ก้าวแรกก่อนทำธุรกิจส่วนตัว


ก้าวแรกของธุรกิจ...มักยากเสมอสำหรับผู้เริ่มต้น  การเริ่มต้นทำธุรกิจสำหรับเถ้าแก่ใหม่ทั้งหลาย คำถามแรกมักเกิดขึ้นมากมาย วันนี้ลองมาดูกันว่า  ก้าวแรก  ก่อนเริ่มต้นธุรกิจมีอะไรให้เรียนรู้บ้าง ?
          ข้อมูลเผยแพร่จากเว็บไซต์ www.ismed. or.th ของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) พูดถึงแนวทางการเริ่มต้นธุรกิจว่าควรเริ่มจากการหาข้อมูล 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ...
          1.วัดกำลังตนเอง
          = ประเมินว่ามีคุณสมบัติพอที่จะทำธุรกิจนั้นหรือไม่ ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน กล้าตัดสินใจพอไหม
          = เลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะกับตน พิจารณาจากความชอบ ความถนัดเป็นหลัก และสำรวจฐานะทางการเงินหรือประเมินว่ามีเพียงพอหรือไม่
          = จัดแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ เช่น เงินใช้จ่าย เงินลงทุน หรือเงินสำหรับฝากธนาคาร หรือแหล่งเงินกู้
          = ทำเลที่ตั้ง หากมีสถานที่ของตนเอง ทำเลดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากไม่มีควรมองที่เหมาะสมกับธุรกิจ และต้องคำนึงถึงว่าทำเลนั้นควรซื้อหรือเช่าดี ที่สำคัญต้องศึกษาสัญญาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
          2.สอดส่องตลาด-คู่แข่ง
          - รู้ข้อมูลของลูกค้า สำรวจความต้องการในตลาดว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะกับลูกค้าชนิดไหน
          - รู้ข้อมูลคู่แข่ง ต้องทราบว่าคู่แข่งเราเป็นอย่างไร จุดเด่น-จุดด้อยอยู่ตรงไหน
          3.การจัดตั้งองค์กรธุรกิจ
          = ต้องชัดเจนว่าธุรกิจทำอะไร ที่ไหน อย่างไร คำนึงว่าเมื่อจัดตั้งแล้วสามารถทำตามได้หรือไม่
          = รูปแบบองค์กรมีหลายลักษณะ อาทิ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ซึ่งเงื่อนไขในความรับผิดชอบแตกต่างกัน
          = การหาแหล่งเงินทุนจัดตั้ง ปกติมาจาก 2 แหล่งใหญ่คือ เงินทุนในมือ และเงินจากการกู้ยืม ซึ่งการกู้เงินสำหรับมือใหม่อาจเป็นเรื่องยากเนื่องจากขาดเครดิต แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา-สถานะการเงินก็ช่วยได้
          = สินค้าหรือบริการที่ผลิต ต้องสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และต้องมีเอกลักษณ์
          = การจัดจำหน่ายสินค้า ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของตลาดว่าจะจัดจำหน่ายลักษณะใด อาทิ ขายตรงกับผู้บริโภค ผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือมีผู้แทนจำหน่าย หรือจะผสมผสานหลายวิธีไว้ด้วยกัน
          = การจัดการการเงิน ต้องวางแผนใช้จ่ายเงินให้หมุนเวียนตลอด สิ่งที่จะช่วยให้รู้ฐานะการเงินคือการทำบัญชี ต้องแบ่งเงินทุนหมุนเวียนไว้เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการ ต้องควบคุมให้สมดุล มิฉะนั้นจะมีปัญหา
          = พนักงานก็สำคัญ กิจการจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จอยู่ตรงนี้ ถ้านายจ้างดูแลทั่วถึง เป็นธรรม ขวัญกำลังใจในการทำงานของลูกจ้างย่อมดี และจะส่งผลดีต่อกิจการ
          ทั้งหมดนี้คือบันไดขั้นแรกสำหรับโลกของ  เถ้าแก่ใหม่   ของธุรกิจ SMEs ทั้งหลาย !!.--จบ--

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

ประสบการณ์ไปศาลคดี บัตรเครดิต UOB

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต