บทความ

การอายัดเงินเดือนตามกฎหมายใหม่ ถ้าเงินเดือนเกิน 20,000 โดนยึดส่วนที่เกิน 20,000

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ระบุลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท บังคับคดีอายัดเงินเดือนไม่ได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สำหรับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ประกอบด้วย   1. เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจํานวนไม่เกินเดือนละ 20,000 บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 2. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่หน่ว

พรบ ทวงหนี้ กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการทวงหนี้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘ ู มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคล ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว การติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถาม หรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น โดยผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ ( ๑) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ ( ๒) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อ ให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหน้าที่ของศาล

         เขียนโดย คุณนกกระจอกเทศ ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิต ถ้าจะว่ากันตามกฏหมายแล้ว หากมีหนี้ซึ่งกันและกัน แล้วเกิดการไม่ชดใช้หนี้กันขึ้น ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง(หรือศาลคดีผู้บริโภคก็ตาม) เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวตามคำฟ้อง ( คดีดำ) โดยศาลท่านจะมีหน้าที่เพียงแค่พิพากษาว่า จำเลยจะต้องจ่ายหนี้คืนให้กับโจทก์หรือเจ้าหนี้ เป็นเงินเท่าใด ? ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมควรจะต้องเป็นเท่าไหร่ ? จึงจะเป็นธรรมตามกฏหมาย...เท่านั้น ศาลจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการไกล่เกลี่ย หรือออกคำสั่งให้ผ่อนจ่ายหนี้ได้หรือไม่ ? ผ่อนเท่าไหร่ ? และผ่อนอย่างไร ? เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกมองได้ว่า ศาลลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ... ดังนั้น ท่านจะไม่พิจารณาในเรื่องการผ่อนชำระ ด้วยตัวของท่านเองหรอกนะครับ ยกเว้นจำเลยกับทนายโจทก์จะตกลงกันได้เองต่อหน้าศาล หากลูกหนี้กับเจ้าหนี้(ทนายโจทก์)ตกลงกันเองได้ ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าว โดยกำหนดให้ต้องเขียนเป็นสัญญากันขึ้นมา โดยมีชื่อของสัญญาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความ   และให้ถือว่าสัญญาที่เซ็นต์กันฉบับนี้   เป็นคำพิพากษาของศาล

เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อเกษียณก่อนวัยอันควร

ช่วง  10  กว่าปีที่ผ่านมา แนวโน้มความสนใจของคนรุ่นใหม่ อยากรวยเร็วและเกษียณกันเร็วขึ้น จากแต่ก่อนต้องมีอายุ  55  หรือ  60  ปีนั่นแหละถึงจะเกษียณ ความสนใจตรงนี้ สะท้อนได้จากกองทัพหนังสือคู่มือความรวยที่วางขายกันเกลื่อน การเติบโตขึ้นของขนาดมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม และการเพิ่มขึ้นของผู้ทำประกันชีวิต แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปที่คุณจะวางมือจากหน้าที่การงานเร็วกว่าปกติ ขอเพียงแค่วางแผนเพื่อเตรียมพร้อมกับชีวิตแบบนี้ให้  Fundamentals  ฉบับนี้มีเรื่องการวางแผนเกษียณก่อนกำหนดมานำเสนอ เผื่อว่าใครสนใจจะเกษียณอายุการทำงานตั้งแต่ยังไม่แก่ จะได้รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วางแผนออมให้เพียงพอในช่วงชีวิตที่เหลือ ถ้าอยากจะเกษียณ ตอนอายุ  55  หรือเร็วกว่า  55  จะต้องทำอย่างไร ??? แม้คนส่วนใหญ่จะวางแผนเกษียณตามปกติเมื่ออายุ  60  แต่ควรเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องคิดว่า ถ้าต้องเกษียณก่อนกำหนดที่วางแผนไว้ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพราะในสภาพการทำงานปัจจุบัน เราอาจจะไม่ได้เป็นผู้เลือกเองว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไร เพราะบางทีอาจจะถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องเกษียณ หรือเลิกทำงานเร็วกว่าที่คาดไว้ ในสห