ข้อต่อสู้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ควรศึกษา

ข้อต่อสู้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ควรศึกษา

เมื่อตนเองต้องตกอยู่ในฐานะลูกหนี้และอาจต้อง ถูกฟ้องคดีต่อศาล ลูกหนี้บางคนตกใจและยิ่งต้องเจอกับการทวงหนี้แบบไม่ค่อยจะถูกต้องนักจากตัว แทนฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยแล้ว
บางคนอาจเกิดอาการเครียดและเท่าที่เคยปรากฏเป็นข่าวบางคนถึงกับคิดฆ่าตัวตายเนื่องจากไม่รู้ว่าจะหาเงิน
จากที่ไหนมาใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่ต้องกังวลนัก หากท่านรู้ถึงข้อต่อสู้ที่ตนเองมีอยู่เพื่อจะได้นำไปใช้ชี้แจงกับฝ่ายเจ้า หนี้ได้


สำหรับข้อต่อสู้ของลูกหนี้นั้นก็มี...เป็นต้นว่า

- ตนเองเป็นหนี้จริงหรือไม่ สัญญาที่เจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่นั้นเป็นสัญญาปลอมหรือไม่

- หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาทวงถามกับลูกหนี้นั้น สามารถบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นโมฆะหรือไม่ หรือได้ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

- ในส่วนดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้เรียกร้องมานั้น ได้มีการคิดถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ และเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ (กฎหมายกำหนดให้คิดได้ไม่เกิน 15% ต่อปี ยกเว้นกรณีที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินสามารถคิดได้ตามที่ประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทยอนุญาตไว้)

- และเรื่องสำคัญหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้นั้นขาดอายุความ หรือยัง หากขาดอายุความแล้วเมื่อลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาล ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
แต่ถ้าลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว ศาลก็ไม่สามารถนำปัญหาเรื่องหนี้ขาดอายุความหรือไม่มาวินิจฉัยได้ ลูกหนี้ก็เสียประโยชน์ไป


อายุความฟ้องคดีก็มีเป็นต้นว่า

1. หนี้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
2. กรณีเช่าซื้อ แบ่งเป็น
2.1 กรณีที่เรียกเอาค่าเสียหายจากสภาพทรัพย์สินชำรุดบุบสลาย เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้ให้เช่าซื้อกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ ได้ให้เช่าซื้อไปแล้ว หากพบว่ามีการชำรุดบุบสลายผู้ให้เช่าซื้อต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ตนได้รับทรัพย์นั้นคืน
2.2 ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในอายุความ 2 ปี
2.3 อายุความฟ้องเรียกค่าติดตามยึดทรัพย์คืน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อ, เรียกค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อแทน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ครอบครอง ทรัพย์ที่เช่าซื้อ เหล่านี้ต้องฟ้องภายในอายุความ 10 ปี
3. กรณีหนี้เงินกู้ต้องฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
4. มูลหนี้ค่าสินค้าที่ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้าที่ได้ส่งมอบไป นั้นมีอายุความ 2 ปี แต่ถ้าซื้อสินค้ามาเพื่อใช้ในกิจการของตน เช่น ผู้รับเหมาซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างมาใช้ในกิจการที่ตนรับเหมานั้นมีอายุความ 5 ปี
5. และสำหรับกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต ไม่ว่าหนี้เดิมจะมีอายุความยาวกว่าหนึ่งปีไปอีกเท่าใดก็ตาม เจ้าหนี้จะต้องฟ้องกองมรดกของลูกหนี้ให้ชำระหนี้เสียภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ว่าลูกหนี้ตาย
6. สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด
7. กรณีเจ้าหนี้จำนอง จำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินดังกล่าวนั้นตลอดไปไม่มีอายุความ แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไป ไม่ได้ (แต่ลูกหนี้ก็ต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย ศาลจึงจะวินิจฉัยให้ได้)

*** สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องอายุความได้จากในกระทู้นี้ ***
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29


ที่กล่าวมานี้ก็เป็นกรณีตัวอย่างพอสังเขป เพื่อให้ลูกหนี้หรือแม้แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ได้รู้ถึงสิทธิของตนเอง ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน แต่อย่างไรก็ตามหากเราเป็นหนี้แล้ว ก็ควรจะต้องชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ ไม่เจตนาแนะนำให้เบี้ยวหนี้ แต่ต้องการให้ท่านที่ไม่มีกำลังพอจะชำระหนี้ในขณะนี้ ไม่ต้องตกใจจนเกินไปนัก

หากหนี้ไม่ขาดอายุความ และมีการฟ้องร้องบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีกำลังที่จะชำระคืนได้ไหว ก็ให้เจรจากับเจ้าหนี้ขอผ่อนชำระก็ได้ โดยจะเจรจาเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ไปเจรจาแทนตนเองก็ได้ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เนื่องจากการเป็นหนี้นั้นไม่มีโทษทางอาญา(กล่าวคือไม่มีโทษจำคุกหรือปรับนั่นเอง) หากมีใครมาขู่ว่าจะนำตำรวจมาจับหรือจะต้องถูกจำคุก ก็ไม่ต้องกลัว เพราะตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมลูกหนี้ในเรื่องคดีแพ่ง

ฟันธง...

จาก  http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=1897&Itemid=29#1897

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

ประสบการณ์ไปศาลคดี บัตรเครดิต UOB

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต