ถูกศาลพิพากษาแล้ว อีกนานแค่ไหนถึงจะโดนอายัดเงินเดือน?
ถาม : ถูกศาลพิพากษาแล้ว อีกนานแค่ไหนถึงจะโดนอายัดเงินเดือน?
ตอบ : การอายัดเงินเดือน หรือการอายัดทรัพย์ใดๆนั้น จะใช้เวลานานเท่าใดมันขึ้นอยู่กับความขยันของฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้) ที่จะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาลไปเขียนคำร้องต่อกรมบังคับคดีให้เป็นผู้ทำการ อายัด โดยให้เหตุผลว่าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล(ดื้อแพ่ง) จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องดังกล่าว
ดังนั้น...ระยะเวลาในการอายัดใดๆ ของกรมบังคับคดี หลังจากที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วนั้น...มันจึงไม่แน่นอน (ถึงแม้นว่าในคำพิพากษา จะเขียนเอาไว้โดยชัดเจนว่า บังคับภายใน 15 วัน ก็ตามที) เพราะเงื่อนไขของระยะเวลาดังกล่าว มันขึ้นอยู่กับทางฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้)เอง ว่าจะไปยื่นเรื่องเมื่อไหร่?
ยังมีเงื่อนไขแห่งความล่าช้าของการอายัดอีกประการหนึ่ง...กล่าวคือ
เนื่องจากยังมีคดีในการติดตามอายัดต่างๆ ที่ค้างอยู่ในกรมบังคับคดีจำนวนมหาศาล ที่ยังรอคิวเพื่อทำเรื่องส่งอายัดอยู่อีกตั้งมากมายหลายคดี
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ของกรมบังคับคดีในแต่ละจังหวัดอีกด้วย เพราะในบางจังหวัดมีคดีในการฟ้องร้องบังคับคดีกันน้อยมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญน้อย เช่น จังหวัด แม่ฮ่องสอน , น่าน , ตราด , ระนอง , สตูล , พังงา , ยโสธร , เลย , และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้…เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดน้อยคดี จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับคดีได้โดยเร็วเพราะไม่ต้องรอคิวนาน
ส่วนจังหวัดที่มีความเจริญสูงมากๆ ก็จะมีคดีที่รอคิวให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญสูง เช่นจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล , ชลบุรี , เชียงใหม่ , นครราชสีมา , ขอนแก่น , อุบลราชธานี , อุดรธานี , สงขลา...เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับได้ช้ามาก เพราะไม่รู้ว่าต้องรออีก กี่พัน กี่หมื่นคดี กว่าจะถึงคิวของตน
ดังนั้น...ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนที่ถูกอายัด...กว่าจะ"โดน" ก็เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ (15 วัน) กันทั้งนั้น...และแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการ"โดน"ที่ไม่เท่ากันเลย...เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย
บางคน"โดน"หลังจากที่ศาลพิพากษา เพียงแค่ 2 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 6 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 1 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 2 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 ปี
แล้วจะเอาตรงไหนมาเป็นบรรทัดฐานดีล่ะครับ?
ตอบ : การอายัดเงินเดือน หรือการอายัดทรัพย์ใดๆนั้น จะใช้เวลานานเท่าใดมันขึ้นอยู่กับความขยันของฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้) ที่จะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาลไปเขียนคำร้องต่อกรมบังคับคดีให้เป็นผู้ทำการ อายัด โดยให้เหตุผลว่าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล(ดื้อแพ่ง) จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องดังกล่าว
ดังนั้น...ระยะเวลาในการอายัดใดๆ ของกรมบังคับคดี หลังจากที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วนั้น...มันจึงไม่แน่นอน (ถึงแม้นว่าในคำพิพากษา จะเขียนเอาไว้โดยชัดเจนว่า บังคับภายใน 15 วัน ก็ตามที) เพราะเงื่อนไขของระยะเวลาดังกล่าว มันขึ้นอยู่กับทางฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้)เอง ว่าจะไปยื่นเรื่องเมื่อไหร่?
ยังมีเงื่อนไขแห่งความล่าช้าของการอายัดอีกประการหนึ่ง...กล่าวคือ
เนื่องจากยังมีคดีในการติดตามอายัดต่างๆ ที่ค้างอยู่ในกรมบังคับคดีจำนวนมหาศาล ที่ยังรอคิวเพื่อทำเรื่องส่งอายัดอยู่อีกตั้งมากมายหลายคดี
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ของกรมบังคับคดีในแต่ละจังหวัดอีกด้วย เพราะในบางจังหวัดมีคดีในการฟ้องร้องบังคับคดีกันน้อยมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญน้อย เช่น จังหวัด แม่ฮ่องสอน , น่าน , ตราด , ระนอง , สตูล , พังงา , ยโสธร , เลย , และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้…เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดน้อยคดี จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับคดีได้โดยเร็วเพราะไม่ต้องรอคิวนาน
ส่วนจังหวัดที่มีความเจริญสูงมากๆ ก็จะมีคดีที่รอคิวให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญสูง เช่นจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล , ชลบุรี , เชียงใหม่ , นครราชสีมา , ขอนแก่น , อุบลราชธานี , อุดรธานี , สงขลา...เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับได้ช้ามาก เพราะไม่รู้ว่าต้องรออีก กี่พัน กี่หมื่นคดี กว่าจะถึงคิวของตน
ดังนั้น...ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนที่ถูกอายัด...กว่าจะ"โดน" ก็เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ (15 วัน) กันทั้งนั้น...และแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการ"โดน"ที่ไม่เท่ากันเลย...เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย
บางคน"โดน"หลังจากที่ศาลพิพากษา เพียงแค่ 2 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 6 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 1 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 2 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 ปี
แล้วจะเอาตรงไหนมาเป็นบรรทัดฐานดีล่ะครับ?
ถาม : ผมทำงานเป็นพนักงานของบริษัท A ครับ
หากมีหมายอายัดเงินเดือนมาส่งที่บริษัทแล้ว ผมจะขอส่งเงินอายัดด้วยตนเองได้ไหมครับ เพราะไม่อยากให้ทางบริษัทต้องยุ่งยาก
ตอบ : ในอดีต...เคยมีกฏหมายที่อนุโลมให้“ลูกจ้าง”ที่เป็นจำเลย(ลูกหนี้)ตามคำพิพากษา สามารถนำส่งเงินเดือนที่อายัดตนเองได้
ในอดีตที่ผ่านๆมา จึงมีจำเลย(ลูกจ้าง)ตามคำพิพากษา ที่หักเงินเดือนของตัวเองและนำส่งโดยถูกต้องตามกฏหมายเพียง 2% เท่านั้น
ส่วนอีก 3% ส่งไม่ครบตามจำนวนที่กฏหมายกำหนด หรือ ส่งบ้าง-ไม่ส่งบ้าง
และอีก 95% ไม่ส่งเลยสักบาท
ดังนั้น ในปัจจุบันจึงได้มีการแก้ไขกฏหมาย เพื่อทำการบังคับ“นายจ้าง”ให้เป็นผู้หักและนำส่งเงินเดือนที่อายัดจากลูกจ้างผู้นั้น ตามหมายอายัดของกรมบังคับคดี
หาก“นายจ้าง”ไม่ยอมปฎิบัติตาม นายจ้างอาจถูกฟ้องให้ต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้แทนลูกจ้างผู้นั้น ตามมาตรา 312
อ้างอิงข้อมูลจาก
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=6893&Itemid=52#6916
test.led.go.th/faqn/sara.asp?nomod=d&page=6
หากมีหมายอายัดเงินเดือนมาส่งที่บริษัทแล้ว ผมจะขอส่งเงินอายัดด้วยตนเองได้ไหมครับ เพราะไม่อยากให้ทางบริษัทต้องยุ่งยาก
ตอบ : ในอดีต...เคยมีกฏหมายที่อนุโลมให้“ลูกจ้าง”ที่เป็นจำเลย(ลูกหนี้)ตามคำพิพากษา สามารถนำส่งเงินเดือนที่อายัดตนเองได้
ในอดีตที่ผ่านๆมา จึงมีจำเลย(ลูกจ้าง)ตามคำพิพากษา ที่หักเงินเดือนของตัวเองและนำส่งโดยถูกต้องตามกฏหมายเพียง 2% เท่านั้น
ส่วนอีก 3% ส่งไม่ครบตามจำนวนที่กฏหมายกำหนด หรือ ส่งบ้าง-ไม่ส่งบ้าง
และอีก 95% ไม่ส่งเลยสักบาท
ดังนั้น ในปัจจุบันจึงได้มีการแก้ไขกฏหมาย เพื่อทำการบังคับ“นายจ้าง”ให้เป็นผู้หักและนำส่งเงินเดือนที่อายัดจากลูกจ้างผู้นั้น ตามหมายอายัดของกรมบังคับคดี
หาก“นายจ้าง”ไม่ยอมปฎิบัติตาม นายจ้างอาจถูกฟ้องให้ต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้แทนลูกจ้างผู้นั้น ตามมาตรา 312
อ้างอิงข้อมูลจาก
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=6893&Itemid=52#6916
test.led.go.th/faqn/sara.asp?nomod=d&page=6
ถาม : การอายัดเงินเดือน จะถูกอายัดที่เท่าไหร่ครับ?
ตอบ : ขออธิบายเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานของการอายัดเงินเดือนตามนี้นะครับ
ตามกฏหมายแล้ว การอายัดเงินเดือนจะสามารถอายัดได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายรับรวมทั้งหมดของเดือนนั้นๆที่ได้รับ
ตามที่ผมเคยเขียนกระทู้เอาไว้ดังนี้
หวังว่าคงเข้าใจและมองเห็นภาพแล้วนะครับ ว่าทำไมกฏหมายอายัดเงินเดือน จึงถูกกำหนดมาให้เป็นเช่นนี้
และยังมีเกร็ดความรู้อื่นๆอีก อาทิเช่น
- โบนัส อายัดได้ 50% (ครึ่งหนึ่ง)
- เงินตอบแทนการออกจากงาน อายัดได้ 100 %
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำไว้กับบริษัท อายัดไม่ได้
- เงินประกันชีวิต อายัดไม่ได้...ยกเว้น...ครบอายุสัญญาที่จะต้องจ่ายเงินคืน หรือ เบี้ยปันผลตอบแทน ที่ทาง บ.ประกันจ่ายเป็นเงินปันผลให้เป็นรายเดือน เงินในส่วนนี้สามารถอายัดได้
- การอายัดเงินเดือน จะสามารถใช้บังคับได้เฉพาะกับ ลูกจ้างที่เป็นพนักงานของบริษัทเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่ถ้าหากจำเลย(ลูกหนี้)เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำของหน่วยงานภาครัฐ (ลูกจ้างที่ได้รับการบรรจุจากหน่วยงานราชการ) จะไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ ตามมาตรา 286(2)
- การอายัดเงินเดือนในทางกฏหมาย ให้สามารถอายัดได้สูงสุดไม่เกิน 30% จากรายรับรวมทั้งหมดของแต่ละเดือน โดยทั้งนี้ จะต้องให้ลูกหนี้เหลือเงินเอาไว้ใช้สำหรับการดำรงชีพไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท (หนึ่งหมื่นบาท)
ยกตัวอย่างเช่น
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 9,500.-บาท จะอายัดไม่ได้เลย เพราะถือว่ามีรายได้น้อยกว่า 10,000.-บาท ตามที่กฏหมายกำหนด
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 10,200.-บาท จะสามารถอายัดได้เพียงแค่ 200.-บาทเท่านั้น เพราะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้เอาไว้ใช้สำหรับดำรงชีพไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท ตามที่กฏหมายกำหนด
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 10,900.-บาท จะสามารถอายัดได้เพียงแค่ 900.-บาทเท่านั้น เพราะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้เอาไว้ใช้สำหรับดำรงชีพไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท ตามที่กฏหมายกำหนด
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 15,000.-บาท สามารถอายัดได้ 4,500.-บาท(คิดจาก 30% ของรายรับที่ 15,000.-บาท) โดยลูกหนี้จะเหลือเงินเอาไว้ใช้สำหรับดำรงชีพ 10,500.-บาท ซึ่งเหลือเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดแล้ว จึงสามารถอายัดได้เต็มจำนวนที่ 30%
- หากลูกหนี้ มีเจ้าหนี้หลายราย การอายัดเงินเดือนจะสามารถอายัดได้ทีละรายเท่านั้น
กล่าวคือหากมีเจ้าหนี้รายใด มายื่นเรื่องอายัดเงินเดือนก่อน ก็ได้อายัดเงินเดือน(สูงสุดไม่เกิน 30%)ไปก่อนเป็นรายแรก ส่วนเจ้าหนี้รายอื่นๆที่เหลือ หากมายื่นเรื่องในภายหลัง ก็ต้องรอให้เจ้าหนี้รายแรกอายัดเงินเดือนให้หมดหนี้เสียก่อน แล้วถึงจะสามารถอายัดเป็นรายต่อไปได้
(ใครมายื่นเรื่องก่อน ก็ได้เงินเดือนไปก่อนเป็นคิวแรก ใครมายื่นเรื่องทีหลัง ก็ต้อง“เข้าแถว”รอคิวต่อไป จนกว่าจะหมดหนี้)
หากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถไปอ่านต่อได้ในกระทู้นี้
เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน
www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=12878&catid=3
ตอบ : ขออธิบายเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานของการอายัดเงินเดือนตามนี้นะครับ
ตามกฏหมายแล้ว การอายัดเงินเดือนจะสามารถอายัดได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายรับรวมทั้งหมดของเดือนนั้นๆที่ได้รับ
ตามที่ผมเคยเขียนกระทู้เอาไว้ดังนี้
การอายัดเงินเดือน หมายถึง “การอายัดรายได้ทั้งหมด ทุกๆรายรับที่ลูกหนี้ได้รับจากนายจ้างในแต่ละเดือน โดยรายได้นั้นๆ ต้องถูกนำไปหักเป็นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ตาม ภงด.91”
โดยไม่สนใจว่ารายได้นั้นๆจะมาจาก เงินเดือนแท้ๆ , ค่าตำแหน่ง , ค่าทำงานล่วงเวลา(O.T) , ค่าคอมมิชชั่น , ค่าน้ำมัน , ค่าเข้ากะ , ค่าเบี้ยขยัน , ค่าครองชีพ , ค่าสวัสดิการต่างๆ...ฯลฯ
หากรายได้นั้นๆ ไปโผล่อยู่ในใบสลิปเงินเดือนของลูกจ้าง(ลูกหนี้) และถูกนำไปหักคำนวนเป็นภาษี หรือประกันสังคม
ในทางกฏหมายจะถูกมองว่า..."รายได้รวมทั้งหมดในใบสลิปนั่นแหละครับ ก็คือเงินเดือนที่จะต้องถูกอายัดตามกฏหมาย"
ขอยกตัวอย่างเช่น
นาย ก.ทำงานเป็นพนักงานขายของ(Salesman)ของบริษัทAAA
โดย บริษัทAAA ได้กำหนดอัตราจ้าง + รายได้ และคุณสมบัติ ของ นาย ก. เอาไว้เป็นดังนี้
- นาย ก.จะต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะของตนเอง ในการประสานงานและการติดต่อกับลูกค้า
- กำหนดเงินเดือนให้ นาย ก. 9,000.-บาท(ตามอัตราจ้างค่าแรงขั้นต่ำของกฏหมายแรงงาน ณ.ปัจจุบัน)
- ค่าน้ำมันรถยนต์ 3,000.-บาท/เดือน
- ค่าคอมมิชชั่น 3% จากยอดเงินที่ขายของได้
- หากยอดขายของในเดือนใด มียอดขายของในเดือนนั้นเกินกว่าสองล้านบาทต่อเดือน จะได้รับ"ค่าเบี้ยขยัน"เพิ่มให้อีก 20,000.-บาท สำหรับเดือนนั้นๆ
ซึ่งที่ผ่านมา นาย ก.ขายของได้เก่งมาก ได้ยอดขายเกินกว่าสองล้านบาทเป็นประจำทุกเดือน
ดังนั้น รายได้ของ นาย ก.ต่อเดือน ก็จะเป็นไปดังนี้
เงินเดือน 9,000 + ค่าน้ำมันรถ 3,000 + ค่าคอมมิชชั่น(ไม่น้อยกว่า)60,000 + ค่าเบี้ยขยัน 20,000
รายรับทั้งหมดของ นาย ก.จึงไม่ต่ำกว่า 92,000.-บาท/เดือน(เป็นอย่างน้อย)
เมื่อนาย ก.ถูกหมายอายัดเงินเดือน(หลังจากที่ไม่ชำระหนี้ตามที่ศาลพิพากษา)...แล้วนาย ก.ก็ไปชี้แจงต่อกรมบังคับคดีว่า
เงินเดือนแท้ๆของนาย ก.นั้น จริงๆแล้วเพียงแค่ 9,000.-บาทเท่านั้น
กฏหมายกำหนดเอาไว้ว่า เงินเดือนต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทอายัดไม่ได้ ดังนั้นในกรณีของ นาย ก.นี้ จึงไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้เลยแม้แต่บาทเดียว
ส่วนรายได้อื่นๆต่อเดือน ที่ได้เพิ่มมาอีกแปดหมื่นกว่าบาทนั้น มันไม่ใช่เงินเดือน เพราะมันไม่ได้ถูกเรียกชื่อว่า"เงินเดือน"
กรณีนี้ทำให้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนของนาย ก.ไม่ได้เลยสักบาท ถึงแม่ว่ารายได้รวมทั้งหมดของนาย ก.จะมากถึงเกือบแสนบาทต่อเดือนก็ตาม
จึงขอให้ทางกรมบังคับคดี ช่วยทำเรื่องไถ่ถอนอายัดเงินเดือนให้กับนาย ก.ด้วย
แล้วคุณคิดว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี เขาจะฟังเหตุผลของนาย ก.ไหมครับ?
โดยไม่สนใจว่ารายได้นั้นๆจะมาจาก เงินเดือนแท้ๆ , ค่าตำแหน่ง , ค่าทำงานล่วงเวลา(O.T) , ค่าคอมมิชชั่น , ค่าน้ำมัน , ค่าเข้ากะ , ค่าเบี้ยขยัน , ค่าครองชีพ , ค่าสวัสดิการต่างๆ...ฯลฯ
หากรายได้นั้นๆ ไปโผล่อยู่ในใบสลิปเงินเดือนของลูกจ้าง(ลูกหนี้) และถูกนำไปหักคำนวนเป็นภาษี หรือประกันสังคม
ในทางกฏหมายจะถูกมองว่า..."รายได้รวมทั้งหมดในใบสลิปนั่นแหละครับ ก็คือเงินเดือนที่จะต้องถูกอายัดตามกฏหมาย"
ขอยกตัวอย่างเช่น
นาย ก.ทำงานเป็นพนักงานขายของ(Salesman)ของบริษัทAAA
โดย บริษัทAAA ได้กำหนดอัตราจ้าง + รายได้ และคุณสมบัติ ของ นาย ก. เอาไว้เป็นดังนี้
- นาย ก.จะต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะของตนเอง ในการประสานงานและการติดต่อกับลูกค้า
- กำหนดเงินเดือนให้ นาย ก. 9,000.-บาท(ตามอัตราจ้างค่าแรงขั้นต่ำของกฏหมายแรงงาน ณ.ปัจจุบัน)
- ค่าน้ำมันรถยนต์ 3,000.-บาท/เดือน
- ค่าคอมมิชชั่น 3% จากยอดเงินที่ขายของได้
- หากยอดขายของในเดือนใด มียอดขายของในเดือนนั้นเกินกว่าสองล้านบาทต่อเดือน จะได้รับ"ค่าเบี้ยขยัน"เพิ่มให้อีก 20,000.-บาท สำหรับเดือนนั้นๆ
ซึ่งที่ผ่านมา นาย ก.ขายของได้เก่งมาก ได้ยอดขายเกินกว่าสองล้านบาทเป็นประจำทุกเดือน
ดังนั้น รายได้ของ นาย ก.ต่อเดือน ก็จะเป็นไปดังนี้
เงินเดือน 9,000 + ค่าน้ำมันรถ 3,000 + ค่าคอมมิชชั่น(ไม่น้อยกว่า)60,000 + ค่าเบี้ยขยัน 20,000
รายรับทั้งหมดของ นาย ก.จึงไม่ต่ำกว่า 92,000.-บาท/เดือน(เป็นอย่างน้อย)
เมื่อนาย ก.ถูกหมายอายัดเงินเดือน(หลังจากที่ไม่ชำระหนี้ตามที่ศาลพิพากษา)...แล้วนาย ก.ก็ไปชี้แจงต่อกรมบังคับคดีว่า
เงินเดือนแท้ๆของนาย ก.นั้น จริงๆแล้วเพียงแค่ 9,000.-บาทเท่านั้น
กฏหมายกำหนดเอาไว้ว่า เงินเดือนต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทอายัดไม่ได้ ดังนั้นในกรณีของ นาย ก.นี้ จึงไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้เลยแม้แต่บาทเดียว
ส่วนรายได้อื่นๆต่อเดือน ที่ได้เพิ่มมาอีกแปดหมื่นกว่าบาทนั้น มันไม่ใช่เงินเดือน เพราะมันไม่ได้ถูกเรียกชื่อว่า"เงินเดือน"
กรณีนี้ทำให้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนของนาย ก.ไม่ได้เลยสักบาท ถึงแม่ว่ารายได้รวมทั้งหมดของนาย ก.จะมากถึงเกือบแสนบาทต่อเดือนก็ตาม
จึงขอให้ทางกรมบังคับคดี ช่วยทำเรื่องไถ่ถอนอายัดเงินเดือนให้กับนาย ก.ด้วย
แล้วคุณคิดว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี เขาจะฟังเหตุผลของนาย ก.ไหมครับ?
หวังว่าคงเข้าใจและมองเห็นภาพแล้วนะครับ ว่าทำไมกฏหมายอายัดเงินเดือน จึงถูกกำหนดมาให้เป็นเช่นนี้
และยังมีเกร็ดความรู้อื่นๆอีก อาทิเช่น
- โบนัส อายัดได้ 50% (ครึ่งหนึ่ง)
- เงินตอบแทนการออกจากงาน อายัดได้ 100 %
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำไว้กับบริษัท อายัดไม่ได้
- เงินประกันชีวิต อายัดไม่ได้...ยกเว้น...ครบอายุสัญญาที่จะต้องจ่ายเงินคืน หรือ เบี้ยปันผลตอบแทน ที่ทาง บ.ประกันจ่ายเป็นเงินปันผลให้เป็นรายเดือน เงินในส่วนนี้สามารถอายัดได้
- การอายัดเงินเดือน จะสามารถใช้บังคับได้เฉพาะกับ ลูกจ้างที่เป็นพนักงานของบริษัทเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่ถ้าหากจำเลย(ลูกหนี้)เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำของหน่วยงานภาครัฐ (ลูกจ้างที่ได้รับการบรรจุจากหน่วยงานราชการ) จะไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ ตามมาตรา 286(2)
- การอายัดเงินเดือนในทางกฏหมาย ให้สามารถอายัดได้สูงสุดไม่เกิน 30% จากรายรับรวมทั้งหมดของแต่ละเดือน โดยทั้งนี้ จะต้องให้ลูกหนี้เหลือเงินเอาไว้ใช้สำหรับการดำรงชีพไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท (หนึ่งหมื่นบาท)
ยกตัวอย่างเช่น
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 9,500.-บาท จะอายัดไม่ได้เลย เพราะถือว่ามีรายได้น้อยกว่า 10,000.-บาท ตามที่กฏหมายกำหนด
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 10,200.-บาท จะสามารถอายัดได้เพียงแค่ 200.-บาทเท่านั้น เพราะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้เอาไว้ใช้สำหรับดำรงชีพไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท ตามที่กฏหมายกำหนด
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 10,900.-บาท จะสามารถอายัดได้เพียงแค่ 900.-บาทเท่านั้น เพราะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้เอาไว้ใช้สำหรับดำรงชีพไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท ตามที่กฏหมายกำหนด
* หากลูกหนี้มีรายรับรวมทั้งหมดของเดือน = 15,000.-บาท สามารถอายัดได้ 4,500.-บาท(คิดจาก 30% ของรายรับที่ 15,000.-บาท) โดยลูกหนี้จะเหลือเงินเอาไว้ใช้สำหรับดำรงชีพ 10,500.-บาท ซึ่งเหลือเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดแล้ว จึงสามารถอายัดได้เต็มจำนวนที่ 30%
- หากลูกหนี้ มีเจ้าหนี้หลายราย การอายัดเงินเดือนจะสามารถอายัดได้ทีละรายเท่านั้น
กล่าวคือหากมีเจ้าหนี้รายใด มายื่นเรื่องอายัดเงินเดือนก่อน ก็ได้อายัดเงินเดือน(สูงสุดไม่เกิน 30%)ไปก่อนเป็นรายแรก ส่วนเจ้าหนี้รายอื่นๆที่เหลือ หากมายื่นเรื่องในภายหลัง ก็ต้องรอให้เจ้าหนี้รายแรกอายัดเงินเดือนให้หมดหนี้เสียก่อน แล้วถึงจะสามารถอายัดเป็นรายต่อไปได้
(ใครมายื่นเรื่องก่อน ก็ได้เงินเดือนไปก่อนเป็นคิวแรก ใครมายื่นเรื่องทีหลัง ก็ต้อง“เข้าแถว”รอคิวต่อไป จนกว่าจะหมดหนี้)
หากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถไปอ่านต่อได้ในกระทู้นี้
เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน
www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=12878&catid=3
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น