ภาษีกับการขายบ้าน
หา
อุทกภัยเมื่อปี 54 ที่ผ่านมา
เป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เราหลายๆ
คนคิดจะขายบ้านเก่าแล้วไปซื้อใหม่
บ้างก็ด้วยเหตุผลที่ว่าบ้านเดิมของตนนั้นตั้งอยู่บนทางน้ำผ่าน
กลัวจะท่วมอีก
บ้างก็มีเหตุผลว่าน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมามันหนักหนาจนการซ่อมบ้านนั้นเป็นตัว
เลือกที่ได้ไม่คุ้มเสีย
ว่าแล้วก็ตั้งใจจะขายบ้านแล้วไปหาบ้านใหม่ให้ไกลน้ำท่วมเพื่อความสบายใจ
หลายคนคาดหวังกับการขายบ้านว่าจะได้เงินมาเป็นทุนในการซื้อบ้านใหม่
แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อต้องเจอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่เกิดขึ้นจากการขายบ้านเดิม เรียกว่า “ภาษีจากการขายบ้าน”
ซึ่งจะทำให้เงินที่ได้จากการขายบ้านลดน้อยลงกว่าที่คาดไว้
ส่งผลให้มีทุนในการซื้อบ้านใหม่น้อยลง ต้องควักเนื้อตัวเองมากขึ้น ดังนั้น
วันนี้เรามาดูกันสักนิดว่า “ภาษีจากการขายบ้าน” มีอะไรบ้าง
1. ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย
การขายบ้าน ทำให้เกิด “รายได้”
ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ทั้งนี้
ผู้ขายสามารถนำจำนวนปีที่ถือครองบ้านมาคำนวณหักค่าใช่จ่ายได้ดังนี้% ส่วน เงินได้ตั้งแต่ 500,001 ถึง 1 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 20% ใน
ส่วนนี้ ขอให้จำไว้นะครับว่า หากเราเสียภาษี ณ
ที่จ่ายที่สำนักงานที่ดินแล้ว
ไม่จำเป็นต้องนำรายได้จากการขายบ้านไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีอีกครับ
จำนวนปีที่ถือครองบ้าน
|
หักค่าใช้จ่าย (%)
|
1
|
92
|
2
|
84
|
3
|
77
|
4
|
71
|
5
|
65
|
6
|
60
|
7
|
55
|
8 ขึ้นไป
|
50
|
วิธีนับจำนวนปีถือครองนั้น ยึดหลักตามปี พ.ศ. ยกตัวอย่างเช่น ซื้อบ้านวันที่ 1 ธันวาคม 2553 และขายวันที่ 10 มกราคม 2555 เท่ากับจำนวนปีถือครอง 3 ปี สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 77% สมมติ
ว่าราคาขายบ้านตั้งไว้ที่ 10 ล้านบาท โดยกรมที่ดินประเมินให้ 9 ล้าน
เจ้าของบ้านต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่ายดังนี้
ราคาประเมิน
|
9,000,000 บาท
|
หัก – ค่าใช้จ่ายเหมา (ถือครอง 3 ปี หักได้ 77%)
|
6,930,000 บาท
|
คงเหลือ
|
2,070,000 บาท
|
หาร – ปีที่ถือครอง (2,070,000 ÷ 3)
|
690,000 บาท
|
คำนวณภาษี
- 100,000 แรก × 5%
- 400,000 × 10%
- 190,000 × 20%
|
83,000 บาท
|
ภาษี ณ ที่จ่าย (ภาษี × จำนวนปีที่ถือครอง)
|
249,000 บาท
|
จาก
ตัวอย่างข้างต้น
จะเห็นได้ว่าการคำนวณภาษีจากการขายบ้านจะแตกต่างจากการคำนวณภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาประเภทอื่น นั่นคือ จะไม่มีการยกเว้นภาษีเงินได้สุทธิ 150,000
บาทแรก เนื่องจากไม่ใช่การคำนวณเงินได้จากเงินได้สุทธิ ส่งผลให้เงินได้
100,000 บาทแรกต้องเสียภาษี 5,000 บาท ส่วนเงินได้ตั้งแต่ 200,000 ถึง
500,000 บาท ต้องเสียภาษีที่อัตรา 10
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษี
ประเภทนี้เป็นภาษีที่จะคิดในกรณีที่บ้านที่เราขายนั้น เราถือครองมาไม่ถึง 5
ปีครับ โดยนับตั้งแต่วันที่รับโอนบ้านมา
ซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะนี้จะคิดอยู่ที่อัตรา 3.3% ของราคาขายจริงหรือราคาประเมิน แล้วแต่ว่าราคาไหนสูงกว่ากันก็ให้ใช้ราคานั้นคำนวณ
ตัวอย่าง
เช่นกรณีที่กล่าวไปในข้อแรก หากเราขายบ้านในราคา 10 ล้านบาท
โดยมีราคาประเมินอยู่ที่ 9 ล้านบาท และเราถือครองบ้านหลังนั้นมา 3 ปี
(น้อยกว่า 5 ปี) เราจึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3% โดยคำนวณจากราคาขายจริง (เพราะราคาสูงกว่าราคาประเมิน) ดังนั้น เราจึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 330,000 บาทครับ
ทั้งนี้ นอกจากเงื่อนไขถือครองบ้านไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มเติม ดังนี้ครับ
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 ปี ที่ได้รับโดนบ้านหลังนั้นมา
- ถูกเวนคืนบ้านหรือที่ดิน
- ขายบ้านหรือที่ดินที่ได้มาโดยมรดก
3. อากรแสตมป์
รายรับจากการขายบ้านหรือที่ดินนั้น จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน ซึ่งในกรณีตัวอย่างข้างต้น ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 45,000 บาท (0.5 x 9,000,000)
อย่างไรก็ตาม หากมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว
จะได้รับการยกเว้นการเสียค่าอากรแสตมป์ หรือสรุปได้ว่า เมื่อเราขายบ้าน
ก็จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือค่าอากรแสตมป์อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเองครับ
4. ค่าธรรมเนียมการโอน
อัตราค่าธรรมเนียมกาโอนของกรมที่ดิน คิดอยู่ที่ 2% ของราคาประเมิน ซึ่งในกรณีตัวอย่างข้างต้น เราจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน 180,000 บาท (0.2 x 9,000,000)
จะเห็นได้ว่า
จาก 4 ข้อที่กล่าวมานั้น รวมแล้วหากเราขายบ้านในราคา 10 ล้านบาท และมีราคาประเมินอยู่ที่ 9 ล้านบาท เราจะต้องจ่าย “ภาษีจากการขายบ้าน” ถึง 759,000 บาท หรือคิดเป็น 7.59% ของราคาขาย (ในกรณีต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ) หรือเสียขั้นต่ำอยู่ที่ 474,000 บาท คิดเป็น 4.74% ของราคาขาย (ในกรณีไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงต้องเสียค่าอากรแสตมป์) ซึ่งก็นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ไม่น้อยเลยนะครับ
และนี่แหละครับ “ภาษีที่ควรรู้ ก่อนคิดขายบ้าน”
ที่นำมาฝากกันในวันนี้
หวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้ทุกคนตัดสินใจได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้นนะครับ ทั้งนี้
ใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเงิน
สามารถส่งอีเมล์มาปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินของเราได้โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ k-weplan@kasikornbank.com ครับ หรือใครอยากอ่านสาระดีๆ ทุกเรื่องการเงิน ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ www.k-weplan.com ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น