รู้ทันกฏหมายหนี้
ตัวอย่างใบเลื่อนนัดคดีที่ผมขึ้นศาลครั้งแรก ตกลงไม่ได้เจอกันนัดสอง ไปศาลต้องได้กลับมา ห้ามกลับมาตัวเปล่า
ไปกลัวทำไมล่ะจ๊ะ เรียนรู้ไว้ครับ ไปศาลอีกจะได้ไม่ประหม่า ไม่มีใครเอาเราเข้าคุก พยายามต่อรองให้มากที่สุดถ้าเรากำลังที่จะชำระได้นะครับ เพราะตอนไปศาลนัดสอง พยายามบีบทนายให้ต่อรองครับ และ้เตรียมเอกสารมาสู้คดี ดันมาเสือกถามอีก พี่เอาเอกสารมาทำไมตั้งเยอะ ตรูจะสู้คดีกับมรึงไง ก่ิอนหน้านั้นนอกเรื่องคุยกันว่าเรียนกฎหมายอยู่ก็เลยคุยกันค่อนข้างง่ายนิดนึง แฟนก็เลยไปช่วยพูดบีบอีก สุดท้ายเลยโทรไปคุยกับทาง สนง. ก็เลยจบเดือนละ 8000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกครับ เมื่อวานทำตารางคำนวนดอกเบี้ย ออกมาดูยอดตอนนี้มันเหลืออีก หกหมื่นกว่าบาท ที่ทำตารางนี้ออกมามันดีที่ว่า เราสามารถมาคิดยอดเหลือล่วงหน้ากับยอดที่เหลือในแต่ละงวดที่ AMEX มันส่งมาให้ดู คำนวนดูตัวเลขใกล้เคียงครับ เราคำนวนได้มากกว่านิดนึง เพราะ ตัวแปร ในการคำนวนดอกเบี้ยหักต้นคือ วันที่ชำระ ที่ตกลงคือชำระไม่เกิน 31 ของเดือน ถ้าเราจ่าย 31 ของเดือน ยอดมันจะตัดวันทีื1 ของเดือนถัดไปซึ่งเราจะโดนดอกเบี้ย 32 วัน!. ตอนนี้เลยจ่ายทุกวันที่ 27 ของเดือน ยอดมันจะตัดวันที่ 28 ของเดือนนั้น เท่ากับเราประหยัดดอกเบี้ย ถ้าจำนวนหนี้สูงมากๆ มันเท่ากับประหยัดค่าดอกเบี้ยได้อีกโขครับ ถ้าจ่ายก่อนหรือจ่ายตรง ดอกเบี้ยไม่ต้องเสียมาก เพราะดอกเบี้ยมันคำนวนแบบรายวันครับ เราตรวจสอบอีกทางว่าเจ้าหนี้มันไม่โกงหนี้เรานะ. สองตรงนี้แจ่มๆชัดๆคือว่า ตกลงกับ AMEX 24 งวด ตารางที่ผมคำนวนออกมาแล้วมัน จะมองเห็นสภาพยอดหนี้ที่เหลือล่วงหน้าได้ เพราะงวดสุดท้ายที่มองเห็นคือ 15000 บาท ในเดือนมีนาคมปีหน้า และยอดเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า คือ 22000 ซึ่งโบนัสจะออกต้นปีหน้า ซึ่งตรงนี้เราก็พอจะเห็นตัวเลขสวยๆต่อรองปิดหนี้ก้อนสุดท้ายของชีวิตหนี้ได้แล้วครับ จะปิดหน้าปิดหลังคงจะดูตัวแปรโบนัสเป็นตัวหลักด้วยครับ
มื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ.... ซึ่งการตรากฎหมายดังกล่าวนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตให้เป็นมาตรฐานเดียว คุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ตลอดจนเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยนัยสำคัญและรายละเอียดของพ.ร.บ.ธุรกิจบัตรเครดิต คงประกอบด้วย
- การเปิดช่องทางกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำกับดูแลผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งกลุ่มสถาบันการเงินและกลุ่ม Non-Bank ได้ โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายอื่นๆเทียบเคียง ทั้งในมิติหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ การตรวจสอบฐานะการเงิน ตลอดจนการออกกติกาอื่นๆ ได้เพิ่มเติมตามความเหมาะสม ซึ่งคงทำให้การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในอนาคต เป็นไปได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- การกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกทั้งยังมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นเพิ่มเติมให้กับประชาชน ทั้งในด้านความเป็นธรรมและความปลอดภัยของการใช้บริการบัตรเครดิต อีกทั้งคงมีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินตลอดจนหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งจะมีความชัดเจนในหลักการปฏิบัติมากขึ้น
- การกำหนดให้การส่งผ่านข้อมูลธุรกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นในประเทศ ต้องผ่านศูนย์กลางรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดตั้งและดำเนินการภายในประเทศ (Local Switching) ซึ่งโดยหลักการแล้ว จะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงิน ตลอดจนช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและร้านค้ารับบัตรได้ โดยเฉพาะค่าบริการที่ต้องจ่ายให้กับเครือข่ายต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์สุทธิของผู้ประกอบการบัตรเครดิตในท้ายที่สุด คงจะขึ้นอยู่กับการปรับตัวด้านธุรกิจของแบรนด์ต่างประเทศ บนเงื่อนไขสัญญาปัจจุบันที่ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตไทยได้ทำไว้ ตลอดจนนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตไทยต่อการใช้บัตรที่เป็นตรายี่ห้อของสถาบันการเงิน (Local Brand) ด้วยเช่นกัน ซึ่งในทางปฏิบัติจริงแล้ว ต้องรอการประกาศหลักเกณฑ์ต่างๆ จากธปท.อีกครั้ง
ท้ายที่สุดนี้ คงต้องยอมรับว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะอยู่ในชั้นแรกๆ ของกระบวนการออกกฎหมาย ทำให้เงื่อนเวลาการบังคับใช้น่าจะยังไม่ใช่ระยะอันใกล้นี้ ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ตลอดจนฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคงมีเวลาเตรียมความพร้อมรองรับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ขณะที่ รายละเอียดส่วนใหญ่ของหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งด้านกำกับดูแล คุ้มครองผู้บริโภค และการบังคับใช้ Local Switching ยังอาจเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต ทำให้ต้องติดตามความคืบหน้าทางกฎหมายและรายละเอียดในท้ายที่สุด
ดังนั้นแล้ว ในระหว่างนี้ปัจจัยที่คงมีน้ำหนักต่อแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิต ปี 2555 และน่าจะช่วยหนุนให้ธุรกิจบัตรเครดิตเติบโตได้ดีทั้งในมิติจำนวนบัตรและปริมาณการจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตร คงได้แก่ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่น่าจะรักษาโมเมนตัมขยายตัวในเกณฑ์ดีไว้ได้อย่างต่อเนื่อง และการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาสินค้าและพลังงาน ตลอดจนการแข่งขันออกแคมเปญของผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่คงเข้มข้นต่อเนื่อง ซึ่งคงหนุนให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2555 เติบโตได้ราว 14.5% - 16.0% ขณะที่ การขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิตในปี 2555 น่าจะได้รับแรงส่งจากการทำตลาดบัตรเครดิตเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่เพิ่งจบการศึกษา หรือมีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ให้รับกับนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทของรัฐบาล ซึ่งเมื่อผนวกกับการออกบัตรใหม่ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจแล้ว ทำให้คาดว่าจำนวนบัตรเครดิตทั้งระบบปี 2555 คงเติบโตได้ 8 – 10% หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.22 – 1.50 ล้านบัตร เทียบกับฐานบัตรปี 2554
ร่างกฎหมายทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมหายไปไหนแล้ว.....
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น