บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2022

ประกันบำนาญสำหรับการวางแผนเกษียณ

  ประกันบำนาญสำหรับการวางแผนเกษียณ ในการวางแผนแหล่งรายได้หลังเกษียณ นอกเหนือจากบำนาญชราภาพจากระบบประกันสังคม และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว การใช้ประกันบำนาญก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวางแผนแหล่งรายได้หลังเกษียณ มานึกๆดูแล้ว พออายุเข้าเลข 6 เลข 7 การตามไปเก็บค่าเช่าบ้าน อาจจะไม่ไหว ความสามารถในการคิดวิเคราะห์การลงทุน ติดตามข่าวสารก็อาจจะน้อยลง   อะไรที่เคยไหวอาจจะไม่ไหว การจะไปแย่งซื้อพันธบัตรหุ้นกู้ที่เกรดดีๆ ดอกเบี้ยดีๆ อาจจะไม่ทันเขา ประกันบำนาญจะช่วยได้สำหรับการเตรียมเงินที่เป็นรายได้ที่แน่นอนหลังเกษียณ   ส่วนมากจะเป็นแบบที่จ่ายหลังอายุ 55 หรือ 60 ปี เราส่งเบี้ยประกันไปจนถึงอายุ 55 หรือ 60 หรือ บางแบบประกันก็มีแบบส่ง 5 ปี   10 ปี ก็มี พอถึงอายุ 55 หรือ 60   เราก็รับเงินเป็นรายปี หรือ รายเดือน ตามที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุผู้เอาประกัน และจำนวนเบี้ยที่ส่ง ล่าสุด มีลูกค้าท่านหนึ่ง   รู้สึกว่าการซื้อ rmf , ssf ที่เป็นหุ้นมีความเสี่ยงมากเกินไป และต้องการสร้างแหล่งรายได้หลักเกษียณ เป็นเงินบำนาญให้ตัวเอง   ก็คำนวณๆ แล้ว น่าจะได้เงินจากประกันบำนาญ ต่อเดื

ข้อผิดพลาดในการวางแผนการเงินแบบองค์รวม

  วางแผนการเงินแบบองค์รวม   ข้อผิดพลาด 1.      ลงทุนน้อย เลือกเครื่องมือไม่เหมาะสม ไม่ได้ใส่เงินลงทนต่อเนื่องตามแผน 2.      ไม่เข้าใจประกัน   ซื้อผิดแบบ ซื้อซ้ำซ้อน   ซื้อเยอะไป ซื่อน้อยไป ประเด็นน่าคิด Ø   ประกันติดโต๊ะ ไม่ใช่ประกันติดตัว   แต่ตัวเราอาจจะติดเตียงก่อน Ø   ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ไม่เหมาจ่าย Ø   เก็บเงินคุณไว้เอง ไม่ต้องทำประกัน ???? Ø   มีค่ารักษาพยาบาลแล้ว ไม่ต้องมีค่าชดเชยโรคร้ายแรง ??? Ø   ข้าราชการต้องมีประกันสุขภาพไหม Ø   ซื้อประกันสะสมทรัพย์ไว้ ไม่เหลือเงินไปลงทุนอื่นๆ Ø   ซื้อประกันที่จ่ายสั้นๆ ครบสัญญาเร็วๆ ดีหรือเปล่า Ø   Unit Linked คือ การลงทุน ??? Ø   พอร์ตการลงทุนใน Unit Linked ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย 3.      ไม่วางแผนส่งต่อมรดก ไม่ทำทะเบียนทรัพย์สิน ไม่มีพินัยกรรม เสียชีวิตกระทันหัน ไม่มีประกันชีวิตเพียงพอ ไม่มีการวางแผนส่งต่อมรดก   ภาษี ค่าโอนที่ดิน ไม่มีแผนสืบต่อกิจการ   ไม่มีทะเบียนทรัพย์สิน   ไม่ทำพินัยกรรม   ชีวิตคนเรามีหลายด้าน แต่ละด้านส่งผลเชื่อมโยงกัน   แผนการเงินจึงต้องออกแบบให้ครอบคลุม และรัดกุม   เราจะได้ใช

ความจริงเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินสำหรับการเกษียณ

  อามาฝากจากที่ไปฟังมา ความจริงเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินสำหรับการเกษียณ 1. สภาพคล่องที่เพียงพอสำคัญเมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน 2. อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน แม้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการขึ้นลง 3. การลงทุนที่หลอกลวงส่งผลเสียหายมาก ForexD สาหรีลี้รัก ฟาร์มเห็ดหอม ไม้ตะกู แชร์แม่ชะมัอย แม่มณี และอื่นๆอีกมากมาย 4. การจัดสรรให้ชัดเจนว่าทรัพย์สินส่วนไหนใช้สำหรับค่าใช้จ่ายใดในช่วงเกษียณ ช่วยทำให้สบายใจขึ้น 5. การควบคุมค่าใช้จ่ายทำได้ง่ายกว่าการควบคุมสถานะตลาดการลงทุน 6. การปรึกษามืออาชีพช่วยทำให้แผนการรัดกุมและมีการทบทวนอยู่อย่างสม่ำเสมอ จาก Leif capital .

วางแผนเกษียณพนักงานบริษัทเอกชน อาย 48

  หลังจากนัดกันหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ    แล้ววันหนึ่งก็นัดคุยกันได้ แบบเห็นหน้าเห็นตัวกัน ลูกค้าเป็นพนักงานบริหารระดับสูงบริษัทเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศ ปรึกษาเรื่องวางแผนเรื่องการวางแผนเกษียณ ตอนแรกคุณพี่ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเกษียณได้ตามแผนหรือไม่   เพราะไม่เคยคิดคำนวณว่าตัวเองต้องใช้เงินเท่าไหร่ เป็นเงินก้อน ณ วันที่ตัวเองต้องการเกษียณ ณ อายุ 55 พาคุยไปคุย อ้าวเฮ้ย เจ้แกมีพอนะ แต่ยังไม่ได้จัดระเบียบทรัพย์สินเท่านั้น หลักการคิดแบบง่ายๆ คร่าวๆ ก่อนคือ ตามไลฟ์สไตล์ตอนนี้ คุณพี่ใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ ไม่รวมผ่อนคอนโด   ก็อาจจะประมาณการจากปัจจุบันและปรับเงินเฟ้อ ไปเป็นประมาณการ คำนวณแล้วก็จะได้เงินที่ต้องมี ณ วันทีเกษียณมาก้อนหนึ่ง อย่างคร่าวๆ เป็น ภาพรวมไว้ก่อน Ø หลังจากนั้นเราก็มาหาสำรวจสินทรัพย์กันว่ามี สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเท่าไหร่   ไล่ไปตั้งแต่เงินสด เงินฝาก เงินสหกรณ์ หุ้นกู้ พันธบัตร   LTF , RMF ทองคำ   คอนโดให้เช่ามีมั้ย Ø เช็คกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่ามีเท่าไหร่ และอีก 7 ปี จะเป็นเท่าไหร่   คำนวณได้เป็นประมาณการ Ø เช็คอายุการทำงาน   คุณพี่ท่านนี้อายุงานเกิน 20 ปี

ข้อคิด การวางแผนการเงิน

  1. เป้าหมายเรื่องอื่นอาจจะไม่มีได้ แต่ทุกคนต้องมีเป้าหมายเกษียณ (เจ้าของกิจการสักวันไม่ไหวก็ต้องหยุด) 2. การวางแผนก่อนเกษียณและหลังเกษียณมีความแตกต่างกันมาก 3. ผู้ที่เกษียณแล้วส่วนใหญ่กลัวการสูญเสียเงินต้น 4. ระยะเวลาการลงทุนเหมือนจะสั้นแต่ยาวมาก 5. การจัดพอร์ตไม่ใช่ครั้งเดียวจบ 6. การลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นวิธีที่เหมาะสมกับผู้ที่เกษียณแล้ว ลดความเสี่ยง มีสภาพคล่องถ้าจะขาย 7. จะลงทุนยังไง ก็ต้องมีการบริหารสภาพคล่องอย่างสม่ำเสมอ 8. ทุกคนต้องมีโอกาสเจอความวิกฤตทางการเงินอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิตการลงทุน 9. การใช้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในการวางแผน หมายถึง ในแต่ละปีมีโอกาส 50% ที่จะได้ต่ำกว่านั้น

ก่อนเกษียณ อย่าลืม ทบทวนรายจ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ

รูปภาพ
  ก่อนเกษียณ 10-15 ปีควรทำอะไร 1 ในสิ่งที่ควรทำคือ ทบทวนรายจ่ายเกี่ยวกับสุ่ขภาพ ดูสุขภาพตัวเอง มีโรคประจำไหม ดีหรือไม่ดี และเงินสำรองเพียงพอที่จะจ่ายเบี้ยหรือไม่ 1. เคสที่ 1 มีเงินพอ แต่สุขภาพไม่ดี บริษัทไม่รับทำ ต้องตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพ เก็บเงินและลงทุนเอง 2. เคสที่ 2 มีเงินสำรองเพียงพอ และสุขภาพดี บริษัทประกันรับทำ ควรมีการวางแผนเรืองแหล่งรายได้ไว้ชำระเบี้ยหลังเกษียณด้วย เพราะเบี้ยอาจจะมีปรับเบี้ยเพิ่มตามอายุ อาจจะใช้เงินจากประกันบำนาญ หรือ บำนาญชราภาพจากประกันสังคม รวมๆกันไปจ่ายตอนอายุ 55 ขึ้นไป 3. สุขภาพดี แต่ไม่มีเงิน เกษียณแล้วจากประกันสังคมมาตรา 33 อาจจะรับบำนาญ 6เดือน แล้วไปสมัครมาตรา 39 เพื่อใช้ รพ ประกันสังคม หรือ ไม่รับบำนาญ เข้ามาตรา 39 เลยถ้ารักษากับโรงพยาบาลรัฐต่อเนื่องอยู่ เช่น ฟอกไต แล้วได้โรงพยาบาลใหญ่ๆ อยู่แล้วไม่อยากเปลี่ยนโรงพยาบาล 4. สุขภาพไม่ดี เงินก็ไม่มี บัตรทอง 30 บาท สปสช หรือเปลี่ยนประกันสังคมจาก มาตรา 33 เป็น 39 ไม่ยอมารับบำนาญ อันนี้ต้องคิดให้ดีๆ credit รูปจาก Finnomena. สนใจวางแผนการเงินแบบองค์รวมครอบคลุมทุกด้านของชีวิต ib มาได้ ไม่คิดตังค์จ้า  

ข้อคิดชีวิตกลางคน

  ขอฝากอะไรสักเล็กน้อยจากมนุษย์​เงินเดือนวัยกลางคนดังนี้ 1. ช่วงนี้ข้าวยากหมากแพง​ ข้าวของขึ้นราคา​ อยากให้ทุกคนเตรียม​ของกินของใช้ไว้ให้พอกินอย่างน้อย​ 1 เดือน​ แบบไม่ต้องไปข้างนอก​ น้ำสะอาดต้อง​ ยารักษาโรค​ที่จำเป็นๆก็มีติดบ้านไว้บ้าง 2. การลงทุนมีช่วงนี้มีความผันผวน​ และระบบการเงินโลกกำลังจะเปลี่ยนผ่าน​ ควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง​ 3. ส่วนตัวมีแบ่งพอร์ต​เป็นแบบตราชั่ง​ ข้างนึงเป็นสินทรัพย์​เสี่ยง​ หุ้น​ กองทุน​ คือข้างหนึ่งเป็นเงินสด​ ทองคำ​ และที่ดิน​ ไม่ลงทุนในสิ่งเราไม่แน่ใจ 4. รวย​ จน​ อยุ่ที่พอหรือไม่พอ​ บางคนรายได้เดือนละล้านยังร้อนรน​ อีกคนรายได้สามหมื่นชิวๆ​ 5. อย่าไปเชื่ออะไรในโซเชียลง่ายๆ​ บางอย่างบางคนก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาอยากให้เราเห็นหรอก 6. หาเวลาให้ตัวเองบ้าน​ ดูแล​ รีวิว​ สินทรัพย์​ หนี้สิน​ วางแผนการเงินบ้าง​ อย่างอื่นมีเวลา​ เรื่องของตัวเองแท้ๆ​ 7.​ อิสรภาพทางการเงิน​ ไม่สู้อิสรภาพที่จะตาย คุณพร้อมตายหรือยัง​ ทุกวันนี้ทำบุญ​อธิษฐาน​ ถ้าหมดภาระเลี้ยงดูพ่อแม่แล้ว​ ขอให้ตายง่ายๆ​ อย่าเป็นคนตายยากตายเย็น​ จะตายแล้วหลงไปเป็นเดรัจฉาน​ จะตายแล้วโกรธ​ไปเป็

10 งวด 0% หรือ กู้บัตรเครดิตดอกสูง

  10 งวด 0% หรือ กู้บัตรเครดิตดอกสูง ง่ายใช้เวลาอนุมัติสั้น ผมว่า "ไม่ดี" ต่อสุขภาพการเงินครับ . . ทำงานประจำ เดินเที่ยวห้าง ตาเห็น จมูกได้กลิ่น ใจซื้อ ง่ายๆ ไม่ต้องจ่ายทั้งหมดวันนี้ . . ทำกิจการ เงินขายของ ยังไม่ถึงดิวชำระ ซื้อของส่วนตัว ผ่อนได้หลายงวดอีก เป๋าตุงครับ เงินคนอื่น หาคิดได้ไม่ . . ผลเสีย คนทำงานประจำกลายเป็น "ใช้จ่ายเกินตัว" คนทำกิจการ เงินเยอะบันทึกบัญชีไม่ดี เข้าใจผิด คิดว่ากำไรดีเพราะ"เหลือเงิน" นำเงินไปใช้ "ออกนอกระบบค้าขาย" ถึงกำหนด หนี้หลายสาย เป็นปัญหาใหญ่ "งงมาก" แม่น้ำหนี้ไหลมาจากไหน . . ทางแก้ ทำงานประจำ อยากได้ของใช้ ให้แยกเงินเก็บสะสม ครบแล้วจึงซื้อ เจ้าของกิจการ "หนักแน่นให้มาก" เก็บเงิน รอเจ้าหนี้ีที่จะครบกำหนด คิดถึงจ่ายลูกน้อง ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่า . . ผลดี ควบคุมเงินได้ จะมีสมาธิทำอย่างอื่นเยอะ คิดงานอะไรทำได้หมด โล่งเบาสบาย วินัยต่อตนเอง สำคัญมากๆครับ . . ลองคิดและลงมือทำแบบนี้ดูนะครับ จะรู้ว่า "เงินน่ะคุมง่ายกว่าใจคน" อีกครับ @@@ โชคดี มีเงินใช้ ไม่ขาดมือครับ

แหล่งรายได้หลังเกษียณ

รูปภาพ
  แหล่งรายได้หลังเกษียณ บริษัทเอกชนในไทย จะเกษียณอายุที่ 55 ปีบ้าง 60ปีบ้าง ไม่ได้ทำงานแล้วจะมีรายได้มาจากที่ไหน อันดับแรก ถ้าลูกจ้างได้อยู่ในระบบประกันสังคม ถ้าเกษียณอายุ 55 ก็จะได้บำนาญชราภาพ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ส่งประกันสังคมมากี่ปี    บ้างก็ 4พัน 5พัน 6พัน และสุงสุดก็ 7พันกว่าบาท   ต่อมาเบี้ยคนชราอันน้อยนิด   ได้รับเมื่ออายุ 60   ได้เดือนละ 600 ซื้อหมูซื้อข้าวซื้อไข่ก็หมดแล้ว   อีกทางหนึ่งที่เอามาแหล่งรายได้หลังเกษียณได้ คือ ประกันบำนาญ บำนาญจ่ายที่อายุ 55 หรือ 60   จ่ายไปจนถึง 85 หรือ 90 เป็นการลดความเสี่ยงเรื่องการมีอายุยืนนานเกินไปจนตังค์หมด เป็นเรื่องเศร้าที่ตายแล้วเงินยังใช้ไม่หมด     แต่เป็นเรื่องน่าสลดคือเงินหมดแล้วยังไม่ตาย   ประกันบำนาญดียังไง 1.    คนที่เสียภาษีเอาเบี้ยที่จ่ายแต่ละปีไปลดหย่อนภาษีได้ 2.    รายได้แน่นอน รับเงินเป็นรายปี หรือ รับเป็นรายได้ ให้ความรู้สึกเหมือนได้รับบำนาญ 3.    ยิ่งอายุยืนก็จะได้รับเงินไปจนถึง85 หรือ 90   คิดว่าคนรุ่นนี้อยู่ถึง 4.    ไม่ต้องกังวลประสาทแดรกกับตลาดหุ้น จะขึ้นจะตก ก็ได้เงินทุกปี 5.    แก่แล้วทำ

ประกันสุขภาพสำคัญอยู่นะ

  ประกันสุขภาพสำคัญอยู่นะ เงินเฟ้อว่าเยอะแล้ว แต่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อ มีเงินก็ใช่ว่าจะทำได้   ควรทำเมื่ออายุยังไม่เยอะ และมีกำลังเงินเพียงพอ ประกันเหมาจ่าย ได้ทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน แบบ รับผิดชอบเองส่วนแรก ก็จะทำให้เบี้ยประกันไม่สูงเกินไป อย่างเคสล่าสุด   เพญชาย อายุ 47 มีสวัสดิการบริษัทอยู่แล้ว อยากทำประกันสุขภาพเพิ่มเพราะประกันสุขภาพที่เป็นสวัสดิการบริษัท    จะหมดลงตอนอายุ 60   แต่ถ้าไปทำตอนเกษียณเบี้ยจะแพงมากๆ เลือกเบี้ยให้เหมาะกับฐานะตัวเอง เราส่งไหว สภาพคล่องพอได้ เอาเงินน้อยรักษาเงินใหม่   เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย บางคนเก็บตังค์ลงทุนมาได้ 15 ล้าน   เจอโรคมะเร็งเข้าไป ผ่าตัดอีก   โรงพยาบาลดีหน่อย ก็หลายบาท   เงินที่เก็บมาอาจหายไปในพริบตา   ไม่ได้ enjoy life หลังเกษียณ อุตสาห์อดทนทำงานมาเป็น 10 ปี   จะสบายเสียหน่อยก็มีเหตุ บางคนคิดจะมาทำ   ตอนอายุเยอะ ซึ่งมีก็มีโรคประจำตัวมาแล้ว   บางบริษัทก็ไม่รับทำ   บางบริษัทรับแต่มีเงื่อนไข และเรียกเบี้ยเพิ่ม    ทำไม่ได้เลยก็มี    ประกันโรคร้ายแรงควรมีไว้บ้าง ไม่ได้ใช้ถือเป็นโชคดี   ควรเปรียบเทียบป

สร้างบำนาญขึ้นมาเอง ถ้าเราไม่ได้เป็นข้าราชการ

  ลูกค้าชายอายุ 45 ปี ตอนนี้ทำงานเป็นพนักงานของรัฐ   ไม่ใช่ราชการจึงไม่มีบำนาญ และสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล   มีประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของหน่วยงานเล็กน้อย   เงินเดือนมากกว่าข้าราชการแต่อาจจะไม่ถึงเอกชน ไม่เคยลงทุนที่มีความเสี่ยงมาก่อน เคยแต่ฝากเงินและซื้อหุ้นกู้   ตอนแรกมาด้วยเงิน 3 ล้านบาท และอยากมี 10 ล้านบาทตอนเกษียณอายุ 60   1.     แนะนำให้ทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม   เป็นแบบเหมาจ่าย และมีการรับผิดชอบส่วนแรก เพื่อให้เบี้ยถูกลง เนื่องจากประกันสังคมอาจจะไม่ไปถึงอายุ 60 ถ้าเลือกมารับบำนาญชราภาพ 2.     แนะนำให้สร้างบำนาญหลังเกษียณด้วยตัวเอง   โดย   1.   จัดพอร์ต Retirement Income Solution และเริ่ม build port ตั้งแต่ตอนนี้ ไปให้ถึง 2 ล้านบาท   เพื่อให้ได้ผลตอบแทน 3 % ปีนึง ก็ 60000 ตกเดือนละ 5000 ไม่เสียภาษีเหมือนหุ้นกู้   2. ซื้อประกันบำนาญ   ส่งถึงอายุ 60   และหลังจากอายุ 60 ประกันจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน เดือน 7500 จนถึงอายุ 85 3.     คำนวณบำนาญประกันสังคม     จากอายุงาน จนถึงวันเกษียณ    เขาจะได้เดือน 7400 บาท ทุกเดือนไปจนตาย สรุปรายได้หลังอายุ 60 1.         เบี้ยคน