ภารกิจ Delete หนี้ คุณทำเองได้
ขั้นที่ 1 ประเมินสถานการณ์
ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะกดดัน หาทางหมุนเงินเพื่อชำระหนี้ขั้นต่ำ อาจะเป็น5%, 10% ของยอดหนี้ การเตรียมตัวเบื้องต้น คือ
1.หยุดการก่อหนี้เพิ่ม
การที่เราเป็นหนี้สินมากมายก็เนื่องจากเราไม่สามารถห้ามใจในการจะใช้เงินกู้ เช่น รูดบัตรเครดิตซื้อของที่เราอยากได้
การเริ่มต้นในการแก้ปัญหาคือ การหยุดก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะแนวทางแก้ปัญหาหนี้ที่ชอบใช้กันทั่วไปคือ การกู้เงินจากแหล่งหนึ่งไปชำระหนี้อีกแหล่งหนึ่งซึ่งรวมถึงหนี้นอกระบบ เช่น โต๊ะเงินกู้แถวบ้าน วิธีการนี้ยิ่งทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อาจจะสร้างปัญหามากขึ้น
2. จัดทำบัญชีรับ-จ่าย
ขั้นตอนนี้คือ เราต้องมาจัดทำบัญชีส่วนตัวของเราว่า มีรายได้อะไรบ้าง และต้องมีรายจ่ายอะไรบ้าง เงินคงเหลือสุทธิเท่าใด และความสามารถในการชำระหนี้มีมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น
(หน่วย : บาท)
ลำดับ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ
1 เงินเดือน 20,000
2 รายได้อื่นๆ 10,000
3 ค่าใช้จ่าย 1 10,000
4 ค่าใช้จ่าย 2 10,000
รวม 30,000 20,000 10,000
จากตารางจะเห็นได้ว่าเงินคงเหลือจำนวน 10,000 บาท จะเป็นเงินได้สุทธิ ที่สามารถนำไปชำระหนี้ต่อเดือนได้มากน้อยเพียงใด
3. จัดทำบัญชีหนี้สิน แยกประเภท
ขั้นตอนนี้คือ เราต้องนำหนี้สินทั้งหมดมาทำบัญชี ว่ามีมูลหนี้ที่เหลืออยู่เท่าใด มีภาระที่ต้องชำระเท่าใดต่อเดือน เพื่อให้สามารถประเมินได้ ตัวอย่าง
(หน่วย: บาท)
ลำดับ ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้ ภาระที่ต้องชำระ
1 ธนาคาร 1 30,000 3,000
2 ธนาคาร 2 30,000 3,000
3 ธนาคาร 3 40,000 4,000
ยอดรวม 100,000 10,000
จากตารางข้างต้น จะเห็นได้การจัดทำบัญชี จะทำให้เห็นภาพรวมว่ามีเจ้าหนี้รวมทั้งหมดกี่ราย มียอดหนี้รวมเท่าใด และมีภาระหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละเดือนใดเท่า ประโยชน์ก็คือเราจะทราบถึงสถานะปัจจุบันของหนี้สินได้
4. หยุดจ่าย
กรณีตรวจสอบแล้วพบว่า มีหนี้สินมากมายจนไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้ว ควรหยุดจ่าย
กรณีเป็นหนี้ในระบบ สิ่งที่ต้องพึ่งระวังคือ หนี้ที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินเดียวกับธนาคารที่คุณมีรายได้เข้า หรือมีเงินฝากอยู่ เพราะเจ้าหนี้จะทราบความเคลื่อนไหวของคุณและเมื่อถึงเวลาที่เจ้าหนี้จะฟ้อง คุณ เจ้าหนี้จะสามารถขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ได้
กรณีเป็นหนี้นอกระบบ สิ่งที่ต้องพึ่งระวังคือ ชีวิตและทรัพย์สินที่จะถูกเจ้าหนี้ประเภทหนี้ตาม
หลังจากการหยุดจ่าย ควรแจ้งให้คนในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด หรือเพื่อนร่วมงาน หรือเจ้านาย เพื่อให้รับทราบจะได้ไม่ตกใจกรณีมีเจ้าหนี้มาติดต่อหรือมาเล่าเรื่องหนี้ของ คุณ
5. ขอส่วนลดปิดบัญชี (hair cut)
การแก้ปัญหาหนี้ที่ดีสุดคือ การนำเงินสดของเราที่สะสมมาใช้ในการชำระหนี้ ไม่ควรกู้ยืมจากที่อื่นมาชำระ นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหา
การขอส่วนลดปิดบัญชี หรือเรียกว่า แฮร์คัท ไม่ได้เกี่ยวกับการตัดผมแต่อย่างใด แต่เป็นการความตั้งใจของลูกหนี้ที่จะชำระหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้และ ชำระภายในครั้งเดียว หรือ อาจจะหลายครั้งซึ่งต้องเป็นไปตามความต้องการของลูกหนี้และเจ้าหนี้ ตัวอย่างเช่น
ลูกหนี้มียอดหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท แต่ขอเจรจากับเจ้าหนี้ว่าจะชำระเพียง 50,000บาท เพื่อขอปิดบัญชี ซึ่งจะเห็นได้ว่าลูกหนี้ได้ขอส่วนลดจำนวน 50,000 บาท โดยหลักการแล้ว ลูกหนี้ก็มักจะมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ทำแฮร์คัทให้เพื่อความสะดวกและได้ ประโยชน์สูงสุด
ขั้นที่ 2 ช่วงเวลารับมือ
ช่วงเวลารับมือ เป็นช่วงระหว่างที่เราตัดสินใจหยุดจ่าย ซึ่งก็จะประมาณ 1- 15 วัน ก็จะมีเจ้าหนี้โทรศัพท์มาตามหนี้กันอย่างเต็มที่ วิธีการมีดังนี้
1. แจ้งหัวหน้างาน
ทำไมต้องมีการแจ้งหัวหน้างาน เนื่องจากวิธีหนึ่งที่เจ้าหนี้จะทำได้คือ แจ้งหัวหน้างานของลูกหนี้ เพื่อให้หัวหน้างานหัวเสียกับลูกหนี้และมากดดันให้ลูกหนี้ต้องรีบชำระหนี้
วิธีการในการแก้ไข คือ แจ้งหัวหน้าว่า เรามีหนี้อะไรบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าใด และอาจจะออกตัวว่า ตนเองยินดีให้หัวหน้างานหักเงินเดือนได้ เพราะช่วงเวลาหลังจากนี้แล้วเจ้าหนี้จะโทรมาตามทวงตลอด ซึ่งอาจจะเป็นเวลางาน หรือ ขอทำงานเกินเวลากำหนด เช่น ปกติเราทำงานตั้งแต่ 8.30 – 16.30 นาฬิกา เราก็อาจจะขอทำเพิ่มจนถึง 18.00 นาฬิกา
ช่วงนี้อย่ามีปัญหากับหัวหน้าเป็นเด็ดขาด เพราะโอกาสตกงานมีสูง
2 บอกเพื่อนร่วมงาน
นอกจากอาจจะมีปัญหากับหัวหน้างานแล้ว เราอาจจะต้องเสียเพื่อนร่วมงานไปอีกคน เนื่องจาก เจ้าหนี้จะใช้วิธีการโทรศัพท์หาลูกหนี้ โดยกดเบอร์ผิดบ้าง และก็สอบถามผู้รับโทรศัพท์ว่ารู้จักลูกหนี้หรือไม่ และก็มักจะฝากบอกด้วยข้อความแรงๆ เช่น บอกนาย...(ชื่อลูกหนี้) ให้ชำระหนี้ หรือ โทรมาหาบ่อย ให้เพื่อนคอยตามลูกหนี้ให้ เมื่อเพื่อนร่วมงานโดนลักษณะนี้ก็ต้องมีความรู้สึกไม่ดีกับลูกหนี้บ้าง ดังนั้น วิธีแก้ไข ก็คืออาจจะบอกรายละเอียดเหมือนกับบอกหัวหน้างาน ให้เพื่อนรับทราบ และขอความเห็นใจ และพยายามเมื่อไปไหนมาก็อาจจะซื้อของฝากนำมาให้เพื่อนได้ทานอย่างสม่ำเสมอ
3. ต้องมีเงินสดติดตัวเอาไว้
ในขณะที่คุณหยุดชำระหนี้แล้วนั้น คุณควรมีเงินสดติดตัวเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น เงินจำนวนนี้จะมาจากเงินที่คุณจะต้องนำไปจ่ายให้กับเจ้าหนี้
คำแนะนำ คุณจะต้องใช้เงินจำนวนนี้ด้วยความระมัดระวัง ควรใช้ไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นเท่านั้น
และเงินจำนวนนี้เมื่อเก็บได้จำนวนหนึ่ง อาจจะสามารถนำมาชำระหนี้ในรูปแบบการจ่ายแบบขอส่วนลด (hair cut)
4 การโต้ตอบเจ้าหนี้
ตั้งแต่ ข้อ 1-3 เป็นการแนะนำสำหรับการตั้งรับ แต่ข้อ 4 จะแตกต่างกัน นั้นก็คือ การโต้ตอบเจ้าหนี้ การโต้ตอบไม่ได้เป็นการชกต่อยหรือการทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด เป็นการโต้ตอบภายใต้กฎหมาย
4.1 ต้องโต้ตอบบ้าง
ระหว่างถูกตามหนี้ ต้องไม่ใช่รับฟังอย่างเดียว ต้องโต้ตอบบ้าง ตัวอย่างเช่น ระหว่างพูดคุยทางโทรศัพท์ ถ้าเจ้าหนี้หรือพนักงานตามหนี้บอกข้อมูลอะไรผิด ลูกหนี้ก็ตอบโต้ไปบ้าง เพื่อให้เจ้าหนี้รู้ว่า ลูกหนี้ไม่ได้โง่ หรือไม่ได้ติดตามข้อมูล
4.2 ประหยัดเรื่องเวลาเอาไว้
ในการเจรจากับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ประหยัดเรื่องเวลาเอาไว้ เนื่องจากอาจจะอยู่ระหว่างการทำงาน หรือเพื่อนร่วมงานอาจจะต้องการมีสมาธิในการทำงาน กรณีต้องเจรจากับเจ้าหนี้หลายครั้ง ภายในหนึ่งวันไม่น่าจะที่ลูกหนี้จะได้รับประโยชน์ ลูกหนี้ควรจะเจรจาครั้งเดียวให้จบได้ข้อตกลง
4.3 ยืดเวลาในการถูกทวงถาม
ในระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้มักจะพยายามติดตามโดยตลอด โทรศัพท์มาหาทุกวัน ทุกอาทิตย์ เพราะเจ้าหนี้หรือผู้รับมอบหมายอำนาจของเจ้าหนี้จะพยายามให้ลูกหนี้เกิดความ รำคาญ และตัดสินใจชำระหนี้ วิธีการในแก้ไข คือ การยืดเวลาในการถูกทวงถาม ถ้าสามารถทำได้จะทำให้ลูกหนี้มีเวลาตั้งตัวพอสมควร เพราะเมื่อมีการกำหนดระยะเวลาแน่นอนแล้ว เจ้าหนี้มักจะไม่ติดตามจนกว่าจะถึงวันนัด ตัวอย่างเช่น
เจ้าหนี้ : เมื่อไหร่จะชำระหนี้ได้ละ
ลูกหนี้ : อีก 3 เดือน ชำระแน่นอน
เมื่อถึงกำหนดวันนัดก็สามารถยืดเวลาต่อไปได้ โดยหาสาเหตุในการไม่สามารถชำระหนี้ได้ เช่น ช่วงนี้ไม่ค่อยมีงาน เศรษฐกิจไม่ค่อยดี
ขั้นที่ 3 แนวทางรับมือการโดนทวงหนี้
1. ตั้งสติ
การตั้งสติ หมายถึง ไม่ควรจะตกใจกลัว หรือจินตนาการเกี่ยวกับการทวงหนี้ หรือ ฟังจากพวกไม่รู้จริง นั้นก็อาจจะทำให้เราไม่สบายใจ
วิธีการแก้ไข คือ การศึกษาจากผู้รู้จริง เช่น ทนายความ เพื่อทราบขอบเขตการทวงหนี้ ว่ามีอย่างไรบ้าง เมื่อมีการหยุดจ่ายแล้ว จะมีขั้นตอนอย่างไรของเจ้าหนี้
จริงๆ แล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิเพียงการส่งเอกสารทวงหนี้ และโทรศัพท์ทวงให้ชำระเท่านั้น กรณีทำอย่างอื่น เช่น ขู่กรรโชก โทรศัพท์มาแกล้ง หมิ่นประมาท ด่าหรือต่อว่าเรา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย รับทราบการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย และพยายามดำเนินการกับธนาคารฯ เจ้าหนี้ ที่ปล่อยให้สำนักงานกฎหมายใช้วิธีการทวงที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น ตั้งสติ ในที่นี้ก็คือ การหาความรู้ และเข้าใจขอบเขต และรู้ว่าเจ้าหนี้สามารถทำอะไรกับเราได้บ้าง และผลรับมีอะไรบ้าง
2. ทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตการทวงหนี้
ขั้นตอนนี้ จะต่อจากการตั้งสติว่า คุณต้องทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตการทวงหนี้ โดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอนดังนี้
2.1 เมื่อคุณหยุดชำระหนี้ ภายใน 1 เดือน ปกติแล้วเจ้าหนี้หรือธนาคาร จะติดต่อมาด้วยตนเอง เป็นเอกสาร มักจะมีข้อความ ตัวอย่างเช่น
“เอกสารฉบับนี้ ต้องการแจ้งสิทธิของการชำระหนี้ ถ้าคุณสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดก็จะได้รับการบริการปกติ”
2.2 เมื่อผ่านข้อ 2.1 เจ้าหนี้หรือธนาคารก็จะติดต่อมาด้วยตนเองโดยทางโทรศัพท์ อาจจะเป็นฝ่ายพัฒนาหนี้ ช่วงนี้จะไม่รุนแรง เป็นการให้ข้อมูล และเจรจาด้วยภาษาดอกไม้
2.3 เมื่อผ่านข้อ 2.1และ 2.2 แล้วและลูกหนี้ไม่ชำระ ธนาคารหรือเจ้าหนี้จะมอบอำนาจให้สำนักงานกฎหมายที่รับคดีจากธนาคาร
คราวนี้เริ่มจะรุนแรง เนื่องจากพนักงานตามหนี้จะได้รับเงินเดือนจากสำนักงานกฎหมายไม่มาก แต่จะได้รับเงินพิเศษจากการทวงหนี้ได้ ขั้นตอนนี้จึงเกิดความรุนแรงมากขึ้น
ความจริงในทัศนะของผู้เขียน เชื่อว่า ธนาคาร หรือ เจ้าหนี้คงไม่ต้องการใช้ความรุนแรง แต่สำนักงานกฎหมาย โดยเฉพาะพนักงานตามหนี้ ต้องการเร่งหารายได้ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น ด่าลูกหนี้ หมิ่นประมาท
2.4 เมื่อลูกหนี้อดทนจนถึงขั้นนี้แล้ว การด่าหรือการต่อว่า ไม่สามารถทำอะไรลูกหนี้ได้ จึงต้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ คือ ฟ้องและดำเนินคดี ซึ่งขั้นตอนนี้จะกล่าวโดยละเอียดในขั้นที่6
เมื่อทราบขอบเขตการทวงหนี้ได้แล้ว ตอนนี้ก็ไม่น่ากลัวอะไรอีก เพราะวงจรก็มีเพียงเท่านี้
3 เมื่อมีการติดตามทวงหนี้จากเจ้าหนี้ที่ผิดขั้นตอนหรือเข้าใจว่าไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายลูกหนี้สามารถดำเนินการร้องเรียนธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเอกสาร และโทรศัพท์ไปร้องเรียน ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้และบริษัทที่รับดำเนินการให้จะเกรงกลัวธนาคารแห่งประเทศ ไทย
ขั้นที่ 4 การรับมือกับการทวงหนี้ชนิดรุนแรงในช่วงแรก
1. จิตใจเข้มแข็ง
การทำให้จิตใจเข้มแข็งนั้น คุณต้องทราบก่อนว่าขอบเขตการทวงหนี้มีอะไรบ้าง และคุณต้องเข้าใจว่าสิทธิของลูกหนี้มีอะไรบ้าง
เมื่อคุณทราบแล้ว คุณก็จะไม่กลัว เมื่อคุณไม่กลัวจิตใจคุณจะเข้มแข็งมากขึ้น
2. ที่ทำงานหรือบ้านของคุณเป็นพื้นที่ส่วนตัว
ส่วนใหญ่เจ้าหนี้มักจะชอบโทรศัพท์ว่าจะมาพบคุณที่ทำงาน หรือ ที่บ้าน เพื่อให้คุณชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ กรณีอยู่นอกบ้านหรือที่ทำงานสามารถทำได้ แต่การที่เจ้าหนี้หรือเจ้าหน้าที่ของเจ้าหนี้จะเข้ามาภายในให้ได้นั้น คงไม่สามารถให้เจ้าหนี้ทำอย่างนั้นได้ วิธีการแก้ไข คือ ร้องทุกข์(แจ้งความ) กับตำรวจในท้องที่เพื่อให้เข้าระงับเหตุการณ์และดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ให้ถึง ที่สุด
กรณีอื่นที่เจ้าหนี้มักจะทำเช่น ข่มขู่ หมิ่นประมาท ฯลฯ ลูกหนี้ก็สามารถแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนได้
3. เมื่อแจ้งความร้องทุกข์แล้ว เพื่อขยายผลให้เจ้าหนี้เกรงกลัวที่จะไม่กระทำผิดกฎหมาย
วิธีการมีดังนี้ ให้นำสำเนาบันทึกการแจ้งความที่คุณได้ดำเนินการแล้วตาม ข้อ 2 มาเป็นเอกสารแนบท้ายหนังสือร้องเรียน ซึ่งในหนังสือร้องเรียน ต้องมีรายละเอียดดังนี้
3.1 เรื่องราวที่คุณถูกกระทำจากเจ้าหนี้ โดยละเอียด
3.2 ชื่อเจ้าหนี้หรือธนาคาร และบริษัทที่ดำเนินการ
3.3 ในตอนท้ายของหนังสือร้องเรียน ควรมีคำว่าสำเนาส่ง ยังหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี สภาทนายความ และสุดท้าย สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
โดยนำหนังสือร้องเรียนฉบับนี้ส่งไปยังเจ้าหนี้หรือสำนักงานกฎหมาย ที่รับทวงหนี้ให้เพื่อปรามมิให้มีพฤติกรรมการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย
4. วิธีการทวงหนี้ในขั้นตอนนี้มีดังนี้
4.1 เจ้าหนี้ทวงหนี้ด้วยตนเอง
4.2 ว่าจ้างบุคคลภายนอก เช่น สำนักงานกฎหมาย ตามหนี้
4.3 ใช้วิธีการข่มขู่จะว่าจะดำเนินคดีกับลูกหนี้
4.4 ในระหว่างการเจรจาใช้คำพูดหยาบคาย
4.5 แสดงท่าทางเป็นนักเลงในระหว่างการเจรจา
4.6 กรณีผิดนัด 1-2 งวด จะมอบหมายให้พนักงานโทรศัพท์ทวง หนี้ ส่วนใหญ่จะโทรเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) บ้าน, ที่ทำงาน การเจรจาจะไม่ค่อยสุภาพ แต่จะพยายามให้ลูกหนี้ใช้หนี้
4.7 เมื่อครบ 3 เดือนลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะส่งฝ่ายกฎหมาย หรือฝ่ายพัฒนาหนี้ หรือสำนักงานกฎหมายภายนอกเพื่อติดตามให้
ซึ่งการติดตามก็จะแตกต่างกันไปตามอายุของหนี้
4.8 มีการเขียนจดหมายข่มขู่ อนุมัติฟ้องภายใน 24 ชม. ภายใน 48 ชม. ในการปฏิบัติจะมีการประทับตราสีแดง อนุมัติฟ้อง และเขียนชื่อลูกหนี้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็เพื่อกดดันลูกหนี้
4.9 อาจจะข้อความว่าหากไม่จ่ายภายใน 3 วัน จะพาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมดำเนินคดี ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ทางแพ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับเอาทรัพย์สิน ไม่มีการติดคุกอย่างแน่นอน
4.10 เจ้าหนี้จะมีเอกสารว่าจะชื่อของลูกหนี้เข้า black list (บัญชีดำ) ต่อไปท่านไม่สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินได้ ฟ้องล้มละลาย และไม่สามารถเดินทางออกต่างประเทศได้
4. 11 ให้เจ้าหน้าที่มาเฝ้าที่ทำงานของลูกหนี้ หรือการเข้ามาหาในที่ทำงาน กรณีดังกล่าวไม่สามารถทำได้เป็นการคุกคามและบุกรุก 4.12. มีการเขียนไปรษณียบัตร ส่งตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง
4.13 มีการโทรหา ภรรยา ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน พูดทวงหนี้ เช่น นาย...(ชื่อลูกหนี้) เป็นคนที่ไม่ยอมใช้หนี้
4.14 การส่ง fax มีรายละเอียดเกี่ยวกับลูกหนี้และข้อความเกี่ยวกับหนี้ ไปยังบุคคลภายนอก
4.15 จดหมายจากสำนักงานกฎหมายว่า หากคุณไม่ชำระ จะเข้ายึดทรัพย์ และยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน ซึ่งในความจริงกว่าที่จะมีการยึดทรัพย์ได้ ต้องมีการฟ้องร้องดำเนินคดีก่อน และต้องมีคำสั่งศาลตั้งพนักงานบังคับคดี
ขั้นที่ 5 อันตรายของการประนอมหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้
การปรับโครงสร้างหนี้, ประนอมหนี้
เมื่อเจ้าหนี้ได้ดำเนินการจนถึงขั้นที่ 4 แล้ว และลูกหนี้ยังไม่ยอมชำระ หรือว่า อายุความของคดีใกล้จะหมดแล้ว (อายุความบัตรเครดิต 2 ปี นับจากการเรียกเก็บเงินครั้งสุดท้าย)
เจ้าหนี้จะเปลี่ยนแปลงตัวเองมาเป็นในแนว ยอมลด แลก แจกแถม โดยขอให้ลูกหนี้ทำสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ หรือ จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เหตุผลที่เจ้าหนี้ต้องทำอย่างนั้น เนื่องจาก กรณีเกิดอายุความสิ้นสุด แล้วนำคดีดังกล่าวไปฟ้องร้อง ถ้าลูกหนี้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการต่อสู้เรื่องอายุความ เจ้าหนี้ก็จะแพ้คดี และจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้จากลูกหนี้
การจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงเป็นวิธีการหนึ่งของนักกฎหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสัญญา เพราะถ้าเป็นบัตรเครดิต จะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับตั้งแต่การเรียกเก็บเงินครั้งสุดท้าย แต่กรณีเปลี่ยนสัญญามาเป็นสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อายุความจะเปลี่ยนแปลงเป็น 10 ปี อีกทั้งเจ้าหนี้สามารถเรียกดอกเบี้ยพิเศษตามสัญญาฉบับดังกล่าวได้
ดังนั้น วิธีในการแก้ไขปัญหาในขั้นตอนนี้ก็คือ ปฏิเสธการจัดทำสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น และบอกกับเจ้าหนี้ให้ดำเนินคดีไปตามปกติ
ขั้นที่ 6 แนวทางปฏิบัติเมื่อคดีความที่เข้าสู่ศาลแพ่ง
ขั้นตอนนี้มักจะเกิดจากลูกหนี้ไม่ชำระหรือว่าไม่สามารถจะขอส่วนลดปิดบัญชี (hair cut) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้แต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป เช่น เจ้าหนี้บางรายมีการกำหนดว่าถ้ากรุงเทพฯ ยอดเงินเช่น 30,000 บาท ถึงจะฟ้องร้อง หรือ ถ้าเป็นต่างจังหวัด ต้องมียอดเงิน ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ส่วนในบางรายซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เงินจำนวนหลักร้อยและหลักพันก็ฟ้องแล้ว เราควรจะติดต่อทนายความเอาไว้บ้าง
ส่วนใครมาถึงขั้นตอนนี้แล้วถือได้ว่ามาใกล้ๆ อุโมงค์ทางออกแล้ว ซึ่งผู้เขียนมีคำแนะนำดังนี้
1. วันไปขั้นศาล ควรปรึกษาทนายความและไปทุกนัด เพราะการไปดีกว่าการไม่ไป
2. นัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย
2.1 กรณีเจ้าหนี้และลูกหนี้ ตกลงกันได้ในยอดหนี้ ดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ขั้นตอนและวิธีการจะมีดังนี้
2.1.1 ตนเองลงนามหรือจะมอบหมายให้ทนายความลงนามในบันทึกการไกล่เกลี่ย และจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเรียก โจทก์ และจำเลย กรณีมีการมอบหมายให้ทนายความดำเนินการ ทนายความก็จะลงชื่อด้วย
2.1.2 เจ้าหน้าที่ศาล จะดำเนินการจัดทำคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ได้ตกลงกันตาม 2.1.1 ไปให้ผู้พิพากษาลงนามโดยท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าเจ้าหนี้และ ลูกหนี้ ซึ่งรวมถึงต่อหน้าทนายความด้วย
2.1.2 เมื่อผู้พิพากษาได้ดำเนินการตาม 2.1.2 แล้ว เจ้าหนี้และลูกหนี้และทนายความก็จะลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา และรับมอบคำพิพากษาจากเจ้าหน้าที่ของศาล โดยต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น
2.1.3 กรณีขั้นตอนนี้ เป็นกรณีที่สามารถตกลงกันได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสำเร็จเนื่องจากเจ้าหนี้ไม่ค่อยจะยอมตามเงื่อนไขของ ลูกหนี้
แต่ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะเข้าสู่การดำเนินการตามข้อ 2.2
2.2 หากเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่สามารถตกลงในนัดไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหน้าที่ศาลจะจะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันใน การไกล่เกลี่ยก็จะไม่นำกลับมาพิจารณา
ดังนั้นเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ขอแนะนำวิธีการในการเจรจากับเจ้าหนี้ดัง
- เมื่อมาศาลจะพบทนายความของเจ้าหนี้ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมลูกหนี้ก็ขอเลื่อนคดี เพื่อยืดระยะเวลาออกไป เช่น อ้างว่าจะมีรายรับอีกประมาณ สองถึงสามเดือนข้างหน้า
- หรือการยื่นคำให้การ ซึ่งวิธีนี้จะต้องมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้จัดทำคำให้การ โดยสามารถตกลงค่าใช้จ่ายกับทนายความได้
- ระหว่างยืดระยะเวลาออกไปนั้น ต้องสะสมเงินเพื่อชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระ หรือการขอส่วนลดปิดบัญชี
3. นัดสืบพยาน
นัดนี้กรณีมีการยื่นคำให้การ ก็จะเข้าสู่การสืบพยาน โดยผู้พิพากษาจะฟังความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้ และเมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ก็จะเข้าสู่การนัดฟังคำพิพากษา
4. นัดฟังคำพิพากษา
ในวันดังกล่าวยังสามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ศาลก็จะอ่านคำพิพากษาไป
ขั้นที่ 7 แนวทางปฏิบัติหลังศาลตัดสินแล้ว
เมื่อมีคำพิพากษาแล้ว ขั้นตอนนี้คงเป็นช่องทางที่ลูกหนี้จะเลือกจ่ายหนี้ด้วยวิธีใด ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันบ้างตามรายละเอียดของลูกหนี้และทรัพย์สินของ ลูกหนี้
1. กรณีลูกหนี้มีเงินเดือนสูง ควรจะเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอส่วนลดและปิดบัญชี เนื่องจากถ้าลูกหนี้ยอมให้เจ้าหนี้อายัดเงินเดือน ก็จะเป็นเงินจำนวนที่สูง เพราะเจ้าหนี้จะสามารถอายัดเงินเดือนได้ 30% จากเงินเดือน
2. กรณีลูกหนี้มีทรัพย์สินจำนวนมาก ลูกหนี้ควรจะเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอส่วนลดและปิดบัญชี เพราะถ้าไม่ดำเนินการตามนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะบังคับคดีจากทรัพย์สิน โดยทำการยึดทรัพย์และขายทอดตลาด
3. กรณีลูกหนี้ไม่มีเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สิน ตรงนี้ลูกหนี้ก็จะได้รับประโยชน์ในการเจรจา เพราะเมื่อเจ้าหนี้ไปสืบทรัพย์แล้วพบว่าลูกหนี้ไม่มีเงินเดือนและทรัพย์สิน อื่นๆ คาดว่าน่าจะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แล้ว การเจรจาขอส่วนลดและปิดบัญชี เจ้าหนี้น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งการเจรจาในลักษณะนี้ อาจจะสามารถลดหนี้ได้มากกว่า 50% ส่วนถ้าลูกหนี้ไม่ดำเนินการอะไรก็จะไม่ถูกบังคับคดีเนื่องจากไม่มีทรัพย์สิน ใดๆ ให้ยึด แต่จะมีติดเพียงประวัติในเครดิตบูโร หรือที่เรียกว่า black list เท่านั้นจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สุดท้ายนี้ ก็หวังว่า 7 ขั้นตอนพิชิตหนี้ จะสามารถช่วยผู้เข้าร่วมฟังสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะกดดัน หาทางหมุนเงินเพื่อชำระหนี้ขั้นต่ำ อาจะเป็น5%, 10% ของยอดหนี้ การเตรียมตัวเบื้องต้น คือ
1.หยุดการก่อหนี้เพิ่ม
การที่เราเป็นหนี้สินมากมายก็เนื่องจากเราไม่สามารถห้ามใจในการจะใช้เงินกู้ เช่น รูดบัตรเครดิตซื้อของที่เราอยากได้
การเริ่มต้นในการแก้ปัญหาคือ การหยุดก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะแนวทางแก้ปัญหาหนี้ที่ชอบใช้กันทั่วไปคือ การกู้เงินจากแหล่งหนึ่งไปชำระหนี้อีกแหล่งหนึ่งซึ่งรวมถึงหนี้นอกระบบ เช่น โต๊ะเงินกู้แถวบ้าน วิธีการนี้ยิ่งทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อาจจะสร้างปัญหามากขึ้น
2. จัดทำบัญชีรับ-จ่าย
ขั้นตอนนี้คือ เราต้องมาจัดทำบัญชีส่วนตัวของเราว่า มีรายได้อะไรบ้าง และต้องมีรายจ่ายอะไรบ้าง เงินคงเหลือสุทธิเท่าใด และความสามารถในการชำระหนี้มีมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น
(หน่วย : บาท)
ลำดับ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ
1 เงินเดือน 20,000
2 รายได้อื่นๆ 10,000
3 ค่าใช้จ่าย 1 10,000
4 ค่าใช้จ่าย 2 10,000
รวม 30,000 20,000 10,000
จากตารางจะเห็นได้ว่าเงินคงเหลือจำนวน 10,000 บาท จะเป็นเงินได้สุทธิ ที่สามารถนำไปชำระหนี้ต่อเดือนได้มากน้อยเพียงใด
3. จัดทำบัญชีหนี้สิน แยกประเภท
ขั้นตอนนี้คือ เราต้องนำหนี้สินทั้งหมดมาทำบัญชี ว่ามีมูลหนี้ที่เหลืออยู่เท่าใด มีภาระที่ต้องชำระเท่าใดต่อเดือน เพื่อให้สามารถประเมินได้ ตัวอย่าง
(หน่วย: บาท)
ลำดับ ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้ ภาระที่ต้องชำระ
1 ธนาคาร 1 30,000 3,000
2 ธนาคาร 2 30,000 3,000
3 ธนาคาร 3 40,000 4,000
ยอดรวม 100,000 10,000
จากตารางข้างต้น จะเห็นได้การจัดทำบัญชี จะทำให้เห็นภาพรวมว่ามีเจ้าหนี้รวมทั้งหมดกี่ราย มียอดหนี้รวมเท่าใด และมีภาระหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละเดือนใดเท่า ประโยชน์ก็คือเราจะทราบถึงสถานะปัจจุบันของหนี้สินได้
4. หยุดจ่าย
กรณีตรวจสอบแล้วพบว่า มีหนี้สินมากมายจนไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้ว ควรหยุดจ่าย
กรณีเป็นหนี้ในระบบ สิ่งที่ต้องพึ่งระวังคือ หนี้ที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินเดียวกับธนาคารที่คุณมีรายได้เข้า หรือมีเงินฝากอยู่ เพราะเจ้าหนี้จะทราบความเคลื่อนไหวของคุณและเมื่อถึงเวลาที่เจ้าหนี้จะฟ้อง คุณ เจ้าหนี้จะสามารถขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ได้
กรณีเป็นหนี้นอกระบบ สิ่งที่ต้องพึ่งระวังคือ ชีวิตและทรัพย์สินที่จะถูกเจ้าหนี้ประเภทหนี้ตาม
หลังจากการหยุดจ่าย ควรแจ้งให้คนในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด หรือเพื่อนร่วมงาน หรือเจ้านาย เพื่อให้รับทราบจะได้ไม่ตกใจกรณีมีเจ้าหนี้มาติดต่อหรือมาเล่าเรื่องหนี้ของ คุณ
5. ขอส่วนลดปิดบัญชี (hair cut)
การแก้ปัญหาหนี้ที่ดีสุดคือ การนำเงินสดของเราที่สะสมมาใช้ในการชำระหนี้ ไม่ควรกู้ยืมจากที่อื่นมาชำระ นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหา
การขอส่วนลดปิดบัญชี หรือเรียกว่า แฮร์คัท ไม่ได้เกี่ยวกับการตัดผมแต่อย่างใด แต่เป็นการความตั้งใจของลูกหนี้ที่จะชำระหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้และ ชำระภายในครั้งเดียว หรือ อาจจะหลายครั้งซึ่งต้องเป็นไปตามความต้องการของลูกหนี้และเจ้าหนี้ ตัวอย่างเช่น
ลูกหนี้มียอดหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท แต่ขอเจรจากับเจ้าหนี้ว่าจะชำระเพียง 50,000บาท เพื่อขอปิดบัญชี ซึ่งจะเห็นได้ว่าลูกหนี้ได้ขอส่วนลดจำนวน 50,000 บาท โดยหลักการแล้ว ลูกหนี้ก็มักจะมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ทำแฮร์คัทให้เพื่อความสะดวกและได้ ประโยชน์สูงสุด
ขั้นที่ 2 ช่วงเวลารับมือ
ช่วงเวลารับมือ เป็นช่วงระหว่างที่เราตัดสินใจหยุดจ่าย ซึ่งก็จะประมาณ 1- 15 วัน ก็จะมีเจ้าหนี้โทรศัพท์มาตามหนี้กันอย่างเต็มที่ วิธีการมีดังนี้
1. แจ้งหัวหน้างาน
ทำไมต้องมีการแจ้งหัวหน้างาน เนื่องจากวิธีหนึ่งที่เจ้าหนี้จะทำได้คือ แจ้งหัวหน้างานของลูกหนี้ เพื่อให้หัวหน้างานหัวเสียกับลูกหนี้และมากดดันให้ลูกหนี้ต้องรีบชำระหนี้
วิธีการในการแก้ไข คือ แจ้งหัวหน้าว่า เรามีหนี้อะไรบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าใด และอาจจะออกตัวว่า ตนเองยินดีให้หัวหน้างานหักเงินเดือนได้ เพราะช่วงเวลาหลังจากนี้แล้วเจ้าหนี้จะโทรมาตามทวงตลอด ซึ่งอาจจะเป็นเวลางาน หรือ ขอทำงานเกินเวลากำหนด เช่น ปกติเราทำงานตั้งแต่ 8.30 – 16.30 นาฬิกา เราก็อาจจะขอทำเพิ่มจนถึง 18.00 นาฬิกา
ช่วงนี้อย่ามีปัญหากับหัวหน้าเป็นเด็ดขาด เพราะโอกาสตกงานมีสูง
2 บอกเพื่อนร่วมงาน
นอกจากอาจจะมีปัญหากับหัวหน้างานแล้ว เราอาจจะต้องเสียเพื่อนร่วมงานไปอีกคน เนื่องจาก เจ้าหนี้จะใช้วิธีการโทรศัพท์หาลูกหนี้ โดยกดเบอร์ผิดบ้าง และก็สอบถามผู้รับโทรศัพท์ว่ารู้จักลูกหนี้หรือไม่ และก็มักจะฝากบอกด้วยข้อความแรงๆ เช่น บอกนาย...(ชื่อลูกหนี้) ให้ชำระหนี้ หรือ โทรมาหาบ่อย ให้เพื่อนคอยตามลูกหนี้ให้ เมื่อเพื่อนร่วมงานโดนลักษณะนี้ก็ต้องมีความรู้สึกไม่ดีกับลูกหนี้บ้าง ดังนั้น วิธีแก้ไข ก็คืออาจจะบอกรายละเอียดเหมือนกับบอกหัวหน้างาน ให้เพื่อนรับทราบ และขอความเห็นใจ และพยายามเมื่อไปไหนมาก็อาจจะซื้อของฝากนำมาให้เพื่อนได้ทานอย่างสม่ำเสมอ
3. ต้องมีเงินสดติดตัวเอาไว้
ในขณะที่คุณหยุดชำระหนี้แล้วนั้น คุณควรมีเงินสดติดตัวเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น เงินจำนวนนี้จะมาจากเงินที่คุณจะต้องนำไปจ่ายให้กับเจ้าหนี้
คำแนะนำ คุณจะต้องใช้เงินจำนวนนี้ด้วยความระมัดระวัง ควรใช้ไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นเท่านั้น
และเงินจำนวนนี้เมื่อเก็บได้จำนวนหนึ่ง อาจจะสามารถนำมาชำระหนี้ในรูปแบบการจ่ายแบบขอส่วนลด (hair cut)
4 การโต้ตอบเจ้าหนี้
ตั้งแต่ ข้อ 1-3 เป็นการแนะนำสำหรับการตั้งรับ แต่ข้อ 4 จะแตกต่างกัน นั้นก็คือ การโต้ตอบเจ้าหนี้ การโต้ตอบไม่ได้เป็นการชกต่อยหรือการทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด เป็นการโต้ตอบภายใต้กฎหมาย
4.1 ต้องโต้ตอบบ้าง
ระหว่างถูกตามหนี้ ต้องไม่ใช่รับฟังอย่างเดียว ต้องโต้ตอบบ้าง ตัวอย่างเช่น ระหว่างพูดคุยทางโทรศัพท์ ถ้าเจ้าหนี้หรือพนักงานตามหนี้บอกข้อมูลอะไรผิด ลูกหนี้ก็ตอบโต้ไปบ้าง เพื่อให้เจ้าหนี้รู้ว่า ลูกหนี้ไม่ได้โง่ หรือไม่ได้ติดตามข้อมูล
4.2 ประหยัดเรื่องเวลาเอาไว้
ในการเจรจากับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ประหยัดเรื่องเวลาเอาไว้ เนื่องจากอาจจะอยู่ระหว่างการทำงาน หรือเพื่อนร่วมงานอาจจะต้องการมีสมาธิในการทำงาน กรณีต้องเจรจากับเจ้าหนี้หลายครั้ง ภายในหนึ่งวันไม่น่าจะที่ลูกหนี้จะได้รับประโยชน์ ลูกหนี้ควรจะเจรจาครั้งเดียวให้จบได้ข้อตกลง
4.3 ยืดเวลาในการถูกทวงถาม
ในระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้มักจะพยายามติดตามโดยตลอด โทรศัพท์มาหาทุกวัน ทุกอาทิตย์ เพราะเจ้าหนี้หรือผู้รับมอบหมายอำนาจของเจ้าหนี้จะพยายามให้ลูกหนี้เกิดความ รำคาญ และตัดสินใจชำระหนี้ วิธีการในแก้ไข คือ การยืดเวลาในการถูกทวงถาม ถ้าสามารถทำได้จะทำให้ลูกหนี้มีเวลาตั้งตัวพอสมควร เพราะเมื่อมีการกำหนดระยะเวลาแน่นอนแล้ว เจ้าหนี้มักจะไม่ติดตามจนกว่าจะถึงวันนัด ตัวอย่างเช่น
เจ้าหนี้ : เมื่อไหร่จะชำระหนี้ได้ละ
ลูกหนี้ : อีก 3 เดือน ชำระแน่นอน
เมื่อถึงกำหนดวันนัดก็สามารถยืดเวลาต่อไปได้ โดยหาสาเหตุในการไม่สามารถชำระหนี้ได้ เช่น ช่วงนี้ไม่ค่อยมีงาน เศรษฐกิจไม่ค่อยดี
ขั้นที่ 3 แนวทางรับมือการโดนทวงหนี้
1. ตั้งสติ
การตั้งสติ หมายถึง ไม่ควรจะตกใจกลัว หรือจินตนาการเกี่ยวกับการทวงหนี้ หรือ ฟังจากพวกไม่รู้จริง นั้นก็อาจจะทำให้เราไม่สบายใจ
วิธีการแก้ไข คือ การศึกษาจากผู้รู้จริง เช่น ทนายความ เพื่อทราบขอบเขตการทวงหนี้ ว่ามีอย่างไรบ้าง เมื่อมีการหยุดจ่ายแล้ว จะมีขั้นตอนอย่างไรของเจ้าหนี้
จริงๆ แล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิเพียงการส่งเอกสารทวงหนี้ และโทรศัพท์ทวงให้ชำระเท่านั้น กรณีทำอย่างอื่น เช่น ขู่กรรโชก โทรศัพท์มาแกล้ง หมิ่นประมาท ด่าหรือต่อว่าเรา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย รับทราบการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย และพยายามดำเนินการกับธนาคารฯ เจ้าหนี้ ที่ปล่อยให้สำนักงานกฎหมายใช้วิธีการทวงที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น ตั้งสติ ในที่นี้ก็คือ การหาความรู้ และเข้าใจขอบเขต และรู้ว่าเจ้าหนี้สามารถทำอะไรกับเราได้บ้าง และผลรับมีอะไรบ้าง
2. ทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตการทวงหนี้
ขั้นตอนนี้ จะต่อจากการตั้งสติว่า คุณต้องทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตการทวงหนี้ โดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอนดังนี้
2.1 เมื่อคุณหยุดชำระหนี้ ภายใน 1 เดือน ปกติแล้วเจ้าหนี้หรือธนาคาร จะติดต่อมาด้วยตนเอง เป็นเอกสาร มักจะมีข้อความ ตัวอย่างเช่น
“เอกสารฉบับนี้ ต้องการแจ้งสิทธิของการชำระหนี้ ถ้าคุณสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดก็จะได้รับการบริการปกติ”
2.2 เมื่อผ่านข้อ 2.1 เจ้าหนี้หรือธนาคารก็จะติดต่อมาด้วยตนเองโดยทางโทรศัพท์ อาจจะเป็นฝ่ายพัฒนาหนี้ ช่วงนี้จะไม่รุนแรง เป็นการให้ข้อมูล และเจรจาด้วยภาษาดอกไม้
2.3 เมื่อผ่านข้อ 2.1และ 2.2 แล้วและลูกหนี้ไม่ชำระ ธนาคารหรือเจ้าหนี้จะมอบอำนาจให้สำนักงานกฎหมายที่รับคดีจากธนาคาร
คราวนี้เริ่มจะรุนแรง เนื่องจากพนักงานตามหนี้จะได้รับเงินเดือนจากสำนักงานกฎหมายไม่มาก แต่จะได้รับเงินพิเศษจากการทวงหนี้ได้ ขั้นตอนนี้จึงเกิดความรุนแรงมากขึ้น
ความจริงในทัศนะของผู้เขียน เชื่อว่า ธนาคาร หรือ เจ้าหนี้คงไม่ต้องการใช้ความรุนแรง แต่สำนักงานกฎหมาย โดยเฉพาะพนักงานตามหนี้ ต้องการเร่งหารายได้ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น ด่าลูกหนี้ หมิ่นประมาท
2.4 เมื่อลูกหนี้อดทนจนถึงขั้นนี้แล้ว การด่าหรือการต่อว่า ไม่สามารถทำอะไรลูกหนี้ได้ จึงต้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ คือ ฟ้องและดำเนินคดี ซึ่งขั้นตอนนี้จะกล่าวโดยละเอียดในขั้นที่6
เมื่อทราบขอบเขตการทวงหนี้ได้แล้ว ตอนนี้ก็ไม่น่ากลัวอะไรอีก เพราะวงจรก็มีเพียงเท่านี้
3 เมื่อมีการติดตามทวงหนี้จากเจ้าหนี้ที่ผิดขั้นตอนหรือเข้าใจว่าไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายลูกหนี้สามารถดำเนินการร้องเรียนธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเอกสาร และโทรศัพท์ไปร้องเรียน ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้และบริษัทที่รับดำเนินการให้จะเกรงกลัวธนาคารแห่งประเทศ ไทย
ขั้นที่ 4 การรับมือกับการทวงหนี้ชนิดรุนแรงในช่วงแรก
1. จิตใจเข้มแข็ง
การทำให้จิตใจเข้มแข็งนั้น คุณต้องทราบก่อนว่าขอบเขตการทวงหนี้มีอะไรบ้าง และคุณต้องเข้าใจว่าสิทธิของลูกหนี้มีอะไรบ้าง
เมื่อคุณทราบแล้ว คุณก็จะไม่กลัว เมื่อคุณไม่กลัวจิตใจคุณจะเข้มแข็งมากขึ้น
2. ที่ทำงานหรือบ้านของคุณเป็นพื้นที่ส่วนตัว
ส่วนใหญ่เจ้าหนี้มักจะชอบโทรศัพท์ว่าจะมาพบคุณที่ทำงาน หรือ ที่บ้าน เพื่อให้คุณชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ กรณีอยู่นอกบ้านหรือที่ทำงานสามารถทำได้ แต่การที่เจ้าหนี้หรือเจ้าหน้าที่ของเจ้าหนี้จะเข้ามาภายในให้ได้นั้น คงไม่สามารถให้เจ้าหนี้ทำอย่างนั้นได้ วิธีการแก้ไข คือ ร้องทุกข์(แจ้งความ) กับตำรวจในท้องที่เพื่อให้เข้าระงับเหตุการณ์และดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ให้ถึง ที่สุด
กรณีอื่นที่เจ้าหนี้มักจะทำเช่น ข่มขู่ หมิ่นประมาท ฯลฯ ลูกหนี้ก็สามารถแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนได้
3. เมื่อแจ้งความร้องทุกข์แล้ว เพื่อขยายผลให้เจ้าหนี้เกรงกลัวที่จะไม่กระทำผิดกฎหมาย
วิธีการมีดังนี้ ให้นำสำเนาบันทึกการแจ้งความที่คุณได้ดำเนินการแล้วตาม ข้อ 2 มาเป็นเอกสารแนบท้ายหนังสือร้องเรียน ซึ่งในหนังสือร้องเรียน ต้องมีรายละเอียดดังนี้
3.1 เรื่องราวที่คุณถูกกระทำจากเจ้าหนี้ โดยละเอียด
3.2 ชื่อเจ้าหนี้หรือธนาคาร และบริษัทที่ดำเนินการ
3.3 ในตอนท้ายของหนังสือร้องเรียน ควรมีคำว่าสำเนาส่ง ยังหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี สภาทนายความ และสุดท้าย สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
โดยนำหนังสือร้องเรียนฉบับนี้ส่งไปยังเจ้าหนี้หรือสำนักงานกฎหมาย ที่รับทวงหนี้ให้เพื่อปรามมิให้มีพฤติกรรมการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย
4. วิธีการทวงหนี้ในขั้นตอนนี้มีดังนี้
4.1 เจ้าหนี้ทวงหนี้ด้วยตนเอง
4.2 ว่าจ้างบุคคลภายนอก เช่น สำนักงานกฎหมาย ตามหนี้
4.3 ใช้วิธีการข่มขู่จะว่าจะดำเนินคดีกับลูกหนี้
4.4 ในระหว่างการเจรจาใช้คำพูดหยาบคาย
4.5 แสดงท่าทางเป็นนักเลงในระหว่างการเจรจา
4.6 กรณีผิดนัด 1-2 งวด จะมอบหมายให้พนักงานโทรศัพท์ทวง หนี้ ส่วนใหญ่จะโทรเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) บ้าน, ที่ทำงาน การเจรจาจะไม่ค่อยสุภาพ แต่จะพยายามให้ลูกหนี้ใช้หนี้
4.7 เมื่อครบ 3 เดือนลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะส่งฝ่ายกฎหมาย หรือฝ่ายพัฒนาหนี้ หรือสำนักงานกฎหมายภายนอกเพื่อติดตามให้
ซึ่งการติดตามก็จะแตกต่างกันไปตามอายุของหนี้
4.8 มีการเขียนจดหมายข่มขู่ อนุมัติฟ้องภายใน 24 ชม. ภายใน 48 ชม. ในการปฏิบัติจะมีการประทับตราสีแดง อนุมัติฟ้อง และเขียนชื่อลูกหนี้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็เพื่อกดดันลูกหนี้
4.9 อาจจะข้อความว่าหากไม่จ่ายภายใน 3 วัน จะพาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมดำเนินคดี ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ทางแพ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับเอาทรัพย์สิน ไม่มีการติดคุกอย่างแน่นอน
4.10 เจ้าหนี้จะมีเอกสารว่าจะชื่อของลูกหนี้เข้า black list (บัญชีดำ) ต่อไปท่านไม่สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินได้ ฟ้องล้มละลาย และไม่สามารถเดินทางออกต่างประเทศได้
4. 11 ให้เจ้าหน้าที่มาเฝ้าที่ทำงานของลูกหนี้ หรือการเข้ามาหาในที่ทำงาน กรณีดังกล่าวไม่สามารถทำได้เป็นการคุกคามและบุกรุก 4.12. มีการเขียนไปรษณียบัตร ส่งตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง
4.13 มีการโทรหา ภรรยา ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน พูดทวงหนี้ เช่น นาย...(ชื่อลูกหนี้) เป็นคนที่ไม่ยอมใช้หนี้
4.14 การส่ง fax มีรายละเอียดเกี่ยวกับลูกหนี้และข้อความเกี่ยวกับหนี้ ไปยังบุคคลภายนอก
4.15 จดหมายจากสำนักงานกฎหมายว่า หากคุณไม่ชำระ จะเข้ายึดทรัพย์ และยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน ซึ่งในความจริงกว่าที่จะมีการยึดทรัพย์ได้ ต้องมีการฟ้องร้องดำเนินคดีก่อน และต้องมีคำสั่งศาลตั้งพนักงานบังคับคดี
ขั้นที่ 5 อันตรายของการประนอมหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้
การปรับโครงสร้างหนี้, ประนอมหนี้
เมื่อเจ้าหนี้ได้ดำเนินการจนถึงขั้นที่ 4 แล้ว และลูกหนี้ยังไม่ยอมชำระ หรือว่า อายุความของคดีใกล้จะหมดแล้ว (อายุความบัตรเครดิต 2 ปี นับจากการเรียกเก็บเงินครั้งสุดท้าย)
เจ้าหนี้จะเปลี่ยนแปลงตัวเองมาเป็นในแนว ยอมลด แลก แจกแถม โดยขอให้ลูกหนี้ทำสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ หรือ จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เหตุผลที่เจ้าหนี้ต้องทำอย่างนั้น เนื่องจาก กรณีเกิดอายุความสิ้นสุด แล้วนำคดีดังกล่าวไปฟ้องร้อง ถ้าลูกหนี้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการต่อสู้เรื่องอายุความ เจ้าหนี้ก็จะแพ้คดี และจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้จากลูกหนี้
การจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงเป็นวิธีการหนึ่งของนักกฎหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสัญญา เพราะถ้าเป็นบัตรเครดิต จะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับตั้งแต่การเรียกเก็บเงินครั้งสุดท้าย แต่กรณีเปลี่ยนสัญญามาเป็นสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อายุความจะเปลี่ยนแปลงเป็น 10 ปี อีกทั้งเจ้าหนี้สามารถเรียกดอกเบี้ยพิเศษตามสัญญาฉบับดังกล่าวได้
ดังนั้น วิธีในการแก้ไขปัญหาในขั้นตอนนี้ก็คือ ปฏิเสธการจัดทำสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น และบอกกับเจ้าหนี้ให้ดำเนินคดีไปตามปกติ
ขั้นที่ 6 แนวทางปฏิบัติเมื่อคดีความที่เข้าสู่ศาลแพ่ง
ขั้นตอนนี้มักจะเกิดจากลูกหนี้ไม่ชำระหรือว่าไม่สามารถจะขอส่วนลดปิดบัญชี (hair cut) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้แต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป เช่น เจ้าหนี้บางรายมีการกำหนดว่าถ้ากรุงเทพฯ ยอดเงินเช่น 30,000 บาท ถึงจะฟ้องร้อง หรือ ถ้าเป็นต่างจังหวัด ต้องมียอดเงิน ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ส่วนในบางรายซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เงินจำนวนหลักร้อยและหลักพันก็ฟ้องแล้ว เราควรจะติดต่อทนายความเอาไว้บ้าง
ส่วนใครมาถึงขั้นตอนนี้แล้วถือได้ว่ามาใกล้ๆ อุโมงค์ทางออกแล้ว ซึ่งผู้เขียนมีคำแนะนำดังนี้
1. วันไปขั้นศาล ควรปรึกษาทนายความและไปทุกนัด เพราะการไปดีกว่าการไม่ไป
2. นัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย
2.1 กรณีเจ้าหนี้และลูกหนี้ ตกลงกันได้ในยอดหนี้ ดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ขั้นตอนและวิธีการจะมีดังนี้
2.1.1 ตนเองลงนามหรือจะมอบหมายให้ทนายความลงนามในบันทึกการไกล่เกลี่ย และจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเรียก โจทก์ และจำเลย กรณีมีการมอบหมายให้ทนายความดำเนินการ ทนายความก็จะลงชื่อด้วย
2.1.2 เจ้าหน้าที่ศาล จะดำเนินการจัดทำคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ได้ตกลงกันตาม 2.1.1 ไปให้ผู้พิพากษาลงนามโดยท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าเจ้าหนี้และ ลูกหนี้ ซึ่งรวมถึงต่อหน้าทนายความด้วย
2.1.2 เมื่อผู้พิพากษาได้ดำเนินการตาม 2.1.2 แล้ว เจ้าหนี้และลูกหนี้และทนายความก็จะลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา และรับมอบคำพิพากษาจากเจ้าหน้าที่ของศาล โดยต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น
2.1.3 กรณีขั้นตอนนี้ เป็นกรณีที่สามารถตกลงกันได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสำเร็จเนื่องจากเจ้าหนี้ไม่ค่อยจะยอมตามเงื่อนไขของ ลูกหนี้
แต่ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะเข้าสู่การดำเนินการตามข้อ 2.2
2.2 หากเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่สามารถตกลงในนัดไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหน้าที่ศาลจะจะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันใน การไกล่เกลี่ยก็จะไม่นำกลับมาพิจารณา
ดังนั้นเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ขอแนะนำวิธีการในการเจรจากับเจ้าหนี้ดัง
- เมื่อมาศาลจะพบทนายความของเจ้าหนี้ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมลูกหนี้ก็ขอเลื่อนคดี เพื่อยืดระยะเวลาออกไป เช่น อ้างว่าจะมีรายรับอีกประมาณ สองถึงสามเดือนข้างหน้า
- หรือการยื่นคำให้การ ซึ่งวิธีนี้จะต้องมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้จัดทำคำให้การ โดยสามารถตกลงค่าใช้จ่ายกับทนายความได้
- ระหว่างยืดระยะเวลาออกไปนั้น ต้องสะสมเงินเพื่อชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระ หรือการขอส่วนลดปิดบัญชี
3. นัดสืบพยาน
นัดนี้กรณีมีการยื่นคำให้การ ก็จะเข้าสู่การสืบพยาน โดยผู้พิพากษาจะฟังความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้ และเมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ก็จะเข้าสู่การนัดฟังคำพิพากษา
4. นัดฟังคำพิพากษา
ในวันดังกล่าวยังสามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ศาลก็จะอ่านคำพิพากษาไป
ขั้นที่ 7 แนวทางปฏิบัติหลังศาลตัดสินแล้ว
เมื่อมีคำพิพากษาแล้ว ขั้นตอนนี้คงเป็นช่องทางที่ลูกหนี้จะเลือกจ่ายหนี้ด้วยวิธีใด ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันบ้างตามรายละเอียดของลูกหนี้และทรัพย์สินของ ลูกหนี้
1. กรณีลูกหนี้มีเงินเดือนสูง ควรจะเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอส่วนลดและปิดบัญชี เนื่องจากถ้าลูกหนี้ยอมให้เจ้าหนี้อายัดเงินเดือน ก็จะเป็นเงินจำนวนที่สูง เพราะเจ้าหนี้จะสามารถอายัดเงินเดือนได้ 30% จากเงินเดือน
2. กรณีลูกหนี้มีทรัพย์สินจำนวนมาก ลูกหนี้ควรจะเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอส่วนลดและปิดบัญชี เพราะถ้าไม่ดำเนินการตามนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะบังคับคดีจากทรัพย์สิน โดยทำการยึดทรัพย์และขายทอดตลาด
3. กรณีลูกหนี้ไม่มีเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สิน ตรงนี้ลูกหนี้ก็จะได้รับประโยชน์ในการเจรจา เพราะเมื่อเจ้าหนี้ไปสืบทรัพย์แล้วพบว่าลูกหนี้ไม่มีเงินเดือนและทรัพย์สิน อื่นๆ คาดว่าน่าจะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แล้ว การเจรจาขอส่วนลดและปิดบัญชี เจ้าหนี้น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งการเจรจาในลักษณะนี้ อาจจะสามารถลดหนี้ได้มากกว่า 50% ส่วนถ้าลูกหนี้ไม่ดำเนินการอะไรก็จะไม่ถูกบังคับคดีเนื่องจากไม่มีทรัพย์สิน ใดๆ ให้ยึด แต่จะมีติดเพียงประวัติในเครดิตบูโร หรือที่เรียกว่า black list เท่านั้นจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สุดท้ายนี้ ก็หวังว่า 7 ขั้นตอนพิชิตหนี้ จะสามารถช่วยผู้เข้าร่วมฟังสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น