ปล่อยกู้หนี้นอกระบบมีหนาว
ปล่อยกู้หนี้นอกระบบมีหนาว
เจอ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
อ้างอิงข้อมูลจาก
www.thairath.co.th/content/836471
และ
www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000004722
มีผลแล้ว! กม.“ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด” ชี้ เป็นความผิดอาญาแผ่นดินอันยอมความไม่ได้ เพิ่มโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เน้น เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น
วันนี้ (15 ม.ค. 60) มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475
มาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพราง การให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่า 1.25% ต่อเดือน)
(2) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืม หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(3) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของ หรือโดยวิธีการใดๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
มาตรา 5 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่นโดยรู้ว่าเป็นสิทธิที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามมาตรา 4 และใช้สิทธินั้นหรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งสิทธินั้น ต้องระวางโทษ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4
มาตรา 6 เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่ ศาลอาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (3) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ใช้บังคับมาเป็นเวลานานถึง 84 ปี บทบัญญัติจึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับการให้กู้ยืมเงินที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หรือการเรียกเอาประโยชน์อย่างอื่น ทำให้เกิดเครือข่ายผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บดอกเบี้ยรายวันในอัตราที่สูง เกิดองค์กรอาชญากรรมที่อาศัยธุรกิจรูปแบบเช่าซื้อเงินด่วน กระจายไปตามที่สาธารณะ สื่อออนไลน์ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
กฎหมายดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด เพราะกำหนดความผิดชัดเจน อัตราโทษสูงขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น และนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับควบคู่ด้วย โดยสาระสำคัญของร่างได้กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้น จากเดิมผู้เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเป็นกลุ่มกระบวนการที่เป็นลักษณะนายทุนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และหากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเพิ่มโทษเป็น 2 เท่า
มีรายงานว่า กฎหมายฉบับนี้ ในชั้นกรรมาธิการ สนช. ได้ตัดในส่วนของ ประเด็นการบรรจุให้เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ส่วนใหญ่เห็นว่า อาจจะมีการกลั่นแกล้งกัน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทําให้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เหมาะสม
และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับการให้กู้ยืมเงินที่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
หรือการเรียกเอาประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ยยังเกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก สมควรปรับปรุงกฎหมาย
ว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สำหรับผู้ที่สนใจกฎหมายฉบับนี้ สามารถไป Download ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้จากใน Link นี้
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/005/12.PDF
เจอ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
อ้างอิงข้อมูลจาก
www.thairath.co.th/content/836471
และ
www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000004722
มีผลแล้ว! กม.“ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด” ชี้ เป็นความผิดอาญาแผ่นดินอันยอมความไม่ได้ เพิ่มโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เน้น เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น
วันนี้ (15 ม.ค. 60) มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475
มาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพราง การให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่า 1.25% ต่อเดือน)
(2) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืม หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(3) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของ หรือโดยวิธีการใดๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
มาตรา 5 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่นโดยรู้ว่าเป็นสิทธิที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามมาตรา 4 และใช้สิทธินั้นหรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งสิทธินั้น ต้องระวางโทษ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4
มาตรา 6 เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่ ศาลอาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (3) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ใช้บังคับมาเป็นเวลานานถึง 84 ปี บทบัญญัติจึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับการให้กู้ยืมเงินที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หรือการเรียกเอาประโยชน์อย่างอื่น ทำให้เกิดเครือข่ายผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บดอกเบี้ยรายวันในอัตราที่สูง เกิดองค์กรอาชญากรรมที่อาศัยธุรกิจรูปแบบเช่าซื้อเงินด่วน กระจายไปตามที่สาธารณะ สื่อออนไลน์ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
กฎหมายดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด เพราะกำหนดความผิดชัดเจน อัตราโทษสูงขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น และนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับควบคู่ด้วย โดยสาระสำคัญของร่างได้กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้น จากเดิมผู้เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเป็นกลุ่มกระบวนการที่เป็นลักษณะนายทุนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และหากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเพิ่มโทษเป็น 2 เท่า
มีรายงานว่า กฎหมายฉบับนี้ ในชั้นกรรมาธิการ สนช. ได้ตัดในส่วนของ ประเด็นการบรรจุให้เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ส่วนใหญ่เห็นว่า อาจจะมีการกลั่นแกล้งกัน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทําให้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เหมาะสม
และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับการให้กู้ยืมเงินที่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
หรือการเรียกเอาประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ยยังเกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก สมควรปรับปรุงกฎหมาย
ว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สำหรับผู้ที่สนใจกฎหมายฉบับนี้ สามารถไป Download ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้จากใน Link นี้
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/005/12.PDF
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น