บทความ

ก่อนเกษียณ อย่าลืม ทบทวนรายจ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ

รูปภาพ
  ก่อนเกษียณ 10-15 ปีควรทำอะไร 1 ในสิ่งที่ควรทำคือ ทบทวนรายจ่ายเกี่ยวกับสุ่ขภาพ ดูสุขภาพตัวเอง มีโรคประจำไหม ดีหรือไม่ดี และเงินสำรองเพียงพอที่จะจ่ายเบี้ยหรือไม่ 1. เคสที่ 1 มีเงินพอ แต่สุขภาพไม่ดี บริษัทไม่รับทำ ต้องตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพ เก็บเงินและลงทุนเอง 2. เคสที่ 2 มีเงินสำรองเพียงพอ และสุขภาพดี บริษัทประกันรับทำ ควรมีการวางแผนเรืองแหล่งรายได้ไว้ชำระเบี้ยหลังเกษียณด้วย เพราะเบี้ยอาจจะมีปรับเบี้ยเพิ่มตามอายุ อาจจะใช้เงินจากประกันบำนาญ หรือ บำนาญชราภาพจากประกันสังคม รวมๆกันไปจ่ายตอนอายุ 55 ขึ้นไป 3. สุขภาพดี แต่ไม่มีเงิน เกษียณแล้วจากประกันสังคมมาตรา 33 อาจจะรับบำนาญ 6เดือน แล้วไปสมัครมาตรา 39 เพื่อใช้ รพ ประกันสังคม หรือ ไม่รับบำนาญ เข้ามาตรา 39 เลยถ้ารักษากับโรงพยาบาลรัฐต่อเนื่องอยู่ เช่น ฟอกไต แล้วได้โรงพยาบาลใหญ่ๆ อยู่แล้วไม่อยากเปลี่ยนโรงพยาบาล 4. สุขภาพไม่ดี เงินก็ไม่มี บัตรทอง 30 บาท สปสช หรือเปลี่ยนประกันสังคมจาก มาตรา 33 เป็น 39 ไม่ยอมารับบำนาญ อันนี้ต้องคิดให้ดีๆ credit รูปจาก Finnomena. สนใจวางแผนการเงินแบบองค์รวมครอบคลุมทุกด้านของชีวิต ib มาได้ ไม่คิดตังค์จ้า  

ข้อคิดชีวิตกลางคน

  ขอฝากอะไรสักเล็กน้อยจากมนุษย์​เงินเดือนวัยกลางคนดังนี้ 1. ช่วงนี้ข้าวยากหมากแพง​ ข้าวของขึ้นราคา​ อยากให้ทุกคนเตรียม​ของกินของใช้ไว้ให้พอกินอย่างน้อย​ 1 เดือน​ แบบไม่ต้องไปข้างนอก​ น้ำสะอาดต้อง​ ยารักษาโรค​ที่จำเป็นๆก็มีติดบ้านไว้บ้าง 2. การลงทุนมีช่วงนี้มีความผันผวน​ และระบบการเงินโลกกำลังจะเปลี่ยนผ่าน​ ควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง​ 3. ส่วนตัวมีแบ่งพอร์ต​เป็นแบบตราชั่ง​ ข้างนึงเป็นสินทรัพย์​เสี่ยง​ หุ้น​ กองทุน​ คือข้างหนึ่งเป็นเงินสด​ ทองคำ​ และที่ดิน​ ไม่ลงทุนในสิ่งเราไม่แน่ใจ 4. รวย​ จน​ อยุ่ที่พอหรือไม่พอ​ บางคนรายได้เดือนละล้านยังร้อนรน​ อีกคนรายได้สามหมื่นชิวๆ​ 5. อย่าไปเชื่ออะไรในโซเชียลง่ายๆ​ บางอย่างบางคนก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาอยากให้เราเห็นหรอก 6. หาเวลาให้ตัวเองบ้าน​ ดูแล​ รีวิว​ สินทรัพย์​ หนี้สิน​ วางแผนการเงินบ้าง​ อย่างอื่นมีเวลา​ เรื่องของตัวเองแท้ๆ​ 7.​ อิสรภาพทางการเงิน​ ไม่สู้อิสรภาพที่จะตาย คุณพร้อมตายหรือยัง​ ทุกวันนี้ทำบุญ​อธิษฐาน​ ถ้าหมดภาระเลี้ยงดูพ่อแม่แล้ว​ ขอให้ตายง่ายๆ​ อย่าเป็นคนตายยากตายเย็น​ จะตายแล้วหลงไปเป็นเดรัจฉาน​ จะตายแล้วโกรธ​ไปเป็

10 งวด 0% หรือ กู้บัตรเครดิตดอกสูง

  10 งวด 0% หรือ กู้บัตรเครดิตดอกสูง ง่ายใช้เวลาอนุมัติสั้น ผมว่า "ไม่ดี" ต่อสุขภาพการเงินครับ . . ทำงานประจำ เดินเที่ยวห้าง ตาเห็น จมูกได้กลิ่น ใจซื้อ ง่ายๆ ไม่ต้องจ่ายทั้งหมดวันนี้ . . ทำกิจการ เงินขายของ ยังไม่ถึงดิวชำระ ซื้อของส่วนตัว ผ่อนได้หลายงวดอีก เป๋าตุงครับ เงินคนอื่น หาคิดได้ไม่ . . ผลเสีย คนทำงานประจำกลายเป็น "ใช้จ่ายเกินตัว" คนทำกิจการ เงินเยอะบันทึกบัญชีไม่ดี เข้าใจผิด คิดว่ากำไรดีเพราะ"เหลือเงิน" นำเงินไปใช้ "ออกนอกระบบค้าขาย" ถึงกำหนด หนี้หลายสาย เป็นปัญหาใหญ่ "งงมาก" แม่น้ำหนี้ไหลมาจากไหน . . ทางแก้ ทำงานประจำ อยากได้ของใช้ ให้แยกเงินเก็บสะสม ครบแล้วจึงซื้อ เจ้าของกิจการ "หนักแน่นให้มาก" เก็บเงิน รอเจ้าหนี้ีที่จะครบกำหนด คิดถึงจ่ายลูกน้อง ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่า . . ผลดี ควบคุมเงินได้ จะมีสมาธิทำอย่างอื่นเยอะ คิดงานอะไรทำได้หมด โล่งเบาสบาย วินัยต่อตนเอง สำคัญมากๆครับ . . ลองคิดและลงมือทำแบบนี้ดูนะครับ จะรู้ว่า "เงินน่ะคุมง่ายกว่าใจคน" อีกครับ @@@ โชคดี มีเงินใช้ ไม่ขาดมือครับ

แหล่งรายได้หลังเกษียณ

รูปภาพ
  แหล่งรายได้หลังเกษียณ บริษัทเอกชนในไทย จะเกษียณอายุที่ 55 ปีบ้าง 60ปีบ้าง ไม่ได้ทำงานแล้วจะมีรายได้มาจากที่ไหน อันดับแรก ถ้าลูกจ้างได้อยู่ในระบบประกันสังคม ถ้าเกษียณอายุ 55 ก็จะได้บำนาญชราภาพ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ส่งประกันสังคมมากี่ปี    บ้างก็ 4พัน 5พัน 6พัน และสุงสุดก็ 7พันกว่าบาท   ต่อมาเบี้ยคนชราอันน้อยนิด   ได้รับเมื่ออายุ 60   ได้เดือนละ 600 ซื้อหมูซื้อข้าวซื้อไข่ก็หมดแล้ว   อีกทางหนึ่งที่เอามาแหล่งรายได้หลังเกษียณได้ คือ ประกันบำนาญ บำนาญจ่ายที่อายุ 55 หรือ 60   จ่ายไปจนถึง 85 หรือ 90 เป็นการลดความเสี่ยงเรื่องการมีอายุยืนนานเกินไปจนตังค์หมด เป็นเรื่องเศร้าที่ตายแล้วเงินยังใช้ไม่หมด     แต่เป็นเรื่องน่าสลดคือเงินหมดแล้วยังไม่ตาย   ประกันบำนาญดียังไง 1.    คนที่เสียภาษีเอาเบี้ยที่จ่ายแต่ละปีไปลดหย่อนภาษีได้ 2.    รายได้แน่นอน รับเงินเป็นรายปี หรือ รับเป็นรายได้ ให้ความรู้สึกเหมือนได้รับบำนาญ 3.    ยิ่งอายุยืนก็จะได้รับเงินไปจนถึง85 หรือ 90   คิดว่าคนรุ่นนี้อยู่ถึง 4.    ไม่ต้องกังวลประสาทแดรกกับตลาดหุ้น จะขึ้นจะตก ก็ได้เงินทุกปี 5.    แก่แล้วทำ

ประกันสุขภาพสำคัญอยู่นะ

  ประกันสุขภาพสำคัญอยู่นะ เงินเฟ้อว่าเยอะแล้ว แต่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อ มีเงินก็ใช่ว่าจะทำได้   ควรทำเมื่ออายุยังไม่เยอะ และมีกำลังเงินเพียงพอ ประกันเหมาจ่าย ได้ทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน แบบ รับผิดชอบเองส่วนแรก ก็จะทำให้เบี้ยประกันไม่สูงเกินไป อย่างเคสล่าสุด   เพญชาย อายุ 47 มีสวัสดิการบริษัทอยู่แล้ว อยากทำประกันสุขภาพเพิ่มเพราะประกันสุขภาพที่เป็นสวัสดิการบริษัท    จะหมดลงตอนอายุ 60   แต่ถ้าไปทำตอนเกษียณเบี้ยจะแพงมากๆ เลือกเบี้ยให้เหมาะกับฐานะตัวเอง เราส่งไหว สภาพคล่องพอได้ เอาเงินน้อยรักษาเงินใหม่   เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย บางคนเก็บตังค์ลงทุนมาได้ 15 ล้าน   เจอโรคมะเร็งเข้าไป ผ่าตัดอีก   โรงพยาบาลดีหน่อย ก็หลายบาท   เงินที่เก็บมาอาจหายไปในพริบตา   ไม่ได้ enjoy life หลังเกษียณ อุตสาห์อดทนทำงานมาเป็น 10 ปี   จะสบายเสียหน่อยก็มีเหตุ บางคนคิดจะมาทำ   ตอนอายุเยอะ ซึ่งมีก็มีโรคประจำตัวมาแล้ว   บางบริษัทก็ไม่รับทำ   บางบริษัทรับแต่มีเงื่อนไข และเรียกเบี้ยเพิ่ม    ทำไม่ได้เลยก็มี    ประกันโรคร้ายแรงควรมีไว้บ้าง ไม่ได้ใช้ถือเป็นโชคดี   ควรเปรียบเทียบป

สร้างบำนาญขึ้นมาเอง ถ้าเราไม่ได้เป็นข้าราชการ

  ลูกค้าชายอายุ 45 ปี ตอนนี้ทำงานเป็นพนักงานของรัฐ   ไม่ใช่ราชการจึงไม่มีบำนาญ และสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล   มีประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของหน่วยงานเล็กน้อย   เงินเดือนมากกว่าข้าราชการแต่อาจจะไม่ถึงเอกชน ไม่เคยลงทุนที่มีความเสี่ยงมาก่อน เคยแต่ฝากเงินและซื้อหุ้นกู้   ตอนแรกมาด้วยเงิน 3 ล้านบาท และอยากมี 10 ล้านบาทตอนเกษียณอายุ 60   1.     แนะนำให้ทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม   เป็นแบบเหมาจ่าย และมีการรับผิดชอบส่วนแรก เพื่อให้เบี้ยถูกลง เนื่องจากประกันสังคมอาจจะไม่ไปถึงอายุ 60 ถ้าเลือกมารับบำนาญชราภาพ 2.     แนะนำให้สร้างบำนาญหลังเกษียณด้วยตัวเอง   โดย   1.   จัดพอร์ต Retirement Income Solution และเริ่ม build port ตั้งแต่ตอนนี้ ไปให้ถึง 2 ล้านบาท   เพื่อให้ได้ผลตอบแทน 3 % ปีนึง ก็ 60000 ตกเดือนละ 5000 ไม่เสียภาษีเหมือนหุ้นกู้   2. ซื้อประกันบำนาญ   ส่งถึงอายุ 60   และหลังจากอายุ 60 ประกันจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน เดือน 7500 จนถึงอายุ 85 3.     คำนวณบำนาญประกันสังคม     จากอายุงาน จนถึงวันเกษียณ    เขาจะได้เดือน 7400 บาท ทุกเดือนไปจนตาย สรุปรายได้หลังอายุ 60 1.         เบี้ยคน

ราชกิจจาฯเผยแพร่ประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมทวงหนี้ใหม่

  Aug 14) ราชกิจจาฯเผยแพร่ประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมทวงหนี้ใหม่ ไม่เกิน1พันห้ามเรียกเก็บ : เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่องการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทวงถามหนี้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 (1) ประกอบมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้เรื่องการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทวงถามหนี้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับ แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทวงถามหนี้” หมายความว่าจำนวนเงินที่ได้กำหนดไว้เป็นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้จากลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้โดยต้องมีหลักฐานหรือเอกสารเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ ให้สามารถตรวจสอบได้ แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามเอาทรัพย์กลับคืน “รอบการทวงถามหนี้” หมายความว่า รอบระยะเวลาเพื่อการทวงถามหนี้ โดยนับตั้งแต่วันผิดนัดชำระหนี้ข