บทความ

ความหมายของการนัดไปศาลครั้งแรก

าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า  ให้จำเลยมาศาล เพื่อการไกล่เกลี่ย ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 และให้จำเลยมาศาล เพื่อการสืบพยานโจทก์ ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ  วันนัดไกล่เกลี่ย  (นัดที่หนึ่ง) และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ  วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ"  (นัดที่สอง) ส่วนสำหรับวัน นัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา)  จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า  ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน? ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง) เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กันเป

วิกฤติวัย 30+

วิกฤติวัย 30+ 1) A อายุ 32 ปี A ทำงานที่บริษัทอินเตอร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไต่เต้าจากตำแหน่งหนูน้อยจูเนียร์จนตอนนี้ตำแหน่งใหญ่โต "เคยคิดว่าจะอยู่สัก 2-3 ปี แต่ทำไปทำมานี่จะ 8 ปีแล้ว จนคนรุ่นเดียวกับฉันลาออกย้ายงานกันไปหมดแล้ว" A บอก A รักที่ทำงานแห่งนี้และหวังจะเติบโตไปกับบริษัท ที่นี่คงเป็นเรือนตายของ A แต่... "แต่ความจงรักภักดีมีราคาของมัน" A ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ก่อนจะบอกว่า "เรื่องตลกของชีวิตมนุษย์เงินเดือนก็คือ บริษัทไม่มีทางจ่ายให้เราได้มากเท่ากับคนที่ย้ายมาจากที่อื่น ต่อให้เราจงรักภักดีไม่คิดลาออกก็เถอะ รอให้บริษัทขึ้นเงินเดือนให้ตามระบบยังไงก็ไม่มีทางขึ้นได้เท่ากับลาออกไปอยู่ที่อื่นหรอก และเผลอๆ ลาออกแล้วกลับมาใหม่ยังได้เงินเดือนเยอะกว่าอยู่ยาวรวดเดียวอีก นี่เห็นตำแหน่งฉันสูงขนาดนี้แต่เงินเดือนต่ำเตี้ยเรี้ยดิน ลูกน้องเก่าฉันทำงานไม่กี่ปีลาออกไปย้ายงานทีเดียวเงินเดือนสูงกว่าฉันอีก!" "นี่ไงล่ะราคาของความจงรักภักดี สุดท้ายฉันก็คือของตายของบริษัท ฉันเพิ่งมาตาสว่างเอาตอนที่ทำงานมาจนจะย้ายไปที่ใหม่ก็ยากแล้ว สามสิบกว่าแล้วนะแก ไม่ใช่เด็กๆ แล

ผ่อนบ้านอยู่เจ้าหนี้ยึดได้หรือไม่

ดิฉันมีปัญญามากเลยค่ะเนื่องจากเราทำงานคนเดียวและปัญหาเกี่ยวกับหนี้เครดิตทั้งหลายจะทำยังไงดีค่ะขอปรีกษาหน่อยค่ะ ขอความกรุณาเพื่อนและพี่ที่รู้ช่วยให้แสงหน่อยนะค่ะ 1. เกี่ยวกับการยึดของในบ้าน ถ้าเราหย่ากับสามีและเปลี่ยนชื่อให้สามีเป็นเจ้าบ้านจะโดนยึดอีกหรือไม่ค่ะเพราะพึงหยุดจ่ายเดือนแรก โทรกระหน่ำเลยค่ะ หากมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ แต่คุณยังเพิกเฉย และเจ้าหนี้สืบทราบได้ว่าคุณครอบครองทรัพย์สินใดใดอยู่ ไม่ว่าจะหย่าหรือไม่หย่า มันไม่เกี่ยวกันเลย ชื่ิเจ้าบ้านก็เหมือนกัน เจ้าหนี้สามารถบังคับคดียึดบ้านได้อยู่ดี ถ้าคุณมีชื่อเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ ากู้ร่วม แล้วโดนยึด ไม่ว่าจะหย่าหรือไม่หย่า หากขายทอดตลาดได้ แบงค์เจ้าของบ้านได้ไปก่อนจากส่วนที่คงค้าง จากนั้นส่วนที่เหลือก็แบ่งครึ่ง สามีได้ไปส่วนนึง ของคุณ เจ้าหนี้บัตรก็เอาไปหักหนี้ ถ้ายังไม่พอหัก ก็จะไปตามยึดอย่างอื่นอีก จนกว่าจะครบ 2. เกี่ยวกับเรื่องการยึดบ้าน ถ้าราคาบ้านตอนนี้คงประมาณ 650000 ได้แต่เป็นหนี้บ้านอยู่ที่ 450000 แต่ตอนซือราคา 540000 จะถูกยึดไม่ค่ะ กรณีถ้าหย่ากับสามี เขาเป็นผู้กู้ร่วมเขามีสิทธิ์ ต้องแบ่งครึ่งหนึ่งก่อนหรือเปล่า

10 บทเรียนที่ได้รับจากการลาออกจากงาน ภาค 2

ต่อนะครับ 6. เราสามารถสร้างกฎเกณฑ์ของตัวเองได้ คนอื่นอาจจะว่าบ้า ถ้าเกิดเราจะเลิกทำงานประจำที่มั่นคง ชีวิตในคอนโดแสนสุขสบาย รายได้ที่โอเคเพื่อไปทำสิ่งที่เรียกว่า “ ไม่มั่นคง ” ในสายตาคนอื่น อย่างพนักงานฟรีแลนซ์ หรือ ครูสอนเปียโน? พูดกันตามตรงมันก็ดูบ้าเหมือนกันนะ แม้จะมีคนหลายคนเลือกทำแบบนี้ แต่เหมือนสังคมเราจะให้ค่า “ ความมั่นคง ” มากกว่า “ความสุขในชีวิต” ทุกอย่างอยู่ที่เราเลือกเอง เราทุกคนสร้างกฎเกณฑ์ของชีวิตเราได้เสมอ  ถ้ามันไม่เดือดร้อนคนอื่น คุณไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเหมือนใคร และใครๆก็ไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบคุณด้วย คนเราทุกคนมีสิทธ์เลือกทางเดินของตนเอง 7. เมื่อไม่มีใครออกคำสั่งเรา เราก็ต้องทำเอง ตอนที่คนเราทำงานประจำ เรามักจะมีผู้บังคับบัญชา ซึ่งหลายครั้งเราก็แค่ทำตามที่เขามอบหมายงานมาเท่านั้น ไม่มากไปกว่านี้ และนั่นทำให้เราเคยชินกับกิจวัตรแบบเดิมๆ ที่ไม่ต้องบังคับตัวเองเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวงานก็บีบบังคับเราเอง ต่อให้เราไม่อยากทำหรือขี้เกียจแค่ไหน แต่ความกลัวที่มีต่อเจ้านายก็จะทำให้ลุกขึ้นมาทำงานเอง แต่เมื่อเราออกมาเริ่มต้นชีวิตอิสระ ภายใต้การควบคุมของเรา ไม่มีใครออกคำสั่งเราแล้ว เ

10 บทเรียนที่ได้รับจากการลาออกจากงาน

รูปภาพ
ชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และหลายครั้งที่เราทุกคนเกิดความรู้สึกเคว้งคว้างและหลงทาง เพราะถูกสังคมบีบคั้นด้วยกฎของการใช้ชีวิตที่เราทุกคนไม่ได้กำหนด แต่เราก็ต้องเดินตามกันไปเพียงเพราะสังคมเขาทำแบบไหนเขาคาดหวังอะไรจากเรา เราก็เลยทำแบบนั้น บางครั้งเราก็ทำสำเร็จ แต่หลายๆครั้งก็ไม่เป็นอย่างใจ ท้ายที่สุด สิ่งที่เหลือในใจของเราก็คือความผิดหวังและความรู้สึกว่า “ล้มเหลว” ปัญหาของผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นเรื่องงาน เพราะในทุกวันนอกจากการนอนหลับพักผ่อน เราก็ใช้เวลาวันละอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงในการทำงานของเรา ไม่รวมถึงคนที่เป็นเจ้าของกิจการที่อาจทำงานมากกว่านี้จนแทบไม่ได้พักผ่อน สุดท้าย เรามักจะมีคำถามกับตัวเองเสมอว่า  “นี่คืองานที่ใช่สำหรับเราหรือเปล่า?”   “นี่เรากำลังทำอะไรอยู่?”   “เรามีความสามารถมากพอที่จะสร้างรายได้และความสำเร็จมากกว่านี้ไหม?” เชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในวัยทำงานต้องมีคำถามนี้ในใจอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่ปัญหารุมเร้าจนเรารู้สึกท้อถอย แต่คนส่วนใหญ่มักติดอยู่ใน Comfort Zone หรือ พื้นที่สบาย เลยไม่กล้าทำอะไรกับมัน แม้เราจะรู้ว่า  สุดท้ายสิ่งที่เรากำลังทำมันก็ไม่ใช่ตัวเราอยู่ดี

เมื่องานที่ทำ กับ ตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไม่ตรงกัน

ากหนังสือ How Love the Job You hate. ผู้เขียนพบ Bob ตอนที่เขามาเป็นเพื่อนลูกชายในการสัมมนาเพื่อเตรียมตัวสอบเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ โดยหวังว่าลูกชายจะได้งาที่มั่นคงUละรายได้ดีเหมือนตัวเขา เมื่อหัวข้อการถกเถึยงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เขาได้เล่าเรื่องส่วนตัวของเขาให้คนในกลุ่มฟัง ในช่วงปี 60 บ๊อบต้องต่อสู้ดิ้นราหาเงินเลี้ยงครอบครัวขนาดใหญ่ เส้นทางชีวิตของเขาเปลี่ยนไปเมื่อทางการเรียกตัวให้ไปทดลองงานในตำแหน่งช่างประปา หลังจากผ่านช่วงทดลองงาน เขาได้รับการบรรจุโดยได้ค่าแรงเ พิ่มเป็นเท่าตัวจากที่เคยได้มาก่อน พร้อมกับสิทธิ์การลาป่วยและพักร้อนอย่างที่เคยอยุ่แต่ในความฝัน เพียงไม่กี่เดือน หลังจากภรรยาคลอดลุกสาวคนสุดท้อง เขาก็สามารถซ์้อบ้านหลังใหญ่สำหรับครอบครัวที่ประกอบด้วยภรรยากับลุก 8 คน บ๊อบยังเป็นนักดนตรีอีกด้วย นี่คือสิ่งที่เขาถวิลหาโดยแท้ เขามีความสุขกับการเล่นดนตรีต่อหน้าคนดูเยอะๆ และการเขียนเพลงร่วมกับเพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย การที่ได้รู้ว่าอาชีพช่างประปามีผลทำให้เขาเกิดความเหงาแลเบื่อหน่ายกลายเป็นเรื่องที่หลายคนประหลาดใจ เพาะไม่ว่าจะมองในมุมใ

คอนโดเก่า จากผู้เช่า เป็นผู้จัดการนิติ ตอนที่ ๔

คอนโดเก่า จากผู้เช่า เป็นผู้จัดการนิติ ตอนที่ ๔ เมื่อมีกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เราก็ทำที่ใต้ถุนคอนโดนั้นเอง โดยที่ท่านประธานและผู้จัดการได้ทำการออกจดหมายเรียกลุกบ้าน (ก็เจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารชุดในคอนโดนั่นแหละ) ต้องมีการส่งแบบจดหมายลงทะเบียน โดยการไปคัดลอกที่อยู่มาจากกรมที่ดิน และให้เจ้าของห้องที่อาศัยอยู่ลงชื่อรับเอกสารเมื่อมีพนักงานนิติฯเป็นคนเอาเอกสารไปส่งและให้เซนต์ชื่อทันที ที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อป้องกันคนหัวหมอ บอกว่า ไม่ได้รับเอกสาร แล้วการประชุมจะเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฏหมายได้ เพื่อป้องกันป้าแต๋วไม่ให้กลับมาเป็นผู้จัดการนิติอีก ทางคณะกรรมการเลยออกกฏ ว่า ผู้จัดการต้องเป็นเจ้าของห้องเท่านั้น และไม่ต้องคดีความ จริงๆแล้วอันนี้กรรมการจะแก้ระเบียบคอนโดตามอำเภอใจไมได้ ต้องแก้ตามมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม กรรมการชุดนี้ลาออกทั้งหมด แต่คนที่ไม่อยากให้ป้าแต๋วเข้ามาก็ฟอร์มทีม รวมตัวกัน ขอคะแนนเสียงกัน  ฝ่ายป้าแต๋วก็มิได้นิ่งนอนใจ ปล่อยข่าวผ่านทางเจ้าของห้อง ซึ่งก็คือร้านทำผม สร้างกระแสว่าอีกฝ่ายสูบเงินกองกลางไปจนหมด สมรภูมินี้สู้กันมันหยดเลยทีเดียว และแล้ววันเลือกตั้งก็มาถึง เรามีนัดกันวันอาทิตย์