่จะรับมือพวกทวงหนี้อย่างไร
วิธีรับมือการทวงหนี้
โดย คุณนกกระจอกเทศ ประธานชมรมหนี้บัตร
ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลแห่งนี้ไม่ได้แนะนำให้เบี้ยวหนี้
ชักดาบ ไม่ยอมจ่ายหนี้ แต่ให้นำไปใช้ศึกษาและรู้เท่าทันในกรณีที่ลูกหนี้
ถูกพวกทวงหนี้ใช้วิธีการทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย เช่น อ้างกฎหมายมาข่มขู่
รบกวนเวลาทำงาน ทำให้เสียชื่อเสียง...ฯลฯ
เพือเป็นการปกป้องตัวลูกหนี้เองให้รอดพ้นจากการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น ลูกหนี้จึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินบ้าง
แต่ไม่ถึงกับต้องท่องจำกฎหมายหนี้สินมาตราต่างๆ
เอาแค่ให้รู้ว่าการทวงหนี้ในลักษณะใดบ้าง ที่เข้าข่ายการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย
เพื่อจะได้เตรียมรับมือกับเหล่านักทวงหนี้ได้อย่างเหมาะสม ในทำนอง “รู้เขา-รู้เรา”
จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเจ้าหนี้และปกป้องรักษาสิทธิ์ของลูกหนี้เอาไว้
ก่อนจะคุยกับผู้ทวงหนี้
ให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกก่อนเลยโดยการสอบถาม ชื่อ-นามสกุลจริง ของคนที่มาทวงหนี้ก่อน
และที่สำคัญต้องขอเบอร์โทรศัพท์สำนักงาน(ไม่ใช่เบอร์มือถือ)ที่เขาทำงานอยู่
รวมถึงชื่อสำนักงานของนักทวงหนี้เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
โดยให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ
ส่วนมากการคุยกันระหว่างลูกหนี้กับนักทวงหนี้มักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
และมักจะมีปัญหาเรื่องการมีปากเสียงหรือจบลงด้วยการทะเลาะกัน
อาจมีการใช้ถ้อยคำรุนแรงที่ฝ่ายนักทวงหนี้หลุดได้บ่อยๆ
ดังนั้นการสอบถามข้อมูลจริงๆจากนักทวงหนี้
จึงมีโอกาสสูงที่ผู้ทวงหนี้จะไม่บอกความจริง
เพราะมันก็กลัวความผิดทางกฎหมายเหมือนกัน
เพราะถ้ามันเผลอข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงกับลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้อาจรับมือหรือตอบโต้กับนักทวงหนี้ได้
โดยการติดตามเอาเรื่องจนถึงสำนักงานของนักทวงหนี้เลยก็ได้
นอกจากมันจะตามหนี้ไม่ได้แล้วยังต้องมีคดีความติดตัวอีก
จึงไม่คุ้มสำหรับการบอกรายละเอียดของตัวนักทวงหนี้เอง
เมื่อถึงตอนนี้นักทวงหนี้ก็คงรู้แล้วว่า ลูกหนี้รายนี้ไม่ใช่หมูที่จะมาเถือเล่นกันได้ง่ายๆ
แต่ถ้านักทวงหนี้ไม่ยอมบอกรายละเอียดของตัวมัน ก็จะเข้าทางของเราเลย
ให้ลูกหนี้ถือโอกาสตัดบทไม่คุยด้วย หรือถ้านักทวงหนี้ให้รายละเอียดมาแล้ว
ฝ่ายลูกหนี้ก็สามารถโทรย้อนกลับไปตรวจสอบได้เช่นกัน
ต้องตั้งสติให้ดี
อย่ากลัวที่จะคุยกับเจ้าหนี้หรือนักทวงหนี้
ต้องกล้าคุยและเสียงเข้ม การเป็นหนี้ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่พวกทวงหนี้ข่มขู่
เป็นเพียงแค่คดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่คดีร้ายแรงเหมือนการฆ่าคนตาย(คดีอาญา)
ดังนั้นการที่นักทวงหนี้ใช้คำพูดในลักษณะที่ว่า
จะใช้กฎหมายจับลูกหนี้เข้าคุก จะด้วยข้อหาอะไรก็สุดแล้วแต่
ที่นักทวงหนี้พยายาม"กุ"(มั่ว)มาตราขึ้นมาเอง
เพื่อให้ดูน่ากลัวสำหรับลูกหนี้
ให้ลูกหนี้รับมือกับการทวงหนี้โหดในลักษณะนี้โดยการย้อนถามกลับไปว่า
หนี้สินเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา จะจับเข้าคุกได้ยังไง?...จะเอาตำรวจที่ไหนมาจับ?...เพราะคดีหนี้สินไม่ใช่หน้าที่ของตำรวจเลย
การทวงหนี้แบบควายๆ...โดยการใช้"มุขควาย"
(แอบอ้างตัวเองเป็นตำรวจ)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=18235&Itemid=29
การรับมือในการทวงหนี้ ลูกหนี้ต้องมีความรัดกุม
รู้เขา-รู้เรา ดังนั้นทางที่ดีในการพูดคุยกับนักทวงหนี้
ควรมีการบันทึกเสียงการสนทนาระหว่างลูกหนี้กับนักทวงหนี้ไว้เอาด้วย(แต่อย่าไปบอกให้มันรู้)
หากมีปัญหาอะไรเช่น เรื่องการข่มขู่
เราก็สามารถใช้เสียงที่บันทึกนี้ให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบได้
นักทวงหนี้จำนวนไม่น้อยที่มักจะทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้เช่น
พ่อ แม่(ซึ่งอายุมากแล้ว) ญาติ พี่น้อง(ที่ไม่รู้เรื่องด้วย) หรือเพื่อนร่วมงาน
การทวงหนี้ในลักษณะนี้เข้าข่ายหมิ่นประมาท
และผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ลูกหนี้สามารถฟ้องร้องได้
การรับมือกับการทวงหนี้ในลักษณะนี้ ให้ลูกหนี้อธิบายต่อคนใกล้ชิดให้เข้าใจว่า
หนี้สินของเรานั้น นักทวงหนี้ไม่สามารถติดตามหรือทวงหนี้จากคนอื่นได้
คนใกล้ตัวเราจะได้ไม่ตกใจกลัว และหากพวกเขารู้สถานการณ์ว่าอะไรเป็นอะไร
ก็จะสามารถจับต้นชนปลายได้ถูก
และจะได้ช่วยตอกกลับพวกนักทวงหนี้(เลวๆ)ที่ไม่รู้จักกาลเทศะได้อีกทางหนึ่ง
วิธีทวงหนี้แบบเลวๆ ที่พนักงานทวงหนี้มักใช้กัน
เป็นเทคนิคที่ชอบอ้างถึงกฎหมายที่ลูกหนี้ส่วนมากไม่มีความรู้
จึงเปิดโอกาสให้นักทวงหนี้ดำเนินการไปตามเกมส์ของเขาซึ่งมีหลายวิธีดังนี้
- โทรศัพท์มาทวงหนี้
คือการตืดต่อทวงหนี้ด้วยการใช้โทรศัพท์
ไม่ว่าจะเป็นการโทรเข้ามาที่โทรศัพท์มือถือของลูกหนี้ , โทรศัพท์เข้าที่ทำงานของลูกหนี้
, โทรศัพท์ไปที่บ้านของลูกหนี้
แล้วใช้คำพูดข่มขู่ว่า หากไม่ชำระหนี้ ก็จะทำการส่งเรื่องต่อไปตามระบบ
หรือส่งเรื่องออกไปให้สำนักงานข้างนอก(ซึ่งก็คือการส่งเรื่องไปให้บริษัทรับจ้างทวงหนี้ข้างนอก
ซึ่งส่วนมากจะใช้ชื่อบริษัทว่า สำนักงานกฏหมาย / สำนักงานทนายความ เป็นต้น) หรือ
ขู่ว่าจะส่งเรื่องส่งฟ้องศาล(ทั้งๆที่ลูกหนี้เพิ่งจะหยุดจ่ายเพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น)
หากลูกหนี้ยังเพิกเฉยต่อการข่มขู่ต่างๆเหล่านี้
ในสัปดาห์หน้าและสัปดาห์ต่อๆไป นักทวงหนี้ก็จะโทรศัพท์เข้ามาข่มขู่ด้วยถ้อยคำเดิมๆทุกครั้งไป...เช่น
๐ สัปดาห์ที่ 1...คุณหยุดจ่ายมา
3เดือนแล้วนะ หากวันนี้คุณยังไม่จ่ายเข้ามา
พรุ่งนี้เราจะทำเรื่อง
ส่งฟ้องศาลแล้วนะ
๐ สัปดาห์ที่ 2...ผมบอกให้คุณจ่ายตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว
คุณก็ยังไม่เชื่อฟังอีก งั้นอาทิตย์นี้เราจะทำเรื่อง
ฟ้องศาลจริงๆแล้วนะ
๐ สัปดาห์ที่ 3...นี่คุณ
ทำไมถึงยังไม่จ่ายอีก จะให้เราส่งฟ้องศาลจริงๆใช่ไหม?
๐ สัปดาห์ที่ 4...ถ้าคุณยังไม่ยอมจ่ายดีๆ
คราวนี้เราจะทำเรื่องฟ้องศาลจริงๆแล้วนะ เตรียมรับหมายศาลได้เลย
๐ สัปดาห์ที่ 5...คุณต้องจ่ายเข้ามาก่อนบางส่วน
ไม่อย่างนั้นเราฟ้องคุณจริงๆแล้วนะ ไม่ได้โกหก
๐ สัปดาห์ที่ 6...ได้รับหมายศาลแล้วหรือยัง?
อ๋อ...ยังไม่ได้รับเหรอครับ งั้นก็เตรียมตัวไปขึ้นศาลได้เลยนะครับ
๐ สัปดาห์ที่ 7...มีเจ้าหน้าที่จากศาลโทรมาหาคุณหรือยัง
ว่าจะให้ไปขึ้นศาลวันไหน? อ๋อ...ยังเหรอครับ
ถ้างั้น วันนี้คุณจ่ายเข้ามาก่อนบางส่วน
เราจะไปถอนฟ้องให้ แต่ต้องจ่ายให้ได้ภายในเย็นวันนี้นะ
๐ สัปดาห์ที่ 8...เมื่อไหร่คุณจะจ่ายซะที
ไม่งั้นเราจะฟ้องคุณจริงแล้วนะ ฟ้องจริงๆด้วย ไม่ได้ขู่
๐ สัปดาห์ที่ 9
และสัปดาห์ถัดต่อไปเรื่อยๆ
ทุกสัปดาห์...จะฟ้องแล้วนะ...จะฟ้องแล้วนะ...จะฟ้องแล้วนะ...
จะฟ้องจริงๆแล้วนะ...จะฟ้องจริงๆด้วย...ฯลฯ
หากลูกหนี้รู้สึกเบื่อหน่าย
กับคำพูดข่มขู่ที่ซ้ำซากจำเจแบบนี้ ลูกหนี้สามารถตอบกลับไปได้ว่า
เออ...กูรู้แล้ว มึงก็ฟ้องจริงๆซะทีสิวะ
เอาแต่พูดอยู่ได้ ว่าฟ้องแล้วนะ ฟ้องแล้วนะ
ฟ้องแล้วนะ
กูรอรับหมายศาลมานานจนเซ็งแล้วนะโว้ย :upset:
- ส่งจดหมายทวงหนี้
เป็นจดหมายที่ส่งมาทวงหนี้ในลักษณะข่มขู่
จะมีข้อความที่ประทับตรายางสีแดงเช่น “อนุมัติฟ้องภายใน 24
ช.ม.” , “ด่วน อนุมัติฟ้อง” , “เตือนให้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย”
, “ด่วน นำพนักงานสืบทรัพย์ตรวจสอบตามภูมิลำเนา”...คำขู่พวกนี้หากลูกหนี้ที่รู้เท่าทันก็ไม่ต้องตกใจ
เพราะถ้ามีการฟ้องศาลจริง จะต้องมีหมายเลขคดีดำ
และหมายศาลจะส่งไปยังที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น จดหมายทวงหนี้ในลักษณะนี้ส่งมาเพื่อเตือนให้รีบไปชำระหนี้
ในส่วนของลูกหนี้ให้คิดเสียว่า ถ้าเจ้าหนี้อยากจะฟ้องก็เชิญฟ้องไปเลย
เพราะในความเป็นจริง กว่าจะส่งเรื่องฟ้องศาล
เจ้าหนี้ต้องใช้เวลาในการทวงหนี้นานเป็นปี ดังนั้นในระหว่างนี้
ลูกหนี้จะได้รับจดหมายทวงหนี้ในลักษณะเช่นนี้ ทุกวัน , ทุกสัปดาห์
, ทุกเดือน เรื่อยไปจนกว่าจะครบปี
จนเกิดความสงสัยขึ้นว่า...“เมื่อไหร่มันจะฟ้องตรูจริงๆซะทีวะ?”
ข้อความในจดหมายทวงหนี้
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=4428&Itemid=29
- เจ้าหนี้แจ้งว่าจะยึดทรัพย์
ซึ่งเป็นการข่มขู่ที่ผิดกฎหมาย
การที่เจ้าหนี้จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ได้นั้น
จะต้องมีการฟ้องศาลดำเนินคดีทางแพ่งเสียก่อน
การยึดทรัพย์ต้องใช้คำสั่ง"บังคับคดี"จากหน่วยงานของรัฐฯ
จึงจะดำเนินการยึดทรัพย์ได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ตามอำเภอใจโดยละเมิดกฏหมาย
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=9240&Itemid=29
หากลูกหนี้(จำเลย)ไม่มีเงินเดือนและทรัพย์สิน...จะเป็นอย่างไร?
www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=8746&Itemid=52
- เจ้าหนี้แจ้งว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาทวงเงินในที่ทำงานของลูกหนี้
พูดง่ายๆก็คือ ตามทวงหนี้ถึงที่ทำงานกันเลยทีเดียว
กรณีนี้ถ้าลูกหนี้ไม่อนุญาตให้เข้าพบ
หากพนักงานทวงหนี้ยัง"หน้าด้าน"ฝ่าฝืน...ก็มีสิทธิ์เจอข้อหาบุกรุกได้เลย
นอกจากนี้เจ้าหนี้ยังมีการข่มขู่อีกหลายเรื่องที่เคยทำกันมาแล้วได้ผลเช่น
ขู่ว่าจะอายัดเงินเดือน ทั้งๆที่ยังไม่ได้ส่งเรื่องฟ้องศาลเลย
เจ้าหนี้จึงไม่สามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้
เพราะการอายัดเงินเดือนต้องมีคำสั่ง"อายัดเงินเดือน"จากหน่วยงานของรัฐฯ(เจ้าพนักงานบังคับคดี)
และการอายัดเงินเดือนทำได้เต็มที่ไม่เกิน 30
เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนลูกหนี้ และถ้ามีเจ้าหนี้อยู่หลายราย
ก็ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันไปภายใน 30
เปอร์เซ็นต์นั้นๆ...หรือเจ้าหนี้อาจต้อง"เข้าแถว"รอคิวการอายัดเงินเดือนต่อๆกันไป
(ใครฟ้องก่อน ก็อายัดได้ก่อนเป็นคิวแรก ใครฟ้องช้า/ฟ้องทีหลัง
ก็ต้องมานั่งเข้าแถวรออายัดเป็นคิวถัดไป)
ไขข้อข้องใจ “การอายัดเงินเดือน”
www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=28147&Itemid=52
เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการทวงหนี้ได้
แต่ต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย และทำการทวงหนี้อย่างเหมาะสม
โดยไม่เป็นการรบกวนการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกหนี้จนเกินพอดี
เจ้าหนี้ต้องมีการแสดงตัว แจ้งชื่อ-นามสกุล สำนักงานที่สังกัด
ไม่คุกคามลูกหนี้เช่น ประจานหรือข่มขู่ และที่สำคัญต้องไม่เปิดเผยความลับของลูกหนี้แก่บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
จะเห็นได้ว่าการติดตามทวงหนี้ของเจ้าหนี้ในปัจจุบันที่ทำกัน
มักออกมาในลักษณะของการข่มขู่ในเรื่องต่างๆ ที่ถือว่าผิดกฎหมาย จนในระยะหลังมานี้
ลูกหนี้เริ่มรู้เท่าทันเจ้าหนี้จึงได้มีการฟ้องร้องกลับ
จนเจ้าหนี้เป็นฝ่ายแพ้คดีไปก็มีจำนวนไม่น้อย
หากลูกหนี้มีข้อสงสัยในการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่องหลักเกณฑ์ในการติดตามทวงถามหนี้
ที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการถูกข่มขู่ของลูกหนี้
แนวปฎิบัติในการทวงถามหนี้
www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/25510409.pdf
หากถูกละเมิดสิทธิ์
สามารถโทรไปร้องเรียนได้ที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น