บทความ

หนี้จากการผ่อนสินค้า

รูปภาพ
เห็นถามกันมาเยอะ...ถามกันจัง...ถามมาตลอดทุกปี...ถามไม่หยุดไม่หย่อน วันนี้ผมจะมาไขปัญหานี้ให้กระจ่างกันไปเลย คำถามส่วนใหญ่มักจะถามกันว่า - ผมผ่อน เครื่องซักผ้า ไว้แล้วจ่ายต่อไม่ไหว เขาจะมายึดเอาของคืนไหมครับ - เคยผ่อน โน๊ตบุ๊ค เอาไว้ แต่ได้เอาไปขายแล้ว แล้วตอนนี้ก็ไม่ได้ผ่อนต่อ ทางเจ้าหนี้บอกว่า เป็นคดีอาญา ต้องติดคุก จริงไหมคะ - ใช้ชื่อของตัวเองทำสัญญาผ่อน TV ให้กับเพื่อนที่อยู่ข้างๆห้องเช่า แต่ตอนนี้เพื่อนหนีหนี้ไปแล้ว เจ้าหนี้เขาโทรมาทวงเอา TV คืน แต่เพื่อนก็ย้ายห้องพร้อม TV หนีไปไหนก็ไม่รู้ ทางเจ้าหนี้ก็บอกว่าถ้าไม่เอา TV มาคืน จะเอาตำรวจมาจับผม จะทำยังไงดีครับ - ผ่อนตู้เย็นมาได้ 3 เดือนแล้วค่ะ แต่ตอนนี้ตกงานไม่มีเงินผ่อนต่อ คนโทรมาทวงบอกว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ เขาจำเป็นต้องมายึดเอาของไป ทำได้ด้วยหรือคะ จะอธิบายให้ฟังละนะ สัญญาเช่าซื้อ ...มีความหมายว่า ลูกค้าไปเอาของๆเขามาใช้ ในลักษณะของการเช่าของ และสัญญาว่าจะจ่ายชำระเงินค่าสินค้านั้นๆ โดยการผ่อนเป็นงวดๆพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามข้อตกลง จนกว่าจะครบตามมูลค่าของสินค้านั้นๆ จึงจะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้านั้นๆ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูก

รู้ทันกฏหมายหนี้

รูปภาพ
การไปศาลนัดแรก ถ้าเป็นการนัดสืบพยานนัดแรก ถ้าตกลงกับทางเจ้าหนี้ไม่ได้ ห้ามกลับโดยที่ไม่พบศาลก่อนเด็ดขาดครับ ทนายโจทย์จะอ้างว่าศาลไม่ขึ้นบัลลังค์ไม่ต้ิองไปฟังยังไงบอกว่าขอเจอศาลก่อน ตัวอย่างตัวเองขึ้นศาลท่านจะขึ้นช้าเพราะศาล 1 ท่าน ระหว่างเรารอในห้องพิจารณา ท่านต้องไปพิจารณาหลายคดีต่างห้องพิจารณาในวันเวลาเดียวกันด้วยครับ ช่วงระหว่างนี้ให้เจรจากันไปก่อนถ้าตกลงกันได้ ให้ทนายทำประนอมยอมความครับ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้หรือให้การสู้คดี ให้ทนายขอเลื่อนนัด ซึ่งทางทนายเป็นคนขอเ้ลื่อนเอง ทั้งโจทย์และจำเลยขอศาลเลื่อนนัดต่้อหน้าศาลในห้องพิจารณาเท่านั้นนะครับ หลังจากนั้นจะได้แบบหรือหนังสือขอเลื่อนคดี ตรงนี้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังค์ว่าต้องการขอสำเนา เผื่อจะได้ไม่หลงลืมและกันทางโจทย์ตุกติกในเรื่องคดีและแนบยื่นใบลามาศาลในนัดหน้าครับ ตัวอย่างใบเลื่อนนัดคดีที่ผมขึ้นศาลครั้งแรก ตกลงไม่ได้เจอกันนัดสอง ไปศาลต้องได้กลับมา ห้ามกลับมาตัวเปล่า   ถ้าตกลงกันได้หรือนัดต่ิอไปตกลงกันได้ก็มีแบบประนอมยอมความและผู้พิพากษาจะอ่านให้ฟังถ้าโจทก์จำเลยไม่ค้าน ก็ถือว่าจำเลยต้องทำตามนะครับเพราะท่านได้พิพากษาไปแล้วถ

เกณฑ์การซื้อที่ดินของ ธ ก ส

เกณฑ์นี้สามารถใช้เปนแนวทางในการซื้อที่ดินของเราได้นะครับ 2. ลักษณะที่ดิน หรือที่ดินพร้อมอาคาร ที่ธนาคารต้องการ 2.1 ทำเลที่ตั้งอยู่ในย่านชุมชนหรือย่านธุรกิจ ติดถนนสาธารณะ การจราจรสะดวกเหมาะแก่การ ให้บริการกับลูกค้า 2.2 ขนาดและสภาพที่ดินเหมาะสมกับการจัดวางตำแหน่งอาคารตามแบบที่ธนาคารกำหนด 2.3 มีระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ครบถ้วน ได้แก่ไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา 2.4 สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัยจากด้านต่างๆ เช่น การจราจร โจรกรรม อัคคีภัย และภัยธรรมชาติ 2.5 ที่ดินไม่ติดภาระจำยอมหรือภาระผูกพัน สามารถโอนกรรมสิทธิ์ทันทีที่ธนาคารตกลงซื้อ 2.6 ที่ดินไม่อยู่ในเขตที่ถูกเวนคืน หรืออยู่ระหว่างกำลังเวนคืน หรือที่ดินไม่อยู่ ระหว่างการพิพาท 2.7 ไม่มีลำรางสาธารณะหรือคูคลองผ่าน 2.8 กรณีที่ดินติดถนนทางหลวง จำเป็นต้องสร้างทางเชื่อมและลักษณะตำแหน่งที่ตั้งต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ กรมทางหลวงอนุญาตได้ เอกสารหมายเลข 03-2 2.9 ที่ดินไม่อยู่ติดหรือใกล้กับสถานที่เหล่านี้ คือ สุสาน เมรุเผาศพ ปั๊มน้ำมัน ร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้ม โรงมัน โรงฆ่าสัตว์ โรงสีข้าว โรงเลื่อย อู่ซ่อมเครื่องจักรยนต์ ทางโค้ง ทางแยก ไม่อยู่ในทำเลที่มีการเซาะกร่อนพังทลาย

เงินได้เลี้ยงชีพหลังเกษียณจากการออมผ่านแหล่งเงินออมระยะยาว

ในขณะที่คนไทยมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น  สิ่งที่เป็นความกังวลใจก็คือ เงินได้เลี้ยงชีพสำหรับชีวิตหลังเกษียณ  การออมสะสมในวัยทำงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น      สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการออมในวันนี้     ประเด็นคำถามที่สำคัญ   ก็คือ ออมอย่างไรจึงเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพในวัยหลังเกษียณ   บทศึกษานี้  ใช้อัตราทดแทนรายได้ร้อยละ  50 *  เป็นดัชนีชี้วัดความเพียงพอ    และประมาณอัตราทดแทนรายได้ที่ผู้ออมจะได้รับภายหลังเกษียณอายุภายใต้กรณีการออมต่าง ๆ  เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนการออม      ทั้งนี้   อัตราทดแทนรายได้  หมายถึงสัดส่วนเงินได้เลี้ยงชีพที่ผู้ออมจะได้รับในวัยหลังเกษียณอายุเทียบต่อรายได้เฉลี่ยในช่วงก่อนเกษียณอายุ            ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราทดแทนรายได้ที่จะได้รับในอนาคตมีหลายปัจจัย    ที่สำคัญๆ  ได้แก่   อัตราออม   (ในบทศึกษานี้ หมายความรวมถึงอัตราเงินออมของผู้ออมเอง  และอัตราเงินออมสมทบที่ผู้ออมได้รับจากนายจ้าง  และ/หรือรัฐบาล)     จำนวนปีของการออม    นโยบายลงทุนซึ่งกระทบต่ออัตราผลตอบแทน  จำนวนปีที่จะใช้เงินออมหลังเกษียณอายุ   การบริหารเงินออมในส่วน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ กฎหมาย อาคารชุด

สวัสดีครับ  ผมขอนำเสนอ  สาระน่ารู้เกี่ยวกับ กฎหมายอาคารชุด   ตามพระราชบัญญัติ อาคารชุด ฉบับ ล่าสุด ปี พ.ศ. 2552  นะครับ 1.  มาตรา 18   เจ้าของห้องชุดต้องช่วยกันออกค่าใช้จ่าย สำหรับทรัพย์ส่วนกลาง   เจ้าของร่วมต้องออกค่าใช้จ่ายที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง  ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บขยะ ค่าใช้จ่ายการใช้กระแสไฟฟ้าส่วนที่ให้ความสว่างแก่อาคาร (นอกห้องชุด) เช่น ทางเดิน ที่จอดรถ บันได ทางเดิน ค่าจ้างพนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย  2. มาตรา 18 / 1 บทลงโทษเจ้าของห้องชุดที่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง “ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตร 18 ภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสอง ต่อปี ของจำนวนเงินค้างชำระ โดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา 18 ตั้ง แต่ 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปี  และอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตาม

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ดิฉันมีกำหนดต้องไปไกล่เกลี่ยที่ศาล ตามภูมิลำเนาค่ะ เป็นประสบการณ์ครั้งแรกในชีวิต และถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีเลยอยากแบ่งปันให้ท่านอื่นๆค่ะ สำหรับยูเมะดิฉันก็หยุดจ่ายตั้งแต่ มิถุนายน 2554 แล้วค่ะก็มีโทรมาทวงเป็นระยะตลอดเวลาที่เราไม่ได้ชำระเลย และก็มีการเสนอส่วนลดให้ตลอด ซึ่งดิฉันก็มีการจดบันทึกไว้ทุกครั้ง แต่ด้วยความที่ว่าดิฉันไม่ได้มีเงินเก็บเลย ก็เลยไม่สามารถที่จะปิดบัญชีตามที่พนักงานติดตามหนี้เสนอมาได้ ก็เลยต้องปล่อยให้เป็นไปตามระบบ ดิฉันมีพวกบัตรต่างๆที่เป็นหนี้ ประมาณ 10 กว่าบัตรได้ รวมๆก็สามแสนกว่า และก็ทยอยปิดไปทีละบัตร ตั้งแต่ปี 55 ที่ผ่านมาตามกำลังที่เราจะหามาได้ ดิฉันก็ได้ข้อมูลจากชมรมที่แห่งนี้แหละค่ะ อ่านเท่าที่จะสามารถอ่านได้ ยอมรับค่ะว่ามีประโยชน์มากๆ แรกๆ ก็มองไปทางไหนก็มืดมิดค่ะ พอมาอ่านข้อมูลในนี้ เหมือนเป็นแสงสว่างให้คนเป็นหนี้ได้ปลดนี้จริงๆ อยากให้เพื่อนๆที่เป็นหนี้อยู่เข้ามาอ่านมากๆ จะได้มีแรงบันดาลใจและข้อมูลในการปลดนี้และเชื่อว่าแค่ไม่กี่อึดใจหนี้ที่มีอยู่ก็จะหมดไปค่ะ ออกทะเลมาไกลเลยพูดถึงเรื่องที่ไปขึ้นศาลมาดีกว่าค่ะ ....ดิฉัน

ความหมายของการนัดขึ้นศาล

ถ้าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า ให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ยในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555 และให้จำเลยมาศาลเพื่อการสืบพยานโจทก์ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2555 ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ วันนัดไกล่เกลี่ย (นัดที่หนึ่ง)  และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ" (นัดที่สอง) ส่วนสำหรับวันนัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา) จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน? ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง) เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กัน