่ดี เราควารมีเงินพอใช้อย่างน้อง 12 เดือน  ซึ่งคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่คนเราปรับตัวและหาทางทำมาหากินเพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไปได้  12 คูณ 15,000  คือ ต้องมีเงินอย่างน้อย 180,000 ก่อนคิดลาออกจากงาน
ยอด 180,000 นี้ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน  ถ้าใครกินอยู่มากหรือน้อยกว่านี้ก็ไปปรับและคำนวณกันดูนะ

ถ้าคุณยังมีเงินสำรองครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งปีไม่ได้ ก็ยังไม่ควรลาออกนะ

สอง    หนี้สิน
ในกรณีที่มีหนี้สิน   ต้องคิดว่าถ้าไม่มีรายได้ประจำแล้ว หรือ รายได้ลดลงเราจะจัดการหนี้สินที่มีได้อย่างไร 
หนี้อาจเป็นหนี้ระยะสั้น เช่น หนี้บัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำมาตลอดเว   ต้องเคลียร์ให้จบ ถ้าเคลียร์ไม่จบ ก็ไม่ควรจะลาออกตอนนั้น   หรือ ผ่อน 0% 10 เดือน  ก็ควรจัดการให้หมด เพราะไม่อย่างนั้นจะเป็นภาระต่อไป
หนี้ระยะยาว เช่น ผ่อนบ้านอยู่ควรทำอย่างไร  ถ้าผ่อนบ้านมาเกิน 3 ปี ก่อนออกงาน ควรรีไฟแนนซ์เพื่อให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดน้อยลง และอาจหาคนเช่า หรือถ้าทำเลดีดี ก็เอาไปทำห้องพัก และโพสต์ใน airbnb เลยจะได้เป็นรายได้เพื่อแบ่งเบาภาระของเรา หรือไม่ก็พิจารณาขายทรัพย์สินอื่นเพื่อลดภาระการผ่อน  เช่นขายที่ดิน  แล้วเอามาจ่ายหนี้บ้าน 


เมื่อเรามีเงินเก็บเรียบร้อย  เคลียร์หนี้เคลียร์สินแล้ว   เราก็จะเป็นอิสระในระดับหนึ่ง
สาม    ออกมาแล้วจะยังไงต่อ   อาจหางานอื่นทำ หรือ ไปทำมาหากินอย่างอื่น  บางคนก็เป็นนักลงทุนเล็กๆ หุ้น ทอง หรือเก็บค่าเช่ากิน   บางคนก็มีรายได้จาก REIT เป็นต้น   อันนี้ควรเตรียมตัวสะสมมาตั้งแต่ก่อนออกจากงานนะครับ
เรื่องทำมาหากินอะไรนี่มันก็แล้วแต่ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลนะครับ  ไว้ว่ากันทีหลัง เรื่องนี้ต้องระวังเช่นกัน
ทีนี้ในกรณีที่เรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับบริษัทอยู่จะทำยังไง
หลายคนไม่รู้ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นรายได้ต้องเสียภาษีนะจ๊ะ   บางคนออกจากงานเดือนพฤษภาคม อารมณ์อยากได้เงินก้อน หรือเพราะไม่รู้   เงินก้อนนี้จะเอาไปรวมกับเงินเดือนถือเป็นรายได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา   แต่มีวิธีคำนวณดังนี้นะครับ
ถ้าเราออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี จะเป็นอย่างไรสำหรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ขอยกตัวอย่างจากเวป MoneyHub ดังนี้
ถอนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ต้องเสียภาษีอย่างไร
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่ง เรียกว่า เงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินเข้าไปอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า เงินสมทบทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้เป็นลักษณะของสวัสดิการที่นายจ้างต้องมีให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้าง ที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งจัดอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ ผ่านทางกฎหมายที่เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั่นเอง
ความสำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ก็เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมอย่างต่อเนื่อง และมีวินัยในการออม นอกจากนี้คุณยังได้รับเงินสมทบจากนายจ้างเพิ่มอีกด้วย ทั้งนี้ ทางกองทุนก็มีการบริหารเพิ่มพูนดอกผล แล้วนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุนคนตามสัดส่วนของเงิน ที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุนอีกด้วย


เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย
เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นจำนวนเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากรายได้ทุกเดือน ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% ของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ของกองทุนแต่ละนายจ้าง
เงินสมทบของนายจ้าง เป็นจำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก ในอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 2% ต่อเดือน แต่ไม่เกิน 15% ต่อเดือน เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราส่วนที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนแต่ละนายจ้าง
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนการจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้าง อาจแตกต่างกันไปตามแต่เงื่อนไข ระยะเวลาการทำงาน หรือระยะเวลาการเป็นสมาชิกหรือตามแต่ตำแหน่ง หรือตามอัตราเงินเดือนของลูกจ้างนั้น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการจูงใจ หรือเป็นสวัสดิการส่วนเพิ่มให้กับลูกจ้างที่ทำงาน ให้อยากทำงานกับนายจ้างในระยะเวลานานขึ้น

เนื่องจากเงินกองทุนนี้เป็นสวัสดิการ เพิ่มให้กับลูกจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินออกสำหรับเงินสมทบของนายจ้างและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว ซึ่งทางนายจ้างส่วนใหญ่จะกำหนดให้ลูกจ้างได้รับตามอายุการทำงาน อย่างเช่น ลูกจ้างออกจากงาน และมีอายุการทำงานน้อยกว่า 5 ปี ลูกจ้างจะได้รับเงินส่วนของนายจ้างเพียง 50% ถ้าอยู่จนครบกำหนด 5 ปีขึ้นไป จะได้รับ 100% เป็นต้น ทั้งนี้ก็เป็นเพื่อการจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างเป็นเวลานานเช่นกัน

เงินออมของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากเงินสะสมและเงินสมทบที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนทุกเดือน รวมทั้งผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนของกองทุน อย่างไรก็ดี ทางกองทุนจะไม่มีดอกเบี้ยหรือเงินปันผลให้กับสมาชิกเพราะต้องการเก็บเงินก้อนใหญ่ ไว้รอจ่ายคืนให้กับสมาชิกเมื่อสิ้นสุดสภาพของสมาชิกกองทุน อย่างเช่น การลาออกจากงาน การเกษียณอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ ทางกองทุนจะไม่ให้สมาชิกถอนเงินออกบางส่วน เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับสมาชิกนำเงินไปใช้ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการออมเงิน ไว้ใช้หลังการเกษียณ



จะต้องเสียภาษี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร
การยื่นภาษี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อต้องออกจากงาน คุณสามารถจ่ายแบบแยกยื่นได้เลยค่ะ แต่คุณจะต้องมีระยะเวลาการทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป คุณจึงสามารถเสียภาษี โดยการยื่นรวมได้ตามปกติ โดยการนำจำนวนเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภท เพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี หรือจะไม่นำไปรวมเพื่อคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น คุณก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน


สูตรการคำนวนภาษีแบบแยกยื่น
การคำนวณภาษี แบบแยกยื่น มี 2 กรณีด้วยกันคือ ในกรณีอายุการทำงานต่ำกว่า 5 ปี และกรณีอายุการทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปว่าต้องคำนวณจำนวนเงินเพื่อเสียภาษีอย่างไร

ในกรณีแรก คือ ระยะเวลาการทำงานของคุณต่ำกว่า 5 ปี เงินส่วนแรก นั่นก็คือ เงินสะสมของคุณไม่ต้องนำจำนวนเงินส่วนนี้ไปรวมกับรายได้เพื่อคำนวณเสียภาษี แต่สำหรับเงินส่วนที่ 2 นั่นคือ เงินสมทบของนายจ้างและ ผลประโยชน์ของเงินสะสมจำนวนเงินส่วนนี้คุณต้องนำไปรวมกับรายได้ เพื่อคำนวณเสียภาษี 

ในกรณีที่ 2 คือ ระยะเวลาการทำงานของคุณมากกว่า 5 ปีขึ้นไป คุณไม่ต้องนำจำนวนเงินสะสมไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเช่นกัน ส่วน เงินสมทบของนายจ้างและ ผลประโยชน์ของเงินสะสมคุณสามารถนำจำนวนเงินส่วนนี้ไปหักค่าใช้จ่ายตามปีที่ได้คุณสะสมเงินไว้ คุณจะได้จำนวนเงินเท่ากับ 7,000 บาทต่อปี สำหรับจำนวนเงินที่เหลือ เท่าไรนั้นคุณสามารถนำมาหักออกได้อีกครึ่งหนึ่ง แล้วจึงนำจำนวนเงินที่เหลือไปรวมกับรายได้สุทธิเพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้

ยกตัวอย่าง เพื่อให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจน ระหว่าง 2 กรณีว่าคุณจะได้ผลประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร
กำหนดให้คุณ C เป็นสมาชิกกองทุนมา 5 ปี ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาเป็นจำนวนเงินทั้งสิน 350,000 บาท (แบ่งเงินเป็น เงินสะสม 100,000 บาท เงินสมทบและผลประโยชน์รวมกัน 250,000 บาท) และคุณ D เป็นสมาชิกกองทุนมา 4 ปี ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาเป็นจำนวนเงินทั้งสิน 250,000 บาท (แบ่งเงินเป็น เงินสะสม 80,000 บาท เงินสมทบและผลประโยชน์รวมกัน 170,000 บาท)

สมาชิกกองทุน
เงินส่วนที่เหลือหลังจากหักเงินที่พนักงานสะสม
หักค่าใช้จ่ายสะสมไว้ 7,000 บาทต่อปี
เงินส่วนที่เหลือหลังจากหักตามปีสะสม
หักออกครึ่งหนึ่งของเงินที่เหลือ
รายได้สุทธิ
(คำนวณภาษี)
คุณ C
(ระยะเวลา 5ปี)
250,000 บาท
35,000 บาท
(7,000 x 5)
215,000 บาท
(250,000 – 35,00)
107,500 บาท
(215,000 / 2)
107,500 บาท
คุณ D
(ระยะเวลา 4ปี)
170,000 บาท
หักไม่ได้
170,000
หักไม่ได้
170,000 บาท


จะเห็นได้ว่าเพียงคุณรอให้ครบกำหนดระยะเวลาการทำงาน 5 ปีขึ้นไปก่อน นอกจากคุณจะได้รับเงินสะสมเพิ่มแล้ว คุณยังเสียภาษีน้อยลงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ตั้งแต่แรกว่าคุณต้องเอาเงินจากกองทุนเลี้ยงชีพ เข้ามารวมกับรายได้ในปีที่ถอนกองทุนเลี้ยงชีพออก คุณสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพิ่มได้อีก อย่างเช่น การทำประกันชีวิต และลงทุนในกองทุน LTF เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้อีกด้วย ดีกว่าที่คุณสะสมมาเป็นเวลานานแต่ต้องนำมาจ่ายภาษีทั้งหมด 
ยังมีแนวทางอื่น เพื่อไม่ให้รายได้เยอะในปีที่ออก เดี๋ยวเสียภาษีอานเลยคือ
1.       ฝากไว้ที่กองเดิมของบริษัท เสียค่าฝาก 500 ต่อปี ฝากได้ปีเดียว   ฝ่ายบุคคลบางที่ก็ไม่บอกว่าทำได้เพราะขี้เกียจยุ่งไหนๆมรึงก็จะออกล่ะนะ ประมาณนี้

2.       ย้ายไปกอง RMF ที่เขาเปิดรับโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  อันนี้เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการใช้เงินก้อนและต้องการกันเงินไว้เกษียณเพราะว่า กว่าคุณจะเบิกออกมาได้ คุณต้องอายุ 55 ปี ตามหลักเกณฑ์ RMF และต้องซื้อกองทุนปีละ 5,000 บาทเป็นอย่างน้อย ซื้อปีเว้นปีก็ได้    เลือกกอง RMF ที่เหมาะกับความเสี่ยงและความสบายใจ สอบถามได้ที่ทุกธนาคาร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

ประสบการณ์ไปศาลคดี บัตรเครดิต UOB

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต