นักธุรกิจมือใหม่ มักจะตกม้าตายจาก ความเว่อร์ ของตัวเอง
คัดลอกมาจากเวปพันธ์ทิพย์อันลือลั่น
http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B12758672/B12758672.html
จริงๆแล้ว นักธุรกิจหน้าเก่า หน้าใหม่ จะเล็ก หรือ จะใหญ่ ไม่สำคัญ
แต่ถ้าความ “ประมาท” มาเยือนเมื่อไหร่
คำว่า “เจ๊ง” ก็อาจมาเยือนได้เหมือนทุกรายแบบเท่าเทียม
ทำไมถึงเจ๊ง?
อันนี้ มีเหตุผลประมาณ หนึ่งล้านสามแสนแปดหมื่นเจ็ดพันกว่าประการ ที่ทำให้เจ๊ง
ในหลากหลายเหตุผล บางเหตุผลก็พอรับได้ บางทีก็เป็นเหตุจำเป็นหรือสุดวิสัย
แต่หนึ่งในหลายเหตุผลที่ผมคิดว่ามันค่อนข้างเลวร้าย คือ เจ๊ง จาก “ความเว่อร์”
ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อข่มจิตใจตัวเองเพื่อไม่ให้ตกเป็นเบี้ยล่างของความเว่อร์
“จิตใจของเรา” มักจะอยากให้เราทำอะไรให้ใหญ่ๆ โตๆ หรูหรา ฟู่ฟ่า เสมอๆ
จึงต้องใช้ “สติและเหตุผล” เข้ามาสกัดมันไว้ เพื่อให้รู้ถึง “ความเหมาะสม” ที่แท้จริง
หลายๆคนมักเข้าใจผิดว่า “ทำให้มันใหญ่ๆ เว่อร์ๆ แล้วกิจการมันจะรอด”
เปล่าเลยครับ ผมคิดว่าธุรกิจจะรอดหรือไม่ มันไม่ได้อยู่ที่ขนาดและความเว่อร์...
>
>
>>>> โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน <<<<
>
>
ความเว่อร์แบบไม่มีเหตุผลแบบนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นกับนักธุรกิจมือเก๋าผู้ชำชอง
แต่อาการแบบนี้มักเกิดกับขึ้น กับ มือใหม่ รวมทั้งผมเองด้วย
นักธุรกิจมือใหม่ที่ทำธุรกิจแล้วล้มลงล่วงลับจากไป
ผมพบประเด็นอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายๆกิจการย่ำแย่
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ผมเห็นสังเกตเกิดมาจาก ... ความประมาท
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ และ ประมาท มักจะ
ลงทุนแบบงานช้าง อยากทำอะไรให้มันอลังการงานสร้าง
ประมาณว่า ทำยังไงไม่รู้ กรูขอ “เว่อร์” ไว้ก่อน
โดยคิดเองไปว่ามันจะดี กำไรมันจะมากตามความอลังการ
ประโยคเด็ดยอดฮิตของเขาเหล่านี้ คือ อยากทำให้ดีไปเลย ...
โอเคครับ ถูกต้อง ว่าทำทั้งที่ให้ดีไปเลย อันนี้ยอมรับ
แต่ในเมื่อทำให้ดีทั้งที ต้องจับหลักให้ถูกว่า ทำอะไรให้ดี
ต้องทุ่มทุนลงไปกับอะไร ถึงจะเหมาะสม
มือใหม่ผู้ประมาท ทำกิจการอะไรก็ตามแต่ แต่ขอให้รูปลักษณ์ดูดีหรูหราไว้ก่อน
แต่มักจะ ไม่ได้คำนึงถึง ต้นทุน ความคุ้มทุน กำไร และ ความเหมาะสม
อยากทำกิจการ A แต่มีทุนอยู่ 300,000 บาท
แต่ “อยากทำให้ดีๆไปเลย” เลยสาดงบลงไป 800,000 บาท
เพื่อความสวยงาม ดูดี น่าเข้าชม อุปกรณ์ครบครัน เท่ และสาแก่ใจ ฯลฯ
ทำอะไรให้มันใหญ่ๆ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายมันก็จะใหญ่ตาม
กิจการ A งบ 300,000 บาท พนักงานคนเดียวน่าจะพอ
กิจการ A เหมือนกันทุ่มไป 800,000 บาท พนักงานต้องสองถึงสามคน
เทไปหมดหน้าตักรู้เรื่องเลย....รวยเป็นรวย เจ๊งเป็นเจ๊ง
ด้วยความที่ประมาทและขาดประสบการณ์ ไม่เคยธุรกิจชนิดนี้มาก่อน บางรายอาการหนักกว่านั้นอีก
จนทำให้ คำว่า “คาดไม่ถึง” มาเยือน.....
“คาดไม่ถึงว่าจะขายไม่ดี”
“คาดไม่ถึงว่าต้นทุนจะบานปลาย”
“คาดไม่ถึงว่าค่าใช่จ่ายจะเยอะขนาดนี้”
“คาดไม่ถึงว่าสินค้าจะขายได้น้อยขนาดนี้”
“คาดไม่ถึงว่าพนักงานจะหายากอย่างนี้”
“คาดไม่ถึงว่า....”
เจอคำว่า คาดไม่ถึง ไปสักสองสามตัวติด
ถ้าสายป่านไม่ยาว เงินไม่ถึง สอดรับกับ จุดแข็งที่คิดว่าแข็งก็แข็งไม่จริง
เจ๊งล่วงลงไปนอนแน่นิ่งตั้งแต่ยังไม่คืนทุน
ผมขอยกสักสองตัวอย่าง
ตัวอย่างแรก
ขอยกกรณีเพื่อนผมท่านหนึ่ง เขาอยากทำร้านก๋วยเตี๋ยว ไปได้สูตรเด็ดมาจากไหนสักที่
เลยไปเฟ้นหาและจับได้ที่มาได้ที่ทำเลหลังมหาวิทยาลัยมาได้
เป็นบ้านไม้สองชั้นหัวมุมถนน ทำเลดี มีหอพักเยอะมากโดยรอบ
คอนเซ็ปคือ จะจับบ้านไม้สองนี้มา รีโนเวท ทำใหม่ให้สวย
เออผมฟังก็เข้าท่าดี บ้านไม้เก่าดีโครงดี คลาสสิคดี ชอบ ทำเลก็ดี
ผ่านไปนอนหลายเดือน ผมได้ผ่านไปแถวนั้น ผมเลยแวะเข้าไปชิม
ภาพที่เห็นถึงกับอึ้ง โอ้โห!!! ลูกพี่เล่นทำ ซะไม่เหลือเค้าเดิมเลย
ทุบออกบางส่วน ผนังแบบปูนเปลือย ตกแต่งเต็มแบบ จีนๆแนวโมเดิ้ลหน่อย
ผมเจอหน้าก็ถามว่า “วันนี้ลูกค้าเยอะเชียวนะท่าน”
“ทำซะเต็มที่เลยนะเนี่ย แต่ทำเยอะขนาดนี้เลยเหรอ ตอนแรกที่ฟังไม่ขนาดนี้นะ”
“เออ ตอนแรกก็ไม่ได้กะทำเยอะแบบนี้หรอก แต่ทำไปทำมาไม่ค่อยถูกใจ เลยทำให้มันดีไปเลย”
ผมเคยถามว่าลงทุนไปเท่าไหร่ เขาตอบผมว่า ล้านกว่า (กว่าเท่าไหร่ไม่รู้ )
พนักงานรวมๆกันคงมีสักสี่ห้าคนเห็นจะได้ ค่าใช้จ่ายรายเดือนคงมาพอดู
ลงทุนไปกับการตกแต่งรูปลักษณ์ “ร้าน” มากมายเพื่อดึงดูดลูกค้า
ทำให้ ต้นทุนสูงขึ้น จากต้นทุนที่สูงขึ้นจนทำให้ต้องผลักต้นทุนไปที่ ราคาสินค้า
ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ รสชาติและคุณภาพ ไม่สอดรับกับราคาขาย
ผลสุดท้ายลูกค้าไม่ติดใจ ไม่กินซ้ำ ก็จบ...
ถัดไปประมาณ 20 เมตร มีร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำร้านหนึ่ง ชื่อ ร้านเจ้แมว
ร้านแกทำเป็นเพิง มุงด้วยใบจาก(หรือเปล่าไม่แน่ใจ) ปิดทับด้วยไวนิลผู้สมัครหาเสียง
มีโต๊ะให้นั่งกินประมาณ หกเจ็ดโต๊ะ นักศึกษาเพียบ เต็มร้านเลย มากกว่าร้านเพื่อนผมอีก
เรื่องเงินๆทองเพื่อนท่านนี้คงไม่ซีเรียสมากเพราะพอมีฐานะอยู่บ้าง
แต่ ถ้าการลงทุนนี้ต้องกู้มา แล้วเปิดแบบนี้และเจ้งแบบนี้
คงต้องนอนเอาหน้าแข้งก่ายหน้าผากไปอีกนาน
ได้ข่าวล่าสุดเห็นว่าเลิกทำร้านก๋วยเตี๋ยวแล้ว แต่คงขายอย่างอื่นต่อ...
ตัวอย่างที่สอง
ท่านนี้เป็นคนรู้จัก อยากเปิดร้านกาแฟ ไปลงเรียนมาหลายคอร์ส
จนวันหนึ่ง แกประมูลที่ทำร้านกาแฟในโรงงานได้ เลยออกจากงานไปทำ
โรงงานเป็นโรงงานใหญ่ พนักงานน่าจะหลายร้อย อาจจะถึงพัน
แกก็ทำร้านก่อนเลย ดูดีไว้ก่อน เต็มที่ ลงเงินไปประมาณสองแสนกว่า
ค่าตกแต่งทำแบบถาวร ก่อปูนทำอ่างล้าง ก่อปูนทำเค้าเตอร์ ทำกันสาดเพิ่ม
เรียกง่ายๆว่าแกทำไม่เผื่อเจ้งเลยจริงๆ
ผ่านไปไม่นาน ขายไม่ดี รับต้นทุนไม่ไหว เลิกไปในที่สุด
อันไหนย้ายได้ก็ย้ายไป แต่ที่ทำแบบถาวรไว้.....น่าเสียดาย
เกิดจากความประมาทและย่ามใจมากเกินไป
ถ้าเราลงแบบพอควรเปลี่ยนจากก่อปูนเป็น โต๊ะไม้ที่เคลื่อนย้ายได้อาจจะไม่เจ็บใจแบบนี้
แต่ก็ยังดีที่แต่ตัดใจยอมขาดทุนตั้งแต่ตรงนั้นไป
แล้วออกมาหาที่ใหม่ เห็นว่าที่ใหม่เห็นว่าขายดีกว่าเดิม
.
http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B12758672/B12758672.html
จริงๆแล้ว นักธุรกิจหน้าเก่า หน้าใหม่ จะเล็ก หรือ จะใหญ่ ไม่สำคัญ
แต่ถ้าความ “ประมาท” มาเยือนเมื่อไหร่
คำว่า “เจ๊ง” ก็อาจมาเยือนได้เหมือนทุกรายแบบเท่าเทียม
ทำไมถึงเจ๊ง?
อันนี้ มีเหตุผลประมาณ หนึ่งล้านสามแสนแปดหมื่นเจ็ดพันกว่าประการ ที่ทำให้เจ๊ง
ในหลากหลายเหตุผล บางเหตุผลก็พอรับได้ บางทีก็เป็นเหตุจำเป็นหรือสุดวิสัย
แต่หนึ่งในหลายเหตุผลที่ผมคิดว่ามันค่อนข้างเลวร้าย คือ เจ๊ง จาก “ความเว่อร์”
ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อข่มจิตใจตัวเองเพื่อไม่ให้ตกเป็นเบี้ยล่างของความเว่อร์
“จิตใจของเรา” มักจะอยากให้เราทำอะไรให้ใหญ่ๆ โตๆ หรูหรา ฟู่ฟ่า เสมอๆ
จึงต้องใช้ “สติและเหตุผล” เข้ามาสกัดมันไว้ เพื่อให้รู้ถึง “ความเหมาะสม” ที่แท้จริง
หลายๆคนมักเข้าใจผิดว่า “ทำให้มันใหญ่ๆ เว่อร์ๆ แล้วกิจการมันจะรอด”
เปล่าเลยครับ ผมคิดว่าธุรกิจจะรอดหรือไม่ มันไม่ได้อยู่ที่ขนาดและความเว่อร์...
>
>
>>>> โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน <<<<
>
>
ความเว่อร์แบบไม่มีเหตุผลแบบนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นกับนักธุรกิจมือเก๋าผู้ชำชอง
แต่อาการแบบนี้มักเกิดกับขึ้น กับ มือใหม่ รวมทั้งผมเองด้วย
นักธุรกิจมือใหม่ที่ทำธุรกิจแล้วล้มลงล่วงลับจากไป
ผมพบประเด็นอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายๆกิจการย่ำแย่
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ผมเห็นสังเกตเกิดมาจาก ... ความประมาท
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ และ ประมาท มักจะ
ลงทุนแบบงานช้าง อยากทำอะไรให้มันอลังการงานสร้าง
ประมาณว่า ทำยังไงไม่รู้ กรูขอ “เว่อร์” ไว้ก่อน
โดยคิดเองไปว่ามันจะดี กำไรมันจะมากตามความอลังการ
ประโยคเด็ดยอดฮิตของเขาเหล่านี้ คือ อยากทำให้ดีไปเลย ...
โอเคครับ ถูกต้อง ว่าทำทั้งที่ให้ดีไปเลย อันนี้ยอมรับ
แต่ในเมื่อทำให้ดีทั้งที ต้องจับหลักให้ถูกว่า ทำอะไรให้ดี
ต้องทุ่มทุนลงไปกับอะไร ถึงจะเหมาะสม
มือใหม่ผู้ประมาท ทำกิจการอะไรก็ตามแต่ แต่ขอให้รูปลักษณ์ดูดีหรูหราไว้ก่อน
แต่มักจะ ไม่ได้คำนึงถึง ต้นทุน ความคุ้มทุน กำไร และ ความเหมาะสม
อยากทำกิจการ A แต่มีทุนอยู่ 300,000 บาท
แต่ “อยากทำให้ดีๆไปเลย” เลยสาดงบลงไป 800,000 บาท
เพื่อความสวยงาม ดูดี น่าเข้าชม อุปกรณ์ครบครัน เท่ และสาแก่ใจ ฯลฯ
ทำอะไรให้มันใหญ่ๆ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายมันก็จะใหญ่ตาม
กิจการ A งบ 300,000 บาท พนักงานคนเดียวน่าจะพอ
กิจการ A เหมือนกันทุ่มไป 800,000 บาท พนักงานต้องสองถึงสามคน
เทไปหมดหน้าตักรู้เรื่องเลย....รวยเป็นรวย เจ๊งเป็นเจ๊ง
ด้วยความที่ประมาทและขาดประสบการณ์ ไม่เคยธุรกิจชนิดนี้มาก่อน บางรายอาการหนักกว่านั้นอีก
จนทำให้ คำว่า “คาดไม่ถึง” มาเยือน.....
“คาดไม่ถึงว่าจะขายไม่ดี”
“คาดไม่ถึงว่าต้นทุนจะบานปลาย”
“คาดไม่ถึงว่าค่าใช่จ่ายจะเยอะขนาดนี้”
“คาดไม่ถึงว่าสินค้าจะขายได้น้อยขนาดนี้”
“คาดไม่ถึงว่าพนักงานจะหายากอย่างนี้”
“คาดไม่ถึงว่า....”
เจอคำว่า คาดไม่ถึง ไปสักสองสามตัวติด
ถ้าสายป่านไม่ยาว เงินไม่ถึง สอดรับกับ จุดแข็งที่คิดว่าแข็งก็แข็งไม่จริง
เจ๊งล่วงลงไปนอนแน่นิ่งตั้งแต่ยังไม่คืนทุน
ผมขอยกสักสองตัวอย่าง
ตัวอย่างแรก
ขอยกกรณีเพื่อนผมท่านหนึ่ง เขาอยากทำร้านก๋วยเตี๋ยว ไปได้สูตรเด็ดมาจากไหนสักที่
เลยไปเฟ้นหาและจับได้ที่มาได้ที่ทำเลหลังมหาวิทยาลัยมาได้
เป็นบ้านไม้สองชั้นหัวมุมถนน ทำเลดี มีหอพักเยอะมากโดยรอบ
คอนเซ็ปคือ จะจับบ้านไม้สองนี้มา รีโนเวท ทำใหม่ให้สวย
เออผมฟังก็เข้าท่าดี บ้านไม้เก่าดีโครงดี คลาสสิคดี ชอบ ทำเลก็ดี
ผ่านไปนอนหลายเดือน ผมได้ผ่านไปแถวนั้น ผมเลยแวะเข้าไปชิม
ภาพที่เห็นถึงกับอึ้ง โอ้โห!!! ลูกพี่เล่นทำ ซะไม่เหลือเค้าเดิมเลย
ทุบออกบางส่วน ผนังแบบปูนเปลือย ตกแต่งเต็มแบบ จีนๆแนวโมเดิ้ลหน่อย
ผมเจอหน้าก็ถามว่า “วันนี้ลูกค้าเยอะเชียวนะท่าน”
“ทำซะเต็มที่เลยนะเนี่ย แต่ทำเยอะขนาดนี้เลยเหรอ ตอนแรกที่ฟังไม่ขนาดนี้นะ”
“เออ ตอนแรกก็ไม่ได้กะทำเยอะแบบนี้หรอก แต่ทำไปทำมาไม่ค่อยถูกใจ เลยทำให้มันดีไปเลย”
ผมเคยถามว่าลงทุนไปเท่าไหร่ เขาตอบผมว่า ล้านกว่า (กว่าเท่าไหร่ไม่รู้ )
พนักงานรวมๆกันคงมีสักสี่ห้าคนเห็นจะได้ ค่าใช้จ่ายรายเดือนคงมาพอดู
ลงทุนไปกับการตกแต่งรูปลักษณ์ “ร้าน” มากมายเพื่อดึงดูดลูกค้า
ทำให้ ต้นทุนสูงขึ้น จากต้นทุนที่สูงขึ้นจนทำให้ต้องผลักต้นทุนไปที่ ราคาสินค้า
ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ รสชาติและคุณภาพ ไม่สอดรับกับราคาขาย
ผลสุดท้ายลูกค้าไม่ติดใจ ไม่กินซ้ำ ก็จบ...
ถัดไปประมาณ 20 เมตร มีร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำร้านหนึ่ง ชื่อ ร้านเจ้แมว
ร้านแกทำเป็นเพิง มุงด้วยใบจาก(หรือเปล่าไม่แน่ใจ) ปิดทับด้วยไวนิลผู้สมัครหาเสียง
มีโต๊ะให้นั่งกินประมาณ หกเจ็ดโต๊ะ นักศึกษาเพียบ เต็มร้านเลย มากกว่าร้านเพื่อนผมอีก
เรื่องเงินๆทองเพื่อนท่านนี้คงไม่ซีเรียสมากเพราะพอมีฐานะอยู่บ้าง
แต่ ถ้าการลงทุนนี้ต้องกู้มา แล้วเปิดแบบนี้และเจ้งแบบนี้
คงต้องนอนเอาหน้าแข้งก่ายหน้าผากไปอีกนาน
ได้ข่าวล่าสุดเห็นว่าเลิกทำร้านก๋วยเตี๋ยวแล้ว แต่คงขายอย่างอื่นต่อ...
ตัวอย่างที่สอง
ท่านนี้เป็นคนรู้จัก อยากเปิดร้านกาแฟ ไปลงเรียนมาหลายคอร์ส
จนวันหนึ่ง แกประมูลที่ทำร้านกาแฟในโรงงานได้ เลยออกจากงานไปทำ
โรงงานเป็นโรงงานใหญ่ พนักงานน่าจะหลายร้อย อาจจะถึงพัน
แกก็ทำร้านก่อนเลย ดูดีไว้ก่อน เต็มที่ ลงเงินไปประมาณสองแสนกว่า
ค่าตกแต่งทำแบบถาวร ก่อปูนทำอ่างล้าง ก่อปูนทำเค้าเตอร์ ทำกันสาดเพิ่ม
เรียกง่ายๆว่าแกทำไม่เผื่อเจ้งเลยจริงๆ
ผ่านไปไม่นาน ขายไม่ดี รับต้นทุนไม่ไหว เลิกไปในที่สุด
อันไหนย้ายได้ก็ย้ายไป แต่ที่ทำแบบถาวรไว้.....น่าเสียดาย
เกิดจากความประมาทและย่ามใจมากเกินไป
ถ้าเราลงแบบพอควรเปลี่ยนจากก่อปูนเป็น โต๊ะไม้ที่เคลื่อนย้ายได้อาจจะไม่เจ็บใจแบบนี้
แต่ก็ยังดีที่แต่ตัดใจยอมขาดทุนตั้งแต่ตรงนั้นไป
แล้วออกมาหาที่ใหม่ เห็นว่าที่ใหม่เห็นว่าขายดีกว่าเดิม
.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น