บทความ

่จะรับมือพวกทวงหนี้อย่างไร

วิธีรับมือการทวงหนี้ โดย คุณนกกระจอกเทศ ประธานชมรมหนี้บัตร ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลแห่งนี้ไม่ได้แนะนำให้เบี้ยวหนี้ ชักดาบ ไม่ยอมจ่ายหนี้ แต่ให้นำไปใช้ศึกษาและรู้เท่าทันในกรณีที่ลูกหนี้ ถูกพวกทวงหนี้ใช้วิธีการทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย เช่น อ้างกฎหมายมาข่มขู่ รบกวนเวลาทำงาน ทำให้เสียชื่อเสียง...ฯลฯ เพือเป็นการปกป้องตัวลูกหนี้เองให้รอดพ้นจากการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น ลูกหนี้จึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินบ้าง แต่ไม่ถึงกับต้องท่องจำกฎหมายหนี้สินมาตราต่างๆ เอาแค่ให้รู้ว่าการทวงหนี้ในลักษณะใดบ้าง ที่เข้าข่ายการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย เพื่อจะได้เตรียมรับมือกับเหล่านักทวงหนี้ได้อย่างเหมาะสม ในทำนอง “ รู้เขา-รู้เรา ” จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเจ้าหนี้และปกป้องรักษาสิทธิ์ของลูกหนี้เอาไว้ ก่อนจะคุยกับผู้ทวงหนี้ ให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกก่อนเลยโดยการสอบถาม ชื่อ-นามสกุลจริง ของคนที่มาทวงหนี้ก่อน และที่สำคัญต้องขอเบอร์โทรศัพท์สำนักงาน(ไม่ใช่เบอร์มือถือ)ที่เขาทำงานอยู่ รวมถึงชื่อสำนักงานของนักทวงหนี้เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกมากกว่าที่

กฏหมายใหม่การอายัดเงินเดือน

วันนี้ ( 11 ก.ค. 60) – น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า ในวันที่ 4 กันยายน 2560 เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทไม่ได้อีกแล้ว ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ที่จะมีผลบังคับใช้โดยกฎหมาย ที่ระบุใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ที่ กฎหมายได้ปรับรายได้หรือเงินเดือน จากเดิมกำหนดว่า 1 หมื่นบาทแรก เป็น 2 หมื่นบาทแรก ไม่สามารถอายัดได้นั้น เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินไว้ดำรงชีพ และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป น.ส.รื่นวดีชี้แจงว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการแก้ไขครั้งสำคัญในภาคบังคับคดี เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมดในส่วนการบังคับคดี เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนการบังคับคดีมีการใช้มานานกว่า 20 ปี จึงต้องปรับให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีการดูแลเรื่องพื้นฐานของลูกหนี้ด้วย ในส่วนที่ 2 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี คือ มาตรา 301 และมาตรา 302 โดยมาตรา 301 เป็นเรื่อ

คู่มือเตรียมตัวเตรียมใจลาออกจากงานประจำ

ในวันที่ชีวิต ได้เดินมาถึงจุดเปลี่ยน     เสียงเพลงของป้ากมลา ล่องลอยเข้ามาในหัว      วันที่มนุษย์เงินเดือนอายุไม่น้อยคนนึงมีความคิดว่าจะลาออกก่อนวัยเกษียณ    สิ่งที่จะต้องทำเมื่อความคิดนี้มันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ หนึ่ง      ต้องรู้ว่าตัวเองมี Minimum Cost of Living เท่าไหร่ คิดง่ายๆเป็นรายเดือนก็ได้เช่น   รายการ ต่อวัน ต่อเดือน หมายเหตุ กินข้าวซื้อหนังสือพิมพ์เข้าเซเว่น ค่าใช้จ่ายรายวัน 300 900 ค่าน้ำค่าไฟ 1,500 ค่าอินเตอร์เนต สำคัญอยุ่นะ 700 ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน 2000 อื่นๆ เช่น มีรายการพิเศษเข้ามา ซ่อมบ้าน หรือ ไปเลี้ยงงาน 1000 รวมๆแล้ว 14,200   ตีซะ 15,000 ทางที่ดี เราควารมีเงินพอใช้อย่างน้อง 12 เดือน   ซึ่งคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่คนเราปรับตัวและหาทางทำมาหากินเพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไปได้   12 คูณ 15,000   คือ ต้องมีเงินอย่างน้อย 180,000 ก่อนคิดลาออกจากงาน ยอด 180,000 นี้ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ขอ