บทความ

กิจกรรมอบรมการแก้ไขปัญหาหนี้(ฟ​รี)ประจำเดือนกรกฏาคม 2555

พื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ให้กับลูกหนี้และบุคคลทั่วไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทางชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล จึงได้จัดให้มีการอบรมแก้ไขปัญหาหนี้ฯ เป็นประจำทุกๆสามเดือน โดยชมรมฯจะมีการประกาศบนหน้าบอร์ดให้ทราบว่าในแต่ละครั้งว่า จะมีการจัดอบรมในวันเวลาใด และวิทยากรท่านใด ที่จะเป็นผู้ดูควบคุมแลการอบรมดังกล่าว การอบรม(ฟรี )สำหรับการอบรมในครั้งต่อไปที่จะถึงนี้ จัดขึ้นในวัน อาทิตย์ที่ 29 เดือนกรกฏาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. สถานที่อบรมคือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ห้องประชุม ชั้น 2) เลขที่ 4/2 ซอยวัฒนะโยธิน (ราชวิถี 7) แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ สำหรับวิทยากรผู้บรรยาย ประจำเดือนกรกฏาคม 2555 นี้ วิทยากรหลัก คุณอาร์ชาวิน (Arshavin) (รองประธานชมรมฯ) และวิทยากรสมทบ คุณ คนสยาม(Konsiam) (กรรมการชมรมฯ) การอบรม ดังกล่าวเป็นการอบรมฟรี! ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น! เพียงแต่จะไม่มีบริการอาหารและเครื่องดื่มให้เท่านั้น จำนวนผู้เข้าอบรมไม่เกิน 50 ท่าน ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วน บุคคล จึงใครขอเรียนเชิญสมาชิกให

ภารกิจ Delete หนี้ คุณทำเองได้

ขั้นที่ 1 ประเมินสถานการณ์ ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะกดดัน หาทางหมุนเงินเพื่อชำระหนี้ขั้นต่ำ อาจะเป็น5%, 10% ของยอดหนี้ การเตรียมตัวเบื้องต้น คือ 1.หยุดการก่อหนี้เพิ่ม การที่เราเป็นหนี้สินมากมายก็เนื่องจากเราไม่สามารถห้ามใจในการจะใช้เงินกู้ เช่น รูดบัตรเครดิตซื้อของที่เราอยากได้ การเริ่มต้นในการแก้ปัญหาคือ การหยุดก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะแนวทางแก้ปัญหาหนี้ที่ชอบใช้กันทั่วไปคือ การกู้เงินจากแหล่งหนึ่งไปชำระหนี้อีกแหล่งหนึ่งซึ่งรวมถึงหนี้นอกระบบ เช่น โต๊ะเงินกู้แถวบ้าน วิธีการนี้ยิ่งทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อาจจะสร้างปัญหามากขึ้น 2. จัดทำบัญชีรับ-จ่าย ขั้นตอนนี้คือ เราต้องมาจัดทำบัญชีส่วนตัวของเราว่า มีรายได้อะไรบ้าง และต้องมีรายจ่ายอะไรบ้าง เงินคงเหลือสุทธิเท่าใด และความสามารถในการชำระหนี้มีมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น (หน่วย : บาท) ลำดับ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ 1 เงินเดือน 20,000 2 รายได้อื่นๆ 10,000 3 ค่าใช้จ่าย 1 10,000 4 ค่าใช้จ่าย 2 10,000 รวม 30,000 20,000 10,000 จากตารางจะเห็นได้ว่าเงินคงเหลือจำนว

ใช้หนี้มาได้ 75% แล้ว

ใช้หนี้มาได้ 75% แล้ว หลายท่านอาจจะเห็นว่าทำไมไม่รอ 50% หรือ 40% ซึ่งก็แล้วแต่สถานการณ์ครับ ของ ผมมีที่ดินเป็นชื่อผมซึ่งบรรพบุรุษโอนมาให้ ไม่อยากให้มีปัญหาไปถึง กลัวคนแก่สะเทือนใจจะพาลป่วยเอานะครับ อีกอย่างนึง คือผมวางแผนจะซื้อบ้านที่เช่าเขาอยู่ตอนนี้ในอีก 2 ปี ข้างหน้าครับ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ พอมีเงิน ส่วนลด ผมรับได้ ผมก็ทยอยปิดครับ CITI M ยอดก่อนปิด 230,000 จบกันที่ 160,000 สามงวด CITI Ready ยอดก่อนปิด 130,000 จบปิดกันที่ 90,000 สามงวด UOB Cash ยอดก่อนปิด 90,000 จบปิดกันที่ 54,000 งวดเดียว UOB VISa ยอดก่อนปิด 180,000 จบปิดกันที่ 120,000 งวดเดียวครับ ผมได้เงินขายที่ดินมาก้อนหนึ่งด้วยครับ เลยทยอยปิดครับ KTC มาแล้ว บัตรกดเงินสด วิ่งไปที่ 59,000 เขาบอกว่าลดให้สุด 53,000 งวดเดียวจบ อีกใบ KTC credit card ยอดวิ่งไปที่ 170,000 เขาบอกว่า งั้นตัดดอกออกเหลือแต่ต้น ผ่อน 6 เดือน สนป่าว ขอไปคิดก่อนแล้วกัน ว่าจะขอปิดบัตรกดเงินสดก่อน ผ่อนสามงวด ก็ยังดี จริงแล้วๆ กดเอาเิงินเขามา 50,000 แนวโน้มว่า KTC จะเป็นตัวต่อไปที่ปิดได้ครับ ส่วน standard chartered ก็เป็นดังนี้ นาคิน ไป คุ

ก้าวแรกก่อนทำธุรกิจส่วนตัว

ก้าวแรกของธุรกิจ ... มักยากเสมอสำหรับผู้เริ่มต้น   การเริ่มต้นทำธุรกิจสำหรับเถ้าแก่ใหม่ ทั้งหลาย คำถามแรกมักเกิดขึ้นมากมาย วันนี้ลองมาดูกันว่า   ก้าวแรก   ก่อนเริ่มต้นธุรกิจมีอะไรให้เรียนรู้บ้าง ?           ข้อมูลเผยแพร่จากเว็บไซต์ www.ismed. or.th ของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) พูดถึงแนวทางการเริ่มต้นธุรกิจว่าควรเริ่มจากการหาข้อมูล 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ ...           1. วัดกำลังตนเอง            = ประเมินว่ามีคุณสมบัติพอที่จะทำธุรกิจนั้นหรือไม่ ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน กล้าตัดสินใจพอไหม           = เลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะกับตน พิจารณาจากความชอบ ความถนัดเป็นหลัก และสำรวจฐานะทางการเงินหรือประเมินว่ามีเพียงพอหรือไม่           = จัดแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ เช่น เงินใช้จ่าย เงินลงทุน หรือเงินสำหรับฝากธนาคาร หรือแหล่งเงินกู้           = ทำเลที่ตั้ง หากมีสถานที่ของตนเอง ทำเลดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากไม่มีควรมองที่เหมาะสมกับธุรกิจ และต้องคำนึงถึงว่าทำเลนั้นควรซื้อหรือเช่าดี ที่สำคัญต้องศึกษาสัญญาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่           2. สอดส่องตลาด - คู่แข่ง       

รับทำนายโดยใช้วิชาเลขเจ็ดตัว

การงาน การเงิน ความรัก ปรึกษาได้ครับ ติดต่อได้ที่ NYodsanti@gmail.com ค่าดู 200 บาทครับ เป็นการดูทางโทรศัพท์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง อีเมลล์นะครับ

ข้อคิดสำหรับผู้ที่อยากเป็นเกษตรกร

เครดิต สวนวสา ที่ดิน การจะเริ่มทำการเกษตรได้นั้นเราควรมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะลงมือซื้อที่ดินผืนใด ขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญก่อนซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร ดังนี้ 1.   ในที่ดินต้อง มีแหล่งน้ำหรือติดกับแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งปี  เพราะการซื้อที่ดินที่ไม่มีน้ำ ก็เท่ากับไม่มีประโยชน์ในเชิงเกษตร แหล่งน้ำที่ว่านี้อาจจะเป็นคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ แม่น้ำ ฯลฯ ถ้าเป็นที่ผืนใหญ่ไม่ควรเป็นน้ำบาดาล เพราะอาจมีปริมาณไม่พอเพียงและอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตะกอนในภายหลัง 2.   ที่ดินควร ใกล้กับถนน และไม่ไกลจากบ้านที่อยู่ประจำของคุณมากนัก  การไปมาทำได้ง่าย เมื่อการเดินทางสะดวก ก็ทำให้เรารู้สึกอยากไปเยือนบ่อยๆ โดยเฉพาะเกษตรกร part-time ที่ต้องทำงานในวันธรรมดาและไปทำสวนได้เฉพาะวันหยุด หากคุณต้องขับรถ 500 กม. เพื่อไปสวนในวันเสาร์ และขับกลับอีก 500 กม. ในวันอาทิตย์ คุณจะเหนื่อยและท้อไปในที่สุด ระยะทางที่เหมาะสมน่าจะไม่เกิน 200 กม. จากบ้านคุณ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องระยะทางนี้ขึ้นกับทุนและความชอบส่วนบุคคล นอกจากนี้ราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วย คำนวณค่าน

กรมบังคับคดีรื้อเกณฑ์ "ขายทอดตลาด" โละทรัพย์NPAค้างสต๊อก3.6แสนล้าน

รัฐบาล รื้อเกณฑ์ขายทอดตลาดกรมบังคับคดี เผยรัฐบาลยุค ปชป.ปรับปรุงวิธีประมูลซื้อ ส่งผลตั้งราคาทรัพย์ NPA สูง ยอดระบายทรัพย์ลดฮวบจาก 2 หมื่นล้าน เหลือแค่ 200 ล้าน/เดือน ตัวเลข 8 เดือนล่าสุด ทรัพย์ค้างพอร์ต 3.6 แสนล้าน แนวโน้มจะกลับมาใช้วิธีการอิงราคาประเมินกรมธนารักษ์ ตั้งราคาเริ่มต้นที่ 100-70% แหล่งข่าวจากกรมบังคับคดีเปิด เผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมบังคับคดีได้เสนอกระทรวงยุติธรรมพิจารณาหลักการในการออกร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPA (non performing asset) ฉบับใหม่ เพื่อใช้ทดแทนกฎกระทรวงฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554 เพราะทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์สินช้าลง พอร์ต NPA ยอดพุ่ง 3.6 แสน ล. ความ คืบหน้าล่าสุด เพิ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรมและคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาอุปสรรคการขายทอดตลาดให้มีประสิทธิภาพ บนหลักการในการกำหนดราคาขายทรัพย์จะต้องไม่ต่ำจนเกินไป แล