อายุความฟ้องร้อง ในคดีแพ่ง (หนี้เงิน)

อายุความฟ้องร้อง ในคดีแพ่ง (หนี้เงิน)

อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ...ให้นับจาก
วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้องคดี

สำหรับอายุความของหนี้สินประเภทต่างๆ...เท่าที่ผมได้เคยสอบถามกับ
ผู้รู้ทางกฏหมาย...ได้ความมาตามนี้ครับ


- หนี้บัตรเครดิต...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี

- หนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 10 ปี

- หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล รวมทั้งบัตรกดเงินสด...อายุความ = 5 ปี (สัญญากู้ยืมที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ)

- หนี้เงินกู้...อายุความ = 10 ปี (สัญญากู้ยืมที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว)

- หนี้ที่เกิดจาก สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี


ที่ผ่านมาส่วนใหญ่...พวกเรามักจะเข้าใจกันว่า
ให้นับจากวันที่จ่ายค่างวดเป็นครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้อง
ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ ผิด ครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาของกฏหมายเขียนเอาไว้ว่า

ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้อง

ทีนี้เรามาตีความกันสักหน่อยนะครับ
คำว่า วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงวันที่จ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ
เพราะการที่เราจ่ายเงินไปในครั้งสุดท้ายนั้น...เรายังไม่ได้ผิดสัญญา ดังนั้น อายุความก็จะยังไม่เริ่มนับ

ความหมายของคำว่า “ผิดนัดชำระสัญญา” ก็คือ...เมื่อถึงวันที่เราจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่เรากลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา...นั่นแหละ...จึงจะถือได้ว่า “เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา”

ขออนุญาตสมมุติตัวอย่างให้ดูสักกรณีหนึ่งนะครับ จะได้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นาย ก. ได้ไปทำการกู้สินเชื่อบุคคลจาก ธนาคาร A มาเป็นจำนวนเงิน XX,XXX บาท ซึ่งกำหนดให้ผ่อนจ่ายคืนทั้งหมด 24 งวดๆละ 1,000.-บาท โดยต้องผ่อนจ่ายคืนไม่เกินวันที่ 8 ของทุกๆเดือน 
นาย ก. ได้รับเงินกู้มาแล้ว ในวันที่ 9/ก.ค./ 2550...ซึ่งหลังจากนั้น นาย ก. ได้ผ่อนจ่ายชำระเงินคืนไปแล้ว
เป็นบางงวด ดังนี้
งวดที่1_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 8/ส.ค./2550
งวดที่2_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/ก.ย./2550
งวดที่3_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 6/ต.ค./2550
งวดที่4_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/พ.ย./2550
งวดที่5_____ซึ่ง นาย ก. ควรจะต้องจ่ายค่าผ่อนชำระ 1,000.-บาท ไม่เกินวันที่ 8/ธ.ค./2550 ตามสัญญา แต่ นาย ก. เริ่มประสพปัญหาเรื่องเงินหมุน (ไม่มีเงินจ่าย) จึงเริ่มหยุดจ่าย...นับตั้งแต่วันที่ 8/ธ.ค./2550 เป็นต้นมา...จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 8/ธ.ค./2550 นี่แหละครับ ที่ถือว่า นาย ก. ได้เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา
(เพราะถึงกำหนดวันที่ต้องจ่ายแล้ว...แต่ไม่ยอมจ่าย)

ส่วนจะไปอ้างว่า วันที่ 7/พ.ย./2550 เป็นวันที่ นาย ก. ได้เริ่ม “ผิดนัดชำระตามสัญญา” เพราะว่าเป็น “การจ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้าย” มิได้...เพราะถือได้ว่า นาย ก. ยังมีการจ่ายชำระเงินในวันที่ 7/พ.ย./2550 ตามสัญญาอยู่ จึงไม่ได้เป็นการผิดนัดตามสัญญาแต่อย่างใด จนกว่าจะถึงรอบบิลในการชำระเงินครั้งต่อไป
ที่ผมหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาเสริม เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อการสู้ต่อคดีของลูกหนี้บางท่าน ที่ยังไม่เข้าใจในการตีความของกฏหมาย

เช่น...ถ้าลูกหนี้ถูกฟ้องเรื่อง “หนี้บัตรเครดิต” (ซึ่งมีอายุความ 2 ปีโดยนับจากวันที่ผิดนัดชำระ)...แต่ตัวลูกหนี้ได้หยุดจ่ายมาเป็นเวลา 24 เดือน (2 ปี) พอดี โดยที่ตัวลูกหนี้เอง ใช้วิธีคิดคำนวนระยะเวลา จากวันที่เริ่มจ่ายเงินเป็นครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่ฟ้อง และได้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ต่อศาลว่า “คดีขาดอายุความ” ไปแล้ว เพื่อที่จะให้ศาล “ยกฟ้อง” ให้
แต่ถ้าทนายฝ่ายโจทก์กล่าวแย้งว่า “ยังไม่ขาดอายุความ” ตามเหตุผลที่ผมได้อธิบายเหตุผลไปแล้วในด้านบน...จะทำให้คดีที่ถูกฟ้องร้องต่อศาลนี้ มีระยะเวลาในการ“ผิดนัดชำระสัญญา” เพียงแค่ 23 เดือน (1 ปี กับอีก 11 เดือน) เท่านั้น...
คดีนี้จึงไม่ขาดอายุความ และอาจส่งผลให้ลูกหนี้ถูกตัดสิน “แพ้คดี” เนื่องจากการสู้ความ "ผิดประเด็น" ก็เป็นได้
ดังนั้น สำหรับเพื่อนสมาชิกที่จะใช้ “เงื่อนไขของ การผิดนัดชำระตามสัญญา” สำหรับต่อสู้คดีในเรื่อง “ขาดอายุความ” ให้พิจารณาถึงส่วนนี้ด้วยนะครับ

คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้

ที่สำคัญที่สุด...ถ้าคุณถูกฟ้องแล้ว และคุณมั่นใจว่าคดีนี้ขาดอายุความแน่ๆ...แต่คุณไม่ยอมไปศาลเพื่อต่อสู้คดีว่า คำฟ้องขาดอายุความตามกฏหมาย คุณจะถูกพิพากษาให้มีความผิด และต้องชดใช้หนี้ตามมูลฟ้องทันที ถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม (การที่คุณไม่ยอมขึ้นไปศาล ท่านจะพิจารณาว่า คุณหนีศาล...ดังนั้นศาลท่านจะไม่ช่วยเหลือคุณใดๆทั้งสิ้น)

ถ้าเจ้าหนี้มันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ" และหนี้ของมันที่มีอยู่กับคุณ ได้ขาดอายุความในการฟ้องไปแล้ว...มันอาจจะไม่ฟ้องคุณก็ได้ เนื่องจากต้องเสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไปเปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้อง...แล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด หรือทวงไม่ได้

ดังนั้น...สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ภายในกำหนดเวลาตามที่กฏหมายระบุไว้ นับตั้งแต่ลูกหนี้ “ผิดนัดชำระหนี้” กับเจ้าหนี้เป็นครั้งสุดท้าย ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้อง หรือฟ้องร้องภายในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด คดีก็เป็นอันขาดอายุความหรือหมดสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ก็พ้นความรับผิด ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เพราะถึงแม้เจ้าหนี้จะดันทุรังฟ้องร้องลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ยกข้อต่อสู้ว่าคดีหมดอายุความแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องให้อยู่ดี

ที่สำคัญอย่าลืมว่า ถึงแม้คดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้มันดันยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การ ในการต่อสู้คดี…ลูกหนี้จะเป็นผู้ “แพ้คดี” ทันที...ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่า คดีของโจทก์ “ได้ขาดอายุความไปแล้ว” มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความ ขึ้นมาเป็นเหตุให้ยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 )

มีตัวอย่างมากมาย ที่แม้เจ้าหนี้จะรู้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ก็ยังเสือกให้ทนายความ ยื่นฟ้องลูกหนี้อีก โดยหวังว่าถ้าฟลุ๊คๆขึ้นมา ไปเจอเอาลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจที่จะต่อสู้คดี เพราะรับรู้ว่าตนเองเป็นหนี้เขาจริงๆ แต่หารู้ไม่ว่าคดีขาดอายุความแล้ว จึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าขาดอายุความแต่อย่างใด นั่นนับว่าเป็นคราวเฮงของเจ้าหนี้ และเป็นคราวซวยของลูกหนี้ ศาลก็จะต้องพิพากษาตามพยานหลักฐานให้เจ้าหนี้ชนะคดีไป และลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลต่อไป






สรุปให้ชัดๆก็คือ

ลูกหนี้ส่วนมากจะเข้าใจว่า เมื่อขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ฟ้องไม่ได้ก็จบกันแค่นั้น หรือถ้าฟ้อง ศาลก็คงจะไม่รับคำฟ้องเพราะขาดอายุความ แต่ความจริงกลับไม่เป็นอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะถึงจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็สามารถยื่นฟ้องได้ โดยศาลก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมายตามขั้นตอนต่างๆต่อไป

การที่จะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่อง การขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ"ยกฟ้อง"ต่อเจ้าหนี้ต่อไป

ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกฎหมายรองรับอยู่ตามมาตรา 193/29 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้
.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน