ความหมายของการนัดขึ้นศาล

ถ้าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า
ให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ยในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555

และให้จำเลยมาศาลเพื่อการสืบพยานโจทก์ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555

ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน

ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ วันนัดไกล่เกลี่ย (นัดที่หนึ่ง)
 และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ" (นัดที่สอง)

ส่วนสำหรับวันนัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา) จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน?

ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง)

เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กันเป็นส่วนใหญ่..จะเขียนเป็นดังนี้

เพราะฉะนั้นให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและสืบพยาน ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555

ส่วนใหญ่หมายศาลของ คดีแพ่ง และ คดีผู้บริโภค ในปัจจุบัน มักจะเขียนเป็นอย่างนี้กันเกือบทั้งหมดแล้วครับ

แล้วเขียนแบบนี้มันหมายความว่าอย่างไร?...และมันแตกต่างกันตรงไหนหรือ?...

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็คือ...ในปัจจุบันนี้ คดีแพ่งต่างๆรวมทั้งคดีผู้บริโภคที่อยู่ในชั้นศาล มีมากมายเสียจนแทบจะเรียกได้ว่า"คดีล้นศาล"...ดังนั้นศาลท่านจึงเห็นว่า สมควรที่จะต้องรีบ"รวบรัด"คดีต่างๆที่ยังมีค้างอยู่ รวมทั้งคดีต่างๆที่จะเข้ามาใหม่ ให้มีระยะเวลาที่ กระชับ , รวดเร็ว , และกระขั้นชิดมากขึ้น โดยพยายามไม่ให้ยืดเยื้อ

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้อง...รวบเอานัดที่หนึ่ง(นัดไกล่เกลี่ย) และนัดที่สอง(นัดสืบพยาน) โดยนำมารวมให้อยู่ภายในวันเดียวกันเลย เรียกได้ว่าขึ้นศาลวันเดียว"รู้เรื่อง" เพราะทั้งไกล่เกลี่ยและทั้งต่อสู้คดีภายในวันเดียวกันไปเลย

ศาลท่านจึงได้เขียนระบุไว้ที่หน้าหมายศาลว่า "ให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและสืบพยาน ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555"...ยังไงล่ะครับ

ถ้าใครที่ถูกฟ้องแล้ว ในหน้าหมายศาลเขียนเอาไว้อย่างที่ผมได้บอกไป (ขอย้ำว่า...ศาลส่วนใหญ่จะเขียนเป็นแบบที่ผมบอก) ก็คือ "การรวบทั้งสองนัด" ไว้ภายในวันเดียว...แต่ฝ่ายลูกหนี้ (จำเลย) อ่านแล้วเข้าใจผิดไปเอง โดยไปคิดเอาเองว่า "เป็นแค่เพียงวันนัดไกล่เกลี่ยเท่านั้น" ดังนั้น ยังไม่ต้องไปศาลในนัดแรกนี้ก็ได้ เดี๋ยวก็ต้องไปใหม่อีกทีในวันสืบพยาน (วันสู้คดี) อยู่ดี

ถ้าคิดเช่นนี้...ก็ฉิบหายเลยครับ

เพราะการที่คุณไม่ได้ไปศาลในวันดังกล่าว เนื่องจากการเข้าใจผิดไปเอง...ก็เท่ากับว่าคุณ "ได้หนีศาลไปถึงสองนัดพร้อมๆกัน" ซึ่งคุณจะถูกศาลท่านพิพากษาทันที ภายในวันนั้นเลย

ดังนั้นจึงใคร่ขอเตือนให้สมาชิกทุกท่าน กรุณาอ่านข้อความ ที่เกี่ยวข้องกับวันนัดในหมายศาลให้ดีนะครับ ว่าเขาเขียนเอาไว้อย่างไร?...นัดให้ไปขึ้นศาลเพื่ออะไร?...จะได้ไม่ต้องมานั่งร้องให้เสียใจในภายหลัง

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อนึ่ง...หากลูกหนี้รายใด ได้รับหมายศาลแล้ว ปรากฏว่าใน"วันที่"นัดให้ไปขึ้นศาล มันเป็น"วันเสาร์"ตามในปฎิทิน...ก็ไม่ต้องสงสัยไปนะครับ ว่าวันที่ในนั้นถูกระบุผิดหรือเปล่า? เพราะตามปกติแล้วศาลจะหยุด(ไม่ทำงาน)ในวัน เสาร์-อาทิตย์ มิใช่หรือ?
 ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ...ตามที่ผมได้เกริ่นไปตั้งแต่แรกแล้วว่า

ในปัจจุบันนี้ คดีแพ่งต่างๆรวมทั้งคดีผู้บริโภคที่อยู่ในชั้นศาล(ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องร้องกันว่าด้วยเรื่อง"หนี้เงิน") มีคดีมากมายเสียจนแทบจะเรียกได้ว่า"คดีล้นศาล"

ดังนั้น ศาลท่านจึงจำเป็นที่จะต้องมาทำงานในวันเสาร์(ซึ่งปกติเป็นวันหยุด)ด้วย เพื่อที่จะช่วยระบายคดีต่างๆที่ยัง"ล้นศาล"นี้ออกไปให้มากที่สุด
 จึงเป็นเหตุผลที่ศาลบางแห่ง ที่มีคดี"ล้นศาล"เป็นจำนวนมากๆ ศาลจึงจำเป็นต้องนัดคู่ความตามในคดีฟ้อง(ความแพ่ง) ให้มาขึ้นศาลในวันหยุดดังกล่าวด้วย

สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่น ไปศาลแทนได้หรือไม่

การมอบอำนาจให้ผู้อื่น(ที่มิใช่ทนายความ) เพื่อให้ติดต่อกระทำนิติกรรมใดๆ แทนตัวจำเลยนั้น...สามารถกระทำได้
 โดยการทำเป็นหนังสือมอบอำนาจให้แก่บุคคลผู้นั้นไป และที่สำคัญ "ต้องติดอาการสแตมป์" เป็นจำนวนเงิน 30 บาทด้วย (อันที่จริงติดอาการสแตมป์เพียงแค่ 10 บาทก็ได้ แต่จะเป็นการมอบอำนาจได้เพียงแค่ ชั่วครั้ง-ชั่วคราว แบบเป็น ครั้ง-ต่อ-ครั้ง เท่านั้น...แต่ถ้าติดอาการสแตมป์ 30 บาท จะเป็นการมอบอำนาจในระยะยาว ตลอดจนกว่านิติกรรมนั้นจะเสร็จสิ้น)

แต่การมอบอำนาจเช่นนี้ มีข้อจำกัดอยู่ว่า...ให้สามารถกระทำนิติกรรมแทนจำเลยได้เพียงแค่บางอย่างเท่านั้น เช่น

- ขอถ่ายเอกสารคดีที่เกี่ยวข้องกับจำเลย แทนตัวจำเลยที่ไม่ได้มาด้วยตนเอง
 - ขอมาไกล่เกลี่ยกับโจทก์(โดยไม่ได้พบกับผู้พิพากษา) แทนตัวจำเลยที่ไม่ได้มาด้วยตนเอง
 - ขอมายื่นเอกสาร “คำให้การ ในการต่อสู้คดี” แทนตัวจำเลย (ยื่นเอกสารอย่างเดียวเท่านั้น ยื่นเสร็จแล้วกลับบ้านไปเลย)
 - ขอมาฟังคำพิพากษาของศาล แทนตัวจำเลยที่ไม่ได้มาด้วยตนเอง
 - ขอมาส่งเอกสารให้กับศาล ว่าจำเลยไม่สามารถเดินทางมาศาลตามนัด ในวันนี้ได้ จึงขอมาเป็นตัวแทนจำเลยในวันนี้ เพื่อขอความเมตตาจากศาล ให้ช่วยเลื่อนคดีออกไปก่อน...ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
 เช่น...จำเลยประสบอุบัติเหตุถูกรถชน(โดยมีหลักฐานเป็นใบแจ้งความ หรือใบบันทึกประจำวันของตำรวจ มาแสดงให้เห็นด้วย) หรือ จำเลย ป่วย , ไม่สบาย ขณะนี้ยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล(โดยมีหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์ มาแสดงให้เห็นด้วย)...เป็นต้น

แต่ถ้าเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลอื่น ให้มาขึ้นศาลแทนตัวจำเลย เพื่อการสืบพยาน(หรือที่เรียกกันว่าสู้คดีความ)นั้น...ไม่สามารถทำได้ครับ

ต่อให้จ้างทนายความมาขึ้นศาลแทน แต่ตัวจำเลยกลับไม่ยอมมาศาลในวันที่สืบพยาน(หรือที่เรียกกันว่าสู้คดีความ)...ยังทำไม่ได้เลยนะครับ

ถ้าสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่น(ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป หรือแม้กระทั่งทนายความก็ตาม) ให้สามารถสู้คดีแทนตัวจำเลยได้ทุกประการ...ป่านนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คงมอบหมายอำนาจให้ ทนายความ , คนขับรถ , คนสวน มาขึ้นศาลแทนไปนานแล้วล่ะครับ
ถาม : การไปศาล จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรหรือไม่
 ตอบ : ค่าใช้จ่ายในการไปขึ้นศาล มีดังนี้ครับ

- ค่าเดินทางในการไปศาล (เช่น ค่ารถเมล์ , ค่ารถแท๊กซี่ , ค่าจ้างวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง...ฯลฯ)

- ค่าอาหารกลางวัน ถ้าบังเอิญติดช่วงพักเที่ยง (เช่น ค่าข้าวราดแกง , ค่าก๋วยเตี๋ยว , ค่าอาหารตามสั่ง ที่สามารถซื้อได้จากในโรงอาหารของศาล)...ยกเว้น คุณจะหิ้วปิ่นโตไปเอง อันนี้ ก็ไม่ต้องเสีย

- ค่าขนม/ของกินเล่น หลังจากทานอาหารแล้ว หากคุณเป็นคนที่ชอบกินของหวานหลังจากกินข้าว (เช่น น้ำแข็งใส , ลอดช่อง , เฉาก๊วย , ผลไม้ต่างๆ)...ยกเว้น คุณจะหอบหิ้วเอา ขนม/ผลไม้ ไปกินเอง อันนี้ ก็ไม่ต้องเสีย

- ค่าน้ำดื่มเวลากระหายน้ำ (เช่น น้ำโอเลี้ยง , กาแฟเย็น , น้ำอัดลม , น้ำขวดต่างๆ...ฯลฯ ที่สามารถซื้อได้จากในโรงอาหารของศาลเช่นกัน)...ยกเว้น คุณจะหิ้วกระติกน้ำไปเอง อันนี้ ก็ไม่ต้องเสีย

- ค่าซื้อบุหรี่ หากคุณเป็นคนที่ชอบสูบบุหรี่ในยามว่างหรือยามเหงาปาก แล้วบุหรี่ดันหมดพอดี

- ค่าเบี้ยปรับในการสูบบุหรี่ หากคุณเป็นคนที่ชอบ"สูบบุหรี่"ไม่เป็นที่เป็นทาง แล้วดันทะเล่อทะล่าไปสูบในอาคารที่เขามีป้ายเขียนเอาไว้ว่า"ห้ามสูบบุหรี่" คุณก็จะต้องเสียค่าปรับในส่วนนี้ด้วย

- ค่าซื้อล็อตเตอรี่ หากคุณเป็นคนที่ชอบเล่นหวย (จะมีพวกที่ขายล็อตเตอรรี่ เดินขายกันเพ่นพล่านอยู่หน้าศาลเต็มไปหมด ตั้งแต่ประตูทางเข้า-ออก , ลานจอดรถ ไปจนถึงบันไดทางขึ้นศาล) ถ้าหากคุณใจอ่อน และเป็นคนประเภท"คอหวย"อยู่แล้ว คุณก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาด้วย



ค่าใช้จ่ายต่างๆในการไปขึ้นศาล...ก็มีประมาณนี้แหละครับ

นี่เป็นตัวอย่างคำถามจากในกระทู้เก่า


ถาม : ใครไปศาล แต่งตัวไปศาลต้องแต่งตัวยังไงคะ


และนี่เป็นคำตอบจากผมและสมาชิกท่านอื่นๆ


สั้นๆ ง่ายๆ คือ สุภาพเรียบร้อย ถ้าเป็นผู้หญิง ใส่กางเกงก็ได้ค่ะ
 เน้น แค่ว่าสุภาพนะคะ คือว่าต้องให้เกียรติสถานค่ะ
 ตอบโดย : reallife

เป็นผมน่ะ เน้นสุภาพ เรียบๆ ดูขรึม ดำ เทา อะไรแบบนั้น อีกอย่างแต่งตัวดีแล้ว ต้องพกสติไปให้มากๆ เพราะเพียงเสียววินาทีที่มึนๆ กับคำพูดของโจทน์ฝ่ายเจ้าหนี้เราอาจจะแย่กลับมาก็ได้ครับ สู้ๆครับ
ตอบโดย : Kak_art

แต่งกายสุภาพเหมือนติดต่อราชการค่ะ
 ตอบโดย : chaweephan

แต่ก่อนนั้นช่วงปี 48 ผมก็ใส่เสื้อโปโลสีเหลืองรักในหลวง ใส่กางเกงแสล็ก พร้อมด้วย รองเท้า Office หนัง ไปขึ้นศาลครับ... แต่ช่วงหลังๆมาเนี่ย ตอนที่พันธมิตรใช้เสื้อเหลืองประท้วง ผมก็ไม่กล้าใส่เสื้อเหลืองอีกเลย แต่ใส่เป็นเสื้อโปโลขาวแทนครับ...แค่นี้ก็ไปศาลได้แล้ว
 ตอบโดย : Pattrix

กรรม...แค่จะไปศาล ยังต้องโพสกระทู้ถามอีกหรอเนี้ย.....โอ๊ยกรูจะบ้า

คุณต้องคิดซิคะ คุณจะไป "ศาล" คุณต้องสุภาพแค่ไหน อย่าลากอีแตะ ตีนหนีบ ไปก็พอ เสื้อก็อย่าเป็นคอยืดคอย้วย....ไม่ใช่ฮิปฮอป หรือแฟชั่นจ๋า ไป

คำว่าสุภาพ...น่าจะบ่งบอกการแต่งตัวได้แล้ว......อีกอย่าง ไม่ว่าจะเลิศหรู ดูดี หรืออะไรก็แล้ว แต่ถ้าไปแล้วขาดสติ ไปแบบบ้าๆ บอๆ ไม่มีข้อมูลในหัว พอทนายหลอก หรือพูดให้กลับบ้าน ก็กลับ แบบนี้...หง่อยแหลกแล้ว

เวลาคุณไปทำงาน คุณให้ความเคารพสถานที่ไหมละ...แต่งกายสุภาพไหม ถ้าใช่ ก็ไม่เห็นต้องถามเลยว่าจะแต่งตัวยังไง

เพราะ "ศาล" ก็ถือเป็นสถานที่ราชการ เวลาจะติดต่ออะไร ก็ควรจะให้เกียรติสถานที่เค้า แค่นั้นเอง....
 ตอบโดย : moomoo


แต่งกายสุภาพ ในความเห็นผม มีอีกอย่างนึงคือ อย่าแต่งตัวแบบหรู เริ่ด เหมือนคนรวยไป... แต่งตัวให้ดูจนๆ นิดนึง ศาลท่านจะได้มองว่าเราไม่มีเงินจริงๆ
 ตอบโดย : FamilyMan


ค่ะพี่.....ถ้าถึงคราว moomoo จะไปแบบจนๆๆ เลยฮ่าๆๆๆ แต่ไม่อีแตะ ตรีนหนีบ แน่นอนค่ะ
 ตอบโดย : moomoo


แต่งแบบนี้ได้ไหม?
 ไม่จน ไม่รวย แถมยังเซ็กซี่อีกต่างหาก


ตอบโดย : pla_kradee

แต่งแบบนี้ก็ได้ครับ สุภาพดี แบบไทยเดิมสุดๆ






ตอบโดย : นกกระจอกเทศ


จะแต่งยังไงก็แต่งไปเหอะ
 แต่อย่าแต่งแบบนี้ไปก็แล้วกัน เดี๋ยวเจ้าหน้าที่ศาลจะหัวใจวายตายไปซะก่อน


ตอบโดย : ongkuleemarn



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน