บทความ

10 บทเรียนที่ได้รับจากการลาออกจากงาน ภาค 2

ต่อนะครับ 6. เราสามารถสร้างกฎเกณฑ์ของตัวเองได้ คนอื่นอาจจะว่าบ้า ถ้าเกิดเราจะเลิกทำงานประจำที่มั่นคง ชีวิตในคอนโดแสนสุขสบาย รายได้ที่โอเคเพื่อไปทำสิ่งที่เรียกว่า “ ไม่มั่นคง ” ในสายตาคนอื่น อย่างพนักงานฟรีแลนซ์ หรือ ครูสอนเปียโน? พูดกันตามตรงมันก็ดูบ้าเหมือนกันนะ แม้จะมีคนหลายคนเลือกทำแบบนี้ แต่เหมือนสังคมเราจะให้ค่า “ ความมั่นคง ” มากกว่า “ความสุขในชีวิต” ทุกอย่างอยู่ที่เราเลือกเอง เราทุกคนสร้างกฎเกณฑ์ของชีวิตเราได้เสมอ  ถ้ามันไม่เดือดร้อนคนอื่น คุณไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเหมือนใคร และใครๆก็ไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบคุณด้วย คนเราทุกคนมีสิทธ์เลือกทางเดินของตนเอง 7. เมื่อไม่มีใครออกคำสั่งเรา เราก็ต้องทำเอง ตอนที่คนเราทำงานประจำ เรามักจะมีผู้บังคับบัญชา ซึ่งหลายครั้งเราก็แค่ทำตามที่เขามอบหมายงานมาเท่านั้น ไม่มากไปกว่านี้ และนั่นทำให้เราเคยชินกับกิจวัตรแบบเดิมๆ ที่ไม่ต้องบังคับตัวเองเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวงานก็บีบบังคับเราเอง ต่อให้เราไม่อยากทำหรือขี้เกียจแค่ไหน แต่ความกลัวที่มีต่อเจ้านายก็จะทำให้ลุกขึ้นมาทำงานเอง แต่เมื่อเราออกมาเริ่มต้นชีวิตอิสระ ภายใต้การควบคุมของเรา ไม่มีใครออกคำสั่งเราแล้ว เ

10 บทเรียนที่ได้รับจากการลาออกจากงาน

รูปภาพ
ชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และหลายครั้งที่เราทุกคนเกิดความรู้สึกเคว้งคว้างและหลงทาง เพราะถูกสังคมบีบคั้นด้วยกฎของการใช้ชีวิตที่เราทุกคนไม่ได้กำหนด แต่เราก็ต้องเดินตามกันไปเพียงเพราะสังคมเขาทำแบบไหนเขาคาดหวังอะไรจากเรา เราก็เลยทำแบบนั้น บางครั้งเราก็ทำสำเร็จ แต่หลายๆครั้งก็ไม่เป็นอย่างใจ ท้ายที่สุด สิ่งที่เหลือในใจของเราก็คือความผิดหวังและความรู้สึกว่า “ล้มเหลว” ปัญหาของผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นเรื่องงาน เพราะในทุกวันนอกจากการนอนหลับพักผ่อน เราก็ใช้เวลาวันละอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงในการทำงานของเรา ไม่รวมถึงคนที่เป็นเจ้าของกิจการที่อาจทำงานมากกว่านี้จนแทบไม่ได้พักผ่อน สุดท้าย เรามักจะมีคำถามกับตัวเองเสมอว่า  “นี่คืองานที่ใช่สำหรับเราหรือเปล่า?”   “นี่เรากำลังทำอะไรอยู่?”   “เรามีความสามารถมากพอที่จะสร้างรายได้และความสำเร็จมากกว่านี้ไหม?” เชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในวัยทำงานต้องมีคำถามนี้ในใจอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่ปัญหารุมเร้าจนเรารู้สึกท้อถอย แต่คนส่วนใหญ่มักติดอยู่ใน Comfort Zone หรือ พื้นที่สบาย เลยไม่กล้าทำอะไรกับมัน แม้เราจะรู้ว่า  สุดท้ายสิ่งที่เรากำลังทำมันก็ไม่ใช่ตัวเราอยู่ดี

เมื่องานที่ทำ กับ ตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไม่ตรงกัน

ากหนังสือ How Love the Job You hate. ผู้เขียนพบ Bob ตอนที่เขามาเป็นเพื่อนลูกชายในการสัมมนาเพื่อเตรียมตัวสอบเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ โดยหวังว่าลูกชายจะได้งาที่มั่นคงUละรายได้ดีเหมือนตัวเขา เมื่อหัวข้อการถกเถึยงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เขาได้เล่าเรื่องส่วนตัวของเขาให้คนในกลุ่มฟัง ในช่วงปี 60 บ๊อบต้องต่อสู้ดิ้นราหาเงินเลี้ยงครอบครัวขนาดใหญ่ เส้นทางชีวิตของเขาเปลี่ยนไปเมื่อทางการเรียกตัวให้ไปทดลองงานในตำแหน่งช่างประปา หลังจากผ่านช่วงทดลองงาน เขาได้รับการบรรจุโดยได้ค่าแรงเ พิ่มเป็นเท่าตัวจากที่เคยได้มาก่อน พร้อมกับสิทธิ์การลาป่วยและพักร้อนอย่างที่เคยอยุ่แต่ในความฝัน เพียงไม่กี่เดือน หลังจากภรรยาคลอดลุกสาวคนสุดท้อง เขาก็สามารถซ์้อบ้านหลังใหญ่สำหรับครอบครัวที่ประกอบด้วยภรรยากับลุก 8 คน บ๊อบยังเป็นนักดนตรีอีกด้วย นี่คือสิ่งที่เขาถวิลหาโดยแท้ เขามีความสุขกับการเล่นดนตรีต่อหน้าคนดูเยอะๆ และการเขียนเพลงร่วมกับเพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย การที่ได้รู้ว่าอาชีพช่างประปามีผลทำให้เขาเกิดความเหงาแลเบื่อหน่ายกลายเป็นเรื่องที่หลายคนประหลาดใจ เพาะไม่ว่าจะมองในมุมใ

คอนโดเก่า จากผู้เช่า เป็นผู้จัดการนิติ ตอนที่ ๔

คอนโดเก่า จากผู้เช่า เป็นผู้จัดการนิติ ตอนที่ ๔ เมื่อมีกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เราก็ทำที่ใต้ถุนคอนโดนั้นเอง โดยที่ท่านประธานและผู้จัดการได้ทำการออกจดหมายเรียกลุกบ้าน (ก็เจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารชุดในคอนโดนั่นแหละ) ต้องมีการส่งแบบจดหมายลงทะเบียน โดยการไปคัดลอกที่อยู่มาจากกรมที่ดิน และให้เจ้าของห้องที่อาศัยอยู่ลงชื่อรับเอกสารเมื่อมีพนักงานนิติฯเป็นคนเอาเอกสารไปส่งและให้เซนต์ชื่อทันที ที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อป้องกันคนหัวหมอ บอกว่า ไม่ได้รับเอกสาร แล้วการประชุมจะเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฏหมายได้ เพื่อป้องกันป้าแต๋วไม่ให้กลับมาเป็นผู้จัดการนิติอีก ทางคณะกรรมการเลยออกกฏ ว่า ผู้จัดการต้องเป็นเจ้าของห้องเท่านั้น และไม่ต้องคดีความ จริงๆแล้วอันนี้กรรมการจะแก้ระเบียบคอนโดตามอำเภอใจไมได้ ต้องแก้ตามมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม กรรมการชุดนี้ลาออกทั้งหมด แต่คนที่ไม่อยากให้ป้าแต๋วเข้ามาก็ฟอร์มทีม รวมตัวกัน ขอคะแนนเสียงกัน  ฝ่ายป้าแต๋วก็มิได้นิ่งนอนใจ ปล่อยข่าวผ่านทางเจ้าของห้อง ซึ่งก็คือร้านทำผม สร้างกระแสว่าอีกฝ่ายสูบเงินกองกลางไปจนหมด สมรภูมินี้สู้กันมันหยดเลยทีเดียว และแล้ววันเลือกตั้งก็มาถึง เรามีนัดกันวันอาทิตย์

คอนโดเก่า จากผู้เช่า สุ่ผู้จัดการนิติบุคคล ตอนที่ 3

เก่าไปใหม่มา หลังจากป้าแต๋วได้พ่ายแพ้ในสำหรับตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลฯ แต่ที่ประชุมได้เลือก จริงๆแล้วก็ไม่ได้เลือกคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด แต่มีคนเสนอตัวกันมา ๗ คน และไม่ต้องเลือกเพราะเป็นได้ถึง ๙ คน ซึ่งคณะกรรมการส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกของท่านประธาน ส่วนกรรมการชุดเก่าต่างเข็ดขยาดไม่อยากเป็นต่อ เลยไม่สมัคร บรรยากาศหลังเลิกประชุม บรรดาลูกบ้านต่างกลับจากโรงแรม ทางกรรมการชุดใหม่ได้เข้ามายึดอำนาจ ล็อคห้องทำงานของป้าแต๋ว ไม่ให้เข้าไม่ให้ออก แต่ก็สายไปเสียแล้ว เอกสารบางส่วนป้าแกได้นำออกไปแล้วเมื่อมารู้ภายหลัง  ในที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุบิน ซึ่งเป็นคนที่มีห้องในคอนโดมากเป็นสิบห้อง และปล่อยให้เช่า มาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการคอนโด และนายยุทธนาเป็นประธานคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด แต่เมื่อนำไปจดทะเบียนกับทางกรมที่ดินแล้วไม่สามารถทำได้เนืองจากตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พุทธศักราช ๒๕๕๑ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องได้รับคะแนะเสียง ๒๕ เปอร์เซนต์จากลูกบ้านทั้งหมด เมื่อไม่สามารถเป็นได้ ทางคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดต้องประชุมกันเพื่อเลือกผู้จัดการรักษาการ ผลที่ได้คือเลือกนายยุทธนาเป็นผู้จัดการนิติ ท

คอนโดเก่า จากคนเช่า จนเป็นผู้จัดการนิติบุคคล ภาค ๒

คอนโดเก่า จากคนเช่า จนเป็นผู้จัดการนิติบุคคล ภาค ๒ หลังจากทำห้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมก็ย้ายเข้ามาอยู่ ในช่วงนั้นเป็นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงปลายวาระการเป็นผู้จัดการคอนโดตามภาษาพูดของชาวคอนโดจะเรียกผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดว่า ผู้จัดการคอนโด ทางคณะกรรมการได้มีกำหนดให้มีการประชุมประจำปีเพื่อพิจาณาผลการดำเนินการและมีการเลือกตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลจากลูกบ้าน ป้าแต๋วซึ่งเป็นผู้จัดการก็ได้ออกหนังสือเชิญประชุม โดยคำสั่งของท่านประธานกรรมการนิติบุคคล ที่นี่มันมีเรื่องกันอยู่ว่า ทางท่านประธานและกรรมการบางท่านสงสัยว่าป้าแต๋วจะทุจริตในเรื่องของการฝากห้องให้เช่า และการซื้อขายคอนโด จึงมีการวิ่งเต้นล๊อบบี้ เพื่อที่จะโค่นป้าแต๋วลงให้ได้ ฝ่ายป้าแต๋วก็มีการปล่อยข่าวประมาณว่า ไม่เลือกเรา เขามาแน่ คือ ๒ ปี ก่อนที่ป้าแต๋วจะเข้ามา ทางลูกบ้านได้จ้างบริษัทเข้ามาบริหาร ซึ่งผู้จัดการคอนโดเป็นน้องของสามีเก่าป้าแต๋ว และเอาภรรยาคือพี่ซาร่ามาทำด้วย ตอนนั้นมีปัญหาเรื่องการทุกจริต ยักยอก อมเงิน รับเงินแล้วไม่เอาเงินเข้าบัญชี ลูกบ้านเลยต้องไปอัญเชิญป้าแต๋ว ซึ่งเคยทำงานกับบริษัทที่มารับจ้างบริหาร ก่อนโดนน้องสามีเขี่ย

คอนโดเก่า จากคนเช่า เป็นผู้จัดการนิติ

คอนโดเก่า จากคนเช่า เป็นผู้จัดการนิติ จากคนเช่า เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ภาค ๑  การซื้อคอนโดเก่ามือสอง คอนโดเก่าก็เร้าใจ เมื่อปี 2551 ผมได้ซื้อคอนโดเก่าอายุกว่า 16 ปี ตอนซื้อไม่ได้ขอดูโฉนดก่อนจึงไม่ทราบว่ามันเก่าถึงเพียงนี้ การขายดำเนินการโดยป้าผู้จัดการคอนโดซึ่งรับจ๊อบเป็นคนซื้อขายด้วย  ราคาที่บอกขายป้าแกบอก 750,000 ซึ่งสภาพห้องก็เน่ามาก ด้วยความที่ชอบรีโนเวท (ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดที่ไม่ประเมินราคาการปรับปรุงก่อนตัดสินใจซื้อ) ก็ได้ตกลงซื้อไป ที่นี่ปัญหาของคอนโดมือสอง มือสาม หรือมือสี่ ในการกู้ธนาคารก็คือ ราคาที่ซื้อขายส่วนมากจะสูงกว่าราคาประเมิน หรือได้ไม่เต็มวงเงินกู้  คอนโดที่ผมซื้อราคาประเมินของกรมธนารักษ์อยู่ที่ ตารางเมตรละ 15,000 มี 40 ตารางเมตร จึงเป็น 600,000  ที่นี่จะทำไงกันดี  ก็เลยทำสัญญาซื้อขายกันสองฉบับ ฉบับแรกทำไป 850,000 ไว้กู้ธนาคาร อีกฉบับทำไว้ 750,000 ตามราคาที่ตกลงจริงๆ ที่นี่ธนาคารปล่อยกู้ก็แค่ 70 – 80 เปอร์เซนต์ของราคาประเมิน หรือ ราคาซื้อขาย ขึ้นอยู่กับว่าอะไรจะสูงกว่ากัน  โชคดีที่ ธนาคารให้บริษัทมาประเมิน แต่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมิน ได้ราคาที่ 850,