บทความ

ปลดหนี้บัตรเครดิต 12 ใบใน 7 เดือน

นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างนะครับ ขอเล่าจากประสบการณ์ตรงนะครับ จัดประเภทหนี้ 12 บัญชีได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. ฟ้องดำเนินคดีเร็วมาก (ได้รับหมายศาล ทำเลื่อนนัดศาล 2 รอบ และตกลงเจราจำนวนเงินเพื่อปิดบัญชี ก่อนศาลพิพากษา) 1.1 บัตรเครดิต KTC 2.2 สินเชื่อ KTC Cash Revolve 2. ฟ้องดำเนินคดีช้ากว่า KTC นิดหน่อย 1-2 เดือน (ได้รับหมายศาล ทำเลื่อนนัดศาล 2 รอบ และตกลง เจราจำนวนเงินเพื่อปิดบัญชี ก่อนศาลพิพากษา โดยเข้าไปเจรจาต่อรองด้วยตนเองที่ สนง.พระราม 7) 2.1 บัตรเครดิตธนชาต 2.2 บัตรกดเงินสดธนชาต Flash 3. เจรจาต่อรองได้ มีจม.จาก สนง.ทนายความ ไม่มีหมายศาล (หนี้บางราย หลายแสน) 3.1 สินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์แคช 3.2 สินเชื่อบุคคล กรุงศรี จัสแคช 3.3 บัตรเครดิตกรุงศรี 3.4 สินเชื่อ Speedy Cash ไทยพาณิชย์ 3.5 บัตรเครดิต ไทยพาณิชย์ 3.6 บัตรเครดิต KBank-Visa 3.7 บัตรเครดิต KBank-Robinson 3.8 บัตรกดเงินสด TMB Ready Cash ไปอบรมกับชมรมหนี้บัตรเครดิตฯ เมื่อต้นปี 2557 ปัจจุบันเคลียร์หนี้และปิดบัญชีได้แล้ว 11 บัญชี เหลืออีก 1 บัญชี คือ กรุงศรี สไมล์แคช ได้เจรจาต่อรองเรียบร้อยแล้ว สามารถผ่อน

ประสบการณ์ขึ้นศาล CITI BANK

รูปภาพ
วันนี้จะมาอัพเดตหน่อยหลังจากหายไปนาน 1. City advance สินเชื่อส่วนบุคคล ยอดหนี้ 2xx,xxx บาท (ขอแก้ไขยอดหนี้หน่อยนะครับ ตัวนี้ ยอดฟ้องอยู่ที่ 17x,xxx )>> หยุดจ่าย 6/57 (ฟ้องแล้ว จากนั้น City ติดต่อ H/C 80,000 แบ่งจ่าย 3 งวด งวดแรกเริ่ม ตุลาคม - ธันวาคม เป็นงวดสุดท้าย )จะขอเล่าเกี่ยวกับตัวนี้นิดหน่อย เนื่องจากผมโดนหมายศาลให้ไปขึ้นศาล วันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งช่วงระยะเวลานั้นมันอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ ตอนแรกผมไม่แน่ใจว่าต้องไปขึ้นศาลมั้ยเนื่องจากเจรจา H/C ไปแล้ว แต่หลังจากโทรไปปรึษาพี่นกกระจอก ท่านแนะนำว่ายังไงก็ต้องไป เพราะการ H/C ยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าเราชำระเรียบร้อยแล้วทางทนายของ City จะถอนฟ้องเอง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ผมได้มีโอกาสขึ้นศาลครั้งแรก การเตรียมตัว 1. หาอ่านเคสการขึ้นศาลในบอร์ด ซึ่งที่ผมเจอก็ไม่มีที่เหมือนผมเป๊ะๆซะเท่าไหร่ ดังนั้น เราก็ต้องประยุกต์เอาเอง 2. ตรวจสอบ และเตรียมเอกสารที่ต้องเอาไป (หนังสือ H/C , สลิปที่ไปจ่ายเงินถ่ายเอกสาร และที่สำคัญ "หมายศาล") 3. วันที่ศาลนัด ผมไปก่อนเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (ศาลนัด 9 โมงเช้า) หลังจากนั้นผมก็ไปตรวจรายชื่อ พ

ตัวอย่างการคำนวณภาษ๊ ลดหย่อนจากประกันชีวิต

ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้มีเงินได้ทุกประเภทภาษีรวมทั้งปีเท่ากับ 3,400,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของตนเองไว้รวมปีละ 60,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญไว้ 300,000 บาท และซื้อหน่วยลงทุน RMF ไว้ในปีเดียวกันถึง 360,000 บาท นาย ก. สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ดังนี้ (1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้มีเงินได้ทั้งปี 3,400,000 บาท ไม่เกินร้อยละ 15 มีเพดานสูงสุดเท่ากับ = 3,400,000 X 15% = ไม่เกิน 510,000 บาท (2) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 60,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตปกติก่อน 60,000 บาท คงเหลืออีก 40,000 บาท (100,000 - 60,000 = 40,000 ) จึงนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาใช้สิทธิให้ครบ 100,000 บาท (3) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 300,000 บาท คงเหลืออีก 260,000 บาท (300,000 - 40,000) นำมาเปรียบเทียบกับตาม 1. พบว่าไม่เกิน จึงสามารถใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้เต็ม 200,000 บาท (4) นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท ไปรวมกับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF

ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการเพิ่มเติมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่มีอยู่แล้วตามปกติ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน             แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน  หลักเกณฑ์  (1) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (2) ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย (3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกัน ก็ได้ โดยจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน (4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรื

ปลดหนี้บัตรเครดิต

มผ่านมาทุกอารมณ์ เกือบๆทุกเหตุการณ์อันเป็นผลกระทบมาจากปัญหาหนี้ ล้วนเจอะเจอคล้ายกับหลายๆท่านครับ ต่างกรรมต่างวาระ ว่ากันไป มาถึงวันนี้ วันที่ผมได้อิสรภาพ เป็นไทแล้ว ตลอดระยะทางการต่อสู้แก้ไขกับปัญหา ผมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเยอะแยะมากมาย จึงอยากจะขอมาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับท่านที่ยังประสบปัญหาอยู่ เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ พอสรุปได้ดังนี้ครับ 1.) สาเหตุของการเป็นหนี้ คือความพ่ายแพ้ต่อ "กิเลส"ตน บวกกับ "การขาดวินัย"ในการจัดการเรื่องเงินทอง อยากเตือนไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า เงินทองต้องใส่ใจ ต่อไปอย่าได้ประมาทเรื่องเหล่านี้ อย่าได้โทษใครเลย โทษตัวเองแหละครับ 2.) เมื่อเป็นหนี้แล้ว อย่าเพิ่มหนี้มาแก้หนี้ เพราะจะยิ่งทำให้หนี้พอกพูน ผมจากหนี้หลักไม่กี่แสนกลายมาเป็นหนี้หลักล้านเพราะใช้วิธีนี้ 3.) ตั้งสติและยอมรับความจริงเกี่ยวกับสถานภาพการเงินของเราให้ได้ เอาชีวิตประจำวันและครอบครัวเราให้รอดก่อน อย่าหลอกตัวเอง ตรงนี้สำคัญมาก เพราะมันจะได้ให้เราจัดการปัญหาได้เร็วขึ้น 4.) หากคำนวณภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้วไม่เพียงพอต่อการใช้หนี้ ให้หยุดจ่ายหนี้ไปเลย อย่า

เตรียมเรื่องการเงินให้พร้อม...ก่อนคิดจะลาออก

รูปภาพ
รายการ Money Plus ออกอากาศทาง FM.101 ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ 15.00-17.00 น. ประจำวัน เสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 ดำเนินรายการโดย คุณยุทธนา กระบวนแสง บทสนทนา คุณยุทธนา   :  สวัสดีครับเหมี่ยวครับ คุณฉัตรพงศ์ : สวัสดีครับพี่ยุทธและท่านผู้ฟังครับ คุณยุทธนา   :  เดี๋ยวนี้ผู้คนมักจะเออรี่รีไทร์ด้วยอายุน้อยลงกว่าเมื่อก่อนเหมี่ยวว่าไหมครับ คุณฉัตรพงศ์ : คนใกล้ๆ ตัวก็มีเหมือนกันครับ คุณยุทธนา   : คนที่เตรียมที่ลาออกจากงานเพื่อจะไปเป็นเถ้าแก่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือว่า เปลี่ยนงานใหม่  ในเรื่องการเงินมันมีสิ่งที่ต้องคิดต้องคำนวณให้ดีก่อนไหมว่าเราพร้อมหรือ ยังที่เราจะลาออก คุณฉัตรพงศ์ : การเออรี่รีไทร์แบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยง  คือจากเดิมที่เราทำงานได้เงินเดือนก็รู้อยู่แล้วสิ้นเดือนจะได้เท่าไหร่  กลายเป็นว่าเออรี่ปุ๊บรายได้เข้ามาไม่แน่นอนแล้ว  และในทางกลับกันบางทีเราเคยได้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้าง  เวลาออกไปปุ๊บสวัสดิการบอกว่าไม่มีแล้ว  จะต้องจ่ายด้วยตัวเอง  ค่ารักษาพยาบาลบางทีก็อาจจะไม่น้อย  ดังนั้นก่อนที่จะเออรี่รีไทร เช็คตัวเองให้พร้อมก่อนในเรื่องของการเงินซึ่งก็จะเป็นห

บูติกโฮเต็ล อาชีพในฝันของใครหลายๆใคร She's live someone's dream.

น้องคณะคนนึง จบทางด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตร น้องไปเรียนต่อด้านสิ่งแวดล้อม ไปเป็นอาจารย์ทางใต้แป่บนึง   ออกมาเป็นคล้ายๆเซลล์แป่บนึง กลับกรุงมาช่วยญาติทำร้านเสื้อ    บางทีเบื่อๆก็ไปเปิดร้านก๊วยเตี๋ยว    ล่าสุดเจอกัน น้องดูแลอพาร์ทเม้นต์ 70 ห้องหน้ามหาวิทยาลัย   ดูแลบ้านให้ expat เช่าอีก 2 หลัง ช่วงหลังน้ำท่วม น้องมาทำบูติกโฮเต็ล บ่ายวันอาทิตย์วันหนึ่ง เลยนัดเจอกันที่บูติกโฮเต็ล   นั่งคุยกัน    น้องเล่าให้ฟังว่า น้องไปเที่ยวต่างประเทศกับเพื่อนและได้รู้จักคนคนหนึ่ง คุยกัน แล้วเขาก็เล่าให้ฟังว่ากำลังรีโนเวทบ้านแถวเทเวศ ซึ่งเป็นตึกแถวเก่า ใกล้กับท่าเรือเทเวศ   ที่คุณพ่อเขาใช้เป็นสำนักงานทนายความ น้องเขากลับมาก็เกิดความสนใจ ประกอบกับเจ้าของบ้านได้รับตำแหน่งใหม่ต้องย้ายไปทำงานต่างประเทศ น้องเลยหุ้นกับเพื่อนอีกสองคนเปิดบูติกโฮเต็ล     ถามน้องว่าลงทุนไปเยอะไหม   น้องบอกว่าโชคดีที่เจ้าของบ้านรีโนเวทบ้านแบบจัดเต็มไป 3 ล้าน น้องและเพื่อนๆขอเช่า   ตอนแรกเจ้าของก็ไม่ค่อยอยากให้เช่า แต่คิดไปคิดมาก็คงดีกว่าปล่อยบ้านไว้เปล่าๆ น้องเลยได้สัญญามา 3 ปี   พร้อมกับ