ขอคืนภาษีเงินได้...จากการขายบ้านเก่าเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่

ขอคืนได้ครับ
แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของกรมสรรพากร คือ 


1.ต้องขายบ้านเก่า-ซื้อบ้านใหม่ในระยะเวลา 1 ปี
2.ขอคืนได้ภายใน 3 ปี เอกสารที่ต้องเตรียมคือ
2.1 แบบ ค.10 กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม
2.2 เอกสารขายบ้านเก่า-
2.2.1 สัญญาจะซื้อจะขาย
2.2.2 สัญญาซื้อขาย (กรมที่ดิน) ใช้สำเนา
2.2.3 ใบเสร็จรับเงินเสียภาษีเงินได้ (ฉบับตัวจริง)
2.2.4 สำเนาทะเบียนบ้านที่ขาย-บัตรประชาชน
3.ขายแล้วไปซื้อบ้านใหม่
3.1 เอกสารเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขาย
3.2 สัญญาซื้อขาย (ออกจากกรมที่ดิน)
3.3 สัญญาจำนองที่ดิน (กู้ผ่านธนาคาร)
3.4 ใบเสร็จรับเงิน (ของคู่สัญญา)
เอกสารต่าง ๆ สามารถถ่ายสำเนาได้ ยกเว้น ตอนขายบ้านเก่าที่เสีย ภาษีเงินได้ ต้องใช้ตัวจริงเท่านั้น (ถ้าเอกสารหายจะทำอย่างไร ก็ไปแจ้งความที่สถานี ตร.ไว้เป็นหลักฐานแนบไปกันสำเนาได้)
-ปัญหาก็คือจะช้าใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2
เดือน
- หากตอนซื้อบ้านใหม่ ถ้ากู้ร่วมกัน ต้องแนบใบจดทะเบียนสมรสไปด้วย 




 กฎกระทรวง (การคลัง)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่10) พ.ศ.2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้.- 


ข้อ 1 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น(62) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 240 (พ.ศ.2545) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร "(62) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
(ข) อสังหาริมทรัพย์ตามข้อ (ก) พร้อมที่ดิน
(ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยโดยอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็น ที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อย กว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริม ทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฎว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อน หรือ นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ทั้งนี้ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน" 



ข้อ 2 กฎกระทรวงฉบับนี้ให้ใช้บังคับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมาย ที่ดินหรือ กฏหมายว่าด้วยอาคารชุด แล้วแต่กรณี สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 มกราคม 2546
ลงชื่อ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือ โดยที่อัตราการขยายตัวของธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับการที่ประชาชนประสงค์จะขยายที่อยู่อาศัยของตนเองให้เหมาะสมกับสภาพ การดำรงชีวิตโดยการขายที่อยู่อาศัยเดิม และซื้อที่อยู่อาศัยแห่งใหม่จะต้องรับภาระภาษีเงินได้จากการขายที่อยู่อาศัย หลังเดิมของตนเองด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น และบรรเทาภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัย ในกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดให้เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็น บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด โดยผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ เท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้มีเงินได้ขายไปแต่ไม่เกินจำนวน มูลค่าอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
กฎกระทรวง ฉบับที่ 241 พ.ศ.2546 ว่าด้วยการยกเว้นประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 125)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธิการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็น ที่อยู่อาศัยแห่งเดิม และต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย
ข้อ 1 เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็น บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น หรือ อสังหาริมทรัพย์อื่นดังกล่าวพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่ อาศัยอ้นเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้.-
1. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา ซึ่งไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่แบ่ง
2. ผู้มีเงินได้จะใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการของตนเองด้วยก็ได้
3. กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ และได้โอนชื่อเข้ามาในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าการทะเบียนราษฎรของอสังหาริม ทรัพย์แห่งใหม่ก่อนที่จะขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมนั้น ผู้มีเงินได้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าทะเบียนราษฎร ของอสังหาริมทร้พย์ที่ขายน้อยกว่า 1 ปี ก็ได้ แต่เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมไประยะเวลาการมีชื่อในทะเบียนบ้านตาม กฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมและอสังหาริมทรัพย์ แห่งใหม่นับแต่วันขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี 


4. การมีอยู่ในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายเวลารวมกันทั้งหมดถึง 1 ปี ให้ถือว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าการทะเบียนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ปี 


5. ในกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรส สามี ภรรยาทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชื่อในทะเบียนว่าด้วย ....... ใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 1 ปี 


6. กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของแต่ ละคน โดยมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วย ......... ของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นั้น
ข้อ 2 ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการยก เว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 1ผู้มีเงินได้ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีสิทธิขอคืนได้โดยจะต้องยื่นคำร้องของคืนภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในกรณีดังกล่าวตามแบบที่อธิบดีกำหนด (แบบ ค.10) ณ.สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาโดยต้องแนบเอกสารดังนี้.-
(1) ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้ฉบับที่กรมที่ดินออกให้
(2) สำเนาคู่ฉบับบสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมที่ใช้จดทะเบียนสิทธิ
(3) สำเนาคู่ฉบับสัญญาซื้อขายอสังหาริมทร้พย์แห่งใหม่
(4) สำเนาทะเบียนบ้านแห่งใหม่
ข้อ 3 ประกาศนี้ใช้บังคับสำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2546





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน