ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
เป็นการเพิ่มเติมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่มีอยู่แล้วตามปกติ 100,000
บาท เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินร้อยละ 15
ของเงินได้พึงประเมิน
แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
หลักเกณฑ์
(1) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
(2) ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย
(3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกัน ก็ได้ โดยจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
(4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์
ตัวอย่างที่ 2 นาย ง. มีเงินได้ปีละ 1,350,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพปีละ 120,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 250,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 135,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 100,000 บาท นาย ง. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้
(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,350,000 x 15 % = 202,500 บาท
(2) นาย ง. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 120,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันแบบปกติก่อน 100,000 บาท ส่วนที่เกิน 100,000 บาท(20,000 บาท) ตัดทิ้งเพราะหักเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติครบถ้วนแล้ว
(3) นำยอดเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายจริง 250,000 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าเกิน 15% (202,500 บาท) และเกิน 200,000 บาท จึงสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้เต็ม 200,000 บาท
(4) นำยอดค่าเบี้ยประกันภัยแบบบำนาญที่สามารถหักได้ตาม 3. ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 200,000 + 135,000 + 100,000 = 435,000 บาท พบว่าไม่เกิน
นาย ง. สามารถหักเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพได้ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 200,000 บาท
แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
หลักเกณฑ์
(1) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
(2) ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย
(3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกัน ก็ได้ โดยจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
(4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์
ตัวอย่างที่ 2 นาย ง. มีเงินได้ปีละ 1,350,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพปีละ 120,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 250,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 135,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 100,000 บาท นาย ง. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้
(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,350,000 x 15 % = 202,500 บาท
(2) นาย ง. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 120,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันแบบปกติก่อน 100,000 บาท ส่วนที่เกิน 100,000 บาท(20,000 บาท) ตัดทิ้งเพราะหักเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติครบถ้วนแล้ว
(3) นำยอดเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายจริง 250,000 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าเกิน 15% (202,500 บาท) และเกิน 200,000 บาท จึงสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้เต็ม 200,000 บาท
(4) นำยอดค่าเบี้ยประกันภัยแบบบำนาญที่สามารถหักได้ตาม 3. ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 200,000 + 135,000 + 100,000 = 435,000 บาท พบว่าไม่เกิน
นาย ง. สามารถหักเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพได้ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 200,000 บาท
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น