บทความ

ข้อคิดในการจัดการเงินสำหรับปี 2561 by คุณวรวรรณ ธาราภูมิ

เป็นเรื่องปกติ ที่ในทุกๆ ปลายปี จะมาให้ข้อคิดเพื่อวางแผนการเงินส่วนบุคคลและครอ บครัว เพื่อ 1. ให้รู้จักวางแผนการเงิน 2. ให้ทบทวนสถานะครอบครัวและการเงินที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละปี และ 3. หากมีแผนการเงินแล้ว มีพอร์ตลงทุนของตนที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเตือนให้รู้จักปรับสมดุลย์ (Rebalancing) สัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงินของแต่ละคน 1. จัดทำแผนรายได้ ค่าใช้จ่าย ประจำปี 2561 ------------------------------------------------------ เราต้องเริ่มจากการทำบัญชีรับจ่ายของเราและครอบครัวที่อยู่ในอุปการะของเรา โดยแยกเป็นรายเดือน เพราะเมื่อรู้ที่มาของเงินได้ กับรู้ว่าเงินเราจะออกไปจ่ายทางไหนได้บ้างแล้ว เราจะเห็นฐานะทางการเงินของเราในวันนี้และในอนาคต ทำให้เริ่มพิจารณาได้ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้มีเงินออมสะสมไปลงทุนทุกเดือน เราใช้จ่ายอะไรบ้าง อะไรควรลด เราจะหารายได้เพิ่มได้ไหม ทั้งนี้ อย่าลืมใส่รายการผ่อนชำระหนี้ และดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย (ถ้ามี) นอกจากนี้ก็ให้ใส่รายจ่ายขาจรที่ไม่ได้เกิดประจำเป็นรายเดือน เช่น ค่าส่วนกลางที่พักอาศัย ค่าเล่าเรียนบุตร เบี้ยประกันชีวิตและประกันภัย ค่าธรรมเนียม

ประสบการณ์ซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี

ประสบก ารณ์ซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี สืบเนืองจากความต้องการหาที่ดินผืนเล็กๆ ใกล้ๆตัวเมือง ทางจังหวัดภาคเหนือ เลยให้เพื่อนที่อยู่ทางโน้นช่วยดูให้ ไปเจอที่จากกรมบังคับคดีเข้าแปลงหนึ่ง อยู่ไกลตัวเมืองไป 5 กม เนื้อที่ 100 ตรว เป็นที่ถมแล้ว ถนนดี  เมื่อเพื่อนบอกมา ผมเลยให้รุ่นน้องที่รู้จักกันเขาเป็นเซลล์ขายของทางภาคเหนือ ต้องวิ่งไปวิ่งมาหลายจังหวัด ไปดูห้อง พร้อมกับสืบราคาขายแถวๆนั้น บริเวณนั้นจะอยู่ในเขตเทศบาลตำบล มีคนบอกขายที่งานละ 900,000  ผมก็เลยตัดสินใจเข้าร่วมประมูล  อันดับแรก เพื่อนให้ดูก่อนว่าใครเป็นโจทก์ ใครเป็นจำเลย  ปรากฏว่าโจทก์คือ ธนาคาร ครับ ส่วนจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา ผมจึงติดต่อไปที่ธนาคาร เพื่อสอบถามข้อมูล และถาม ธนาคารว่าเขาต้องการปล่อยที่ราคาเท่าไหร่ ซึ่งตอนแรก เขาไม่ยอมบอก บอกแต่ว่าจะนำเข้าไปคุยกับนายก่อน ผ่านไปสามวันผมก็โทรไปถามอีกครั้ง เขาบอกว่า แบงค์จะปล่อยที่ สามแสนบาท  ผมเลยถามว่าแล้วลูกหนึ้ จะคัดค้านหรือไม่ ซึ่งทางแบงค์ก็คาดการณ์ว่าคงไม่เพราะลูกหนึ้มีหนึ้มาก และตอนนี้หนีไปอยู่ภูเก็ตแล้ว  ตอนเย็นมาเล่าต่อนะครับไปทำงานก่อน  ทีนี้ผมก็หาข้อมูลจากห้องชายคามั่ง

เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อเกษียณก่อนวัยอันควร

ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา แนวโน้มความสนใจของคนรุ่นใหม่ อยากรวยเร็วและเกษียณกันเร็วขึ้น จากแต่ก่อนต้องมีอายุ 55 หรือ 60 ปีนั่นแหละถึงจะเกษียณ ความสนใจตรงนี้ สะท้อนได้จากกองทัพหนังสือคู่มือความรวยที่วางขายกันเกลื่อน การเติบโตขึ้นของขนาดมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม และการเพิ่มขึ้นของผู้ทำประกันชีวิต แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปที่คุณจะวางมือจากหน้าที่การงานเร็วกว่าปกติ ขอเพียงแค่วางแผนเพื่อเตรียมพร้อมกับชีวิตแบบนี้ให้ Fundamentals ฉบับนี้มีเรื่องการวางแผนเกษียณก่อนกำหนดมานำเสนอ เผื่อว่าใครสนใจจะเกษียณอายุการทำงานตั้งแต่ยังไม่แก่ จะได้รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง *************** วางแผนออมให้เพียงพอในช่วงชีวิตที่เหลือ ถ้าอยากจะเกษียณ ตอนอายุ 55 หรือเร็วกว่า 55 จะต้องทำอย่างไร ??? แม้คนส่วนใหญ่จะวางแผนเกษียณตามปกติเมื่ออายุ 60 แต่ควรเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องคิดว่า ถ้าต้องเกษียณก่อนกำหนดที่วางแผนไว้ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพราะในสภาพการทำงานปัจจุบัน เราอาจจะไม่ได้เป็นผู้เลือกเองว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไร เพราะบางทีอาจจะถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องเกษียณ หรือเลิกทำงานเร็วกว่าที่คาดไว้

บ้านที่กู้ร่วม หรือ ผ่อนอยู่ ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิตจะโดนยึดหรือไม่

ดิฉันมีปัญญามากเลยค่ะเนื่องจากเราทำงานคนเดียวและปัญหาเกี่ยวกับหนี้เครดิตทั้งหลายจะทำยังไงดีค่ะขอปรีกษาหน่อยค่ะ ขอความกรุณาเพื่อนและพี่ที่รู้ช่วยให้แสงหน่อยนะค่ะ ดิฉันแนบ file มาด้วยเกี่ยวกับตารางนี้ว่าสมควรจะทำอย่างไร และมีคำถามว่า 1. เกี่ยวกับการยึดของในบ้าน ถ้าเราหย่ากับสามีและเปลี่ยนชื่อให้สามีเป็นเจ้าบ้านจะโดนยึดอีกหรือไม่ค่ะเพราะพึงหยุดจ่ายเดือนแรก โทรกระหน่ำเลยค่ะ 2. เกี่ยวกับเรื่องการยึดบ้าน ถ้าราคาบ้านตอนนี้คงประมาณ 650000 ได้แต่เป็นหนี้บ้านอยู่ที่ 450000 แต่ตอนซือราคา 540000 จะถูกยึดไม่ค่ะ กรณีถ้าหย่ากับสามี เขาเป็นผู้กู้ร่วมเขามีสิทธิ์ ต้องแบ่งครึ่งหนึ่งก่อนหรือเปล่าค่ะ ที่เจ้าหนี้จะยึดได้ช่วยตอบหน่อย นะค่ะ เข้าไปอ่านที่กระทู้ปักหมุดไม่เข้าใจเพราะไม่มีกรณีที่ต้องการรู้ช่วยตอบหน่อยนะค่ะถ้าใครขอบคุณมากค่ะ                 QUOTE: 1. เกี่ยวกับการยึดของในบ้าน ถ้าเราหย่ากับสามีและเปลี่ยนชื่อให้สามีเป็นเจ้าบ้านจะโดนยึดอีกหรือไม่ค่ะ หากมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ แต่คุณยังเพิกเฉย และเจ้าหนี้สืบทราบได้ว่าคุณครอบครองทรัพย์สินใดใดอยู่ ไม่ว่าจะหย่าหรือไม่หย่า มันไม่เกี่ยวก

ไม่ถึง 1 ปี เป็นหนี้บัตรเครดิต 1 ล้าน รู้ตัวอีกทีเป็นโรคซึมเศร้าเกือบฆ่าตัวตาย

ปีที่แล้วพึ่งตั้งกระทู้ไป ปีนี้มีเรื่องมาเตือนใจเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เรื่องบัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสดครับ เรื่องมีอยุ่ว่า 1. เมื่อต้นปีผมทำบัตรเครดิต และ บัตรกด เงินสด รวม 6 ใบ ใบละ 150,000 ถึง 200,000 รวมเป็นเงิน 1 ล้านบาทพอดี ในตอนนั้นคิดว่าลองสมัครไปดูหลายๆที่ ประมาณ 9 ที่พร้อมๆกัน (เพราะพึ่งหลุดจากแบล๊กลิสต์) ปรากฏว่า ผ่านทั้งหมด 6 ใบ อีก 3 ไม่ผ่านผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไรแต่เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับเครดิตบูโร ในใจคิดว่าเอาไว้ใช้จ่ายฉุกเฉิน เพราะบัตรแต่ละใบที่สมัครไม่เสียรายปี แค่เพียงใช้ยอดถึงที่กำหนด 2. ตอนได้มาใบแรก ผมก็รูดไปเที่ยวต่างประเทศเลย ซึ่งตอนนั้นพึ่งจ่ายหนี้หมด เหลือแค่ผ่อนรถ กับให้เงินที่บ้านเท่านั้น ผมรูดซื้อของที่อยากซื้อ ไปเที่ยวทุกที่ที่อยากไป แค่เดือนแรก ผมรูดไป 2 แสนกว่าบาท ตอนนั้นยังคิดว่าชิวๆ จ่ายขั้นต่ำแค่เดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท แปบเดียวก็หมด ผมพาทั้งครอบครัวไปเที่ยวต่างประเทศ พ่อ แม่ และน้องของผม ซึ่งตอนนั้นรู้สึกมีความสุขมากๆครับ หลังจากที่ผ่านเรื่องเลวร้ายอะไรมาเยอะ 3. ตอนไปเที่ยวต่างประเทศ ก็รูดซื้อของให้ที่บ้าน พาไปกินอาหารขึ้นชื่อ สถานที่ดังๆ คือผ

บัตรเสริมบัตรหลัก ใครต้องรับผิดชอบเมื่อถูกฟ้อง

สามีมีบัตร Hsbc ดิฉันเป็นบัตรเสริม ที่ผ่านมาก้อปกติมาตลอด จนกระทั่งสามีเสียชีวิต ดิฉัน ก้อยังใช้บัตรเสริมไปเรื่อย ๆ และชำระด้วยดีตลอด เกิดเหตุที่ดิฉันส่งเงินเข้าไม่ทันกำหนด เค้า ก้อตามที่สามีดิฉัน และพบว่าสามีดิฉันเสียแล้ว เค้าได้ค้นหาเบอร์ของดิฉัน และติดต่อดิฉัน ซึ่ง ดิฉันก้อบอกไปตามจริงว่าสามีเสียไปแล้ว และเค้าก้อขอปิดบัตร พร้อมทั้งขอสำเนาใบมรณะบัตร ดิฉันก้อส่งไปให้ ซึ่งนับจากนั้นดิฉันไม่ได้ส่งเงินเข้าอีกเลย และพยายามต่อรองเพื่อผ่อนผัน ชำระหนี้ อ้อ หนี้บัตรมีประมาณ 7 หมื่น โดยขอชำระเดือนล่ะ 5 พัน แต่ขอให้ระงับดอกเบี้ย เค้าก้อ บอกไม่ได้ เค้าก้อติดต่อมาเรื่อย ๆ ดิฉันก้อพยายามขอผ่อนผันเรื่อย ๆ จนกระทั่งเมื่อต้นเดือน เมย. 52 หนี้ได้เพิ่มเป็น 8 หมื่น เค้ายอมลดให้ครึ่งหนึ่ง คือประมาณ 4 หมื่น ประจวบกับเพื่อน ที่เคยยืมเงินดิฉันไปจะคืนเงินให้ ดิฉันจึงตกปากรับคำจะนำเงินไปชำระในวันที่ 20 เมย. 52 แต่ปรากฎว่าเพื่อนดิฉันประสบเหตุในเหตุการณ์เสื้อแดง และป่วยอยุ่ใน รพ. ทำให้ยังไม่สามารถ คืนเงินดิฉันได้ ดิฉันก้อไม่มีเงินไปคืนให้ ในกรณีนี้ดิฉันจะทำอย่างไรดี ซึ่งดิฉันไม่มีเงินพอที