Do and Don'ts เมื่อทำอพาร์ทเม้นต์

ขอควรระวังในการทำอพาร์ทเมนท์มีอะไรบ้าง

1. สัดส่วนเงินกู้ควรต่ำกว่าร้อยละห้าสิบให้มากที่สุด เพราะมีงบบานปลาย
อีกมากในระยะยาว ต้องซ่อมแซมเสมอ เช่น น้ำไม่ไหล ท่อตัน ประตูเสีย
เปิดกลอนประตูไม่ได้ ไฟฟ้าเสีย หลอดขาด เตียงพัง โต๊ะชำรุด ปั้มน้ำไม่ขึ้น
โทรศัพท์แบบตู้ชุมสาย อย่าไปติดเปลืองตัง ไม่มีใครโทรด้วย เพราะใช้มือ
ถือถูกกว่ามาก แล้วต้องมา add เบอร์/หมายเลขที่โทรออก ในรหัสเดียวกัน
ถ้าเกินกว่าห้าสิบกิโลเมตร จะคิดนาทีละสามบาท บวกเข้าในบิลโทรศัพท์
TOT เขียนไว้ส่วนใหญ่จะไม่ได้อ่าน เจอกับของตนเองสมัยก่อน เดี๋ยวนี้
เลยปิดระบบโทรศัพท์ตู้ชุมสาย ไปเลยรับอย่างเดียว โทรออกผ่านบัตร 108
ขายบัตรอย่างเดียว แทบไม่คุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือน ทรัพย์สินส่วนกลาง
และในห้องพัก มีโอกาสบุบสลาย/พังง่าย เพราะไม่ใช่เจ้าของไม่ดูแล
อยู่แล้ว เว้นแต่ตั้งกฎค่าปรับ/ค่าเสียหายแพง ๆ

2. ห้องน้ำรวมหรือแยกแต่ละห้อง ถ้าแยกห้องน้ำแต่ละห้องต้องติดมิเตอร์น้ำ
เพราะถ้าไม่ติดเจอแน่ เปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดวัน ค่าน้ำเดือนนั้นบานเบอะ ติด
ประตูน้ำไว้แยกแต่ละห้องด้วย เผื่อเวลาแก้ไขหรือซ่อมแซม

3. โถส้วมควรใช้แบบราดน้ำ หรือแบบฟลัสวาล์ว(แบบก้านกดมือ) จะดีกว่า
แบบชักโครก เพราะน้ำรั่วน้ำซึมผู้พักจะมักไม่แจ้งให้ทราบ น้ำไหลมาก
กว่าจะรู้ก็หลายต้งค์ เพราะมิเตอร์น้ำจะแทบไม่กระดิกเลย

4.หามิเตอร์น้ำของซันวาดีกว่าของจีนแดง เพราะใช้ได้นานได้ทนกว่ามาก

5.มิเตอร์ไฟฟ้า เลือกของดีๆ หน่อย ของจีนแดงใช้ไม่กี่ทีก็พัง อันตรายด้วย

6.ถ้าอยู่เองด้วย ยามไม่จำเป็น ติดกล้องวงจรปิดไว้และคีย์การ์ด
เพื่อความปลอดภัยตัวเราเองและลูกค้า แม่บ้านถ้าไม่จ้างก็ประหยัดไปมาก
ถ้าจ้างก็เป็นค่าใช้จ่ายเราเอง มีลูกค้าไม่มีลูกค้าก็ต้องจ่ายอยู่แล้ว เว้นแต่จะ
จ้างแบบรายวัน/ชั่วคราว

7. ถ้ามีที่จอดรถของลูกค้าให้แขวนป้ายบอกแบบฟาร์มโชคชัยว่า บริการให้
ที่จอดรถเท่านั้น เจ้าของรถต้องรับผิดชอบในความสูญเสียหรือบุบสลายของ
รถและทรัพย์สินภายในรถเอง
มิฉะนั้นจะมาเรียกร้องหรืองอแงภายหลังว่า เช่าห้องแล้วทำไมไม่ดูแลรถ
ให้ดี และต้องจ่ายค่าเสียหาย/สูญหายของรถ แบบว่าพวกหัวหมอ
เลยตอกไปว่าค่าเช่าเดือนสามสี่พัน มาจ่ายค่ารถคันเป็นล้านหรือคันสี่หมื่น
คุณมาทำเองไหมละ ถ้าแน่จริงจ่ายเดือนละสามสี่หมื่น จะนอนเฝ้าให้
ทั้งวันทั้งคืนเลย ตาไม่มีหรือไง ทำไมไม่ดูประกาศกับที่ระบุไว้ในสัญญา

8. ภาษีเงินได้ปลายปีต้องชำระ จะแบบเหมาจ่ายหรือหักรายจ่ายก็ได้
แล้วแต่แบบไหนจะจ่ายต่ำกว่า และสรรพากรยินยอม

9. ภาษีโรงเรือนเฉลี่ยปีละ 1.5 เดือนของรายได้ที่แจ้งเทศบาลหรือกรุงเทพฯ
แจ้งมากก็เสียมาก และต้องแจ้งห้องว่างทุก ๆ เดือนด้วย มิฉะนั้นแกจะตีว่า
เต็มทุกเดือนภาษีจะหลายตัง

10. ให้แยกค่าห้องพัก ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าเฟอร์นิเจอร์ ออกต่างหากกัน
ในใบเสร็จ มิฉะนั้นเทศบาลแกจะตีว่าเป็นรายได้หมด จะถูกเก็บภาษีตามข้อ
9. ข้างบน

11. ควรไปเรียนรู้ช่างไฟฟ้า ประปา ช่างไม้ เบื้องต้นด้วย เพราะงานบางอย่าง
หาช่างมาทำได้ยากมาก ไม่มาด้วย เพราะงานจุกจิก คิดแพงก็ถูกด่า
คิดถูกก็ไม่คุ้มกับเวลาที่มาทำงาน และให้ดีควรมีช่างสนิท ๆ ประจำไว้จะดี
เวลาจำเป็นจะตามตัวมาช่วยแก้ไขได้ง่าย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

ประสบการณ์ไปศาลคดี บัตรเครดิต UOB

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต