กรมบังคับคดีรื้อเกณฑ์ "ขายทอดตลาด" โละทรัพย์NPAค้างสต๊อก3.6แสนล้าน
รัฐบาล รื้อเกณฑ์ขายทอดตลาดกรมบังคับคดี เผยรัฐบาลยุค
ปชป.ปรับปรุงวิธีประมูลซื้อ ส่งผลตั้งราคาทรัพย์ NPA สูง
ยอดระบายทรัพย์ลดฮวบจาก 2 หมื่นล้าน เหลือแค่ 200 ล้าน/เดือน ตัวเลข 8
เดือนล่าสุด ทรัพย์ค้างพอร์ต 3.6 แสนล้าน
แนวโน้มจะกลับมาใช้วิธีการอิงราคาประเมินกรมธนารักษ์ ตั้งราคาเริ่มต้นที่
100-70%
แหล่งข่าวจากกรมบังคับคดีเปิด เผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมบังคับคดีได้เสนอกระทรวงยุติธรรมพิจารณาหลักการในการออกร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPA (non performing asset) ฉบับใหม่ เพื่อใช้ทดแทนกฎกระทรวงฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554 เพราะทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์สินช้าลง
พอร์ต NPA ยอดพุ่ง 3.6 แสน ล.
ความ คืบหน้าล่าสุด เพิ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรมและคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาอุปสรรคการขายทอดตลาดให้มีประสิทธิภาพ บนหลักการในการกำหนดราคาขายทรัพย์จะต้องไม่ต่ำจนเกินไป และต้องจูงใจให้คนมาประมูล
เหตุผลข้อเสนอแก้ไขกฎกระทรวง เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับใหม่ที่บังคับใช้ 12 กรกฎาคมปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบรุนแรงต่อการระบายทรัพย์ โดยสถิติการขายทอดตลาดทรัพย์สินลดลงมาก จากการเก็บตัวเลขช่วง 4 เดือนก่อน และหลังกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ จากที่เคยขายทรัพย์ได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 200 ล้านบาท ขณะที่ทรัพย์รอการขายก็เพิ่มขึ้นมาก จาก 2 แสนล้านบาท เป็น 3.6 แสนล้านบาท
ชี้ปมอยู่ที่ ดัชนีราคา 7 ตัว
แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ต้องขอแก้ไขกฎหมาย มีสาระสำคัญ 2 ข้อ คือ 1)ปรับเปลี่ยนวิธีประเมินและกำหนดราคาขายทรัพย์ โดยขอแก้ไขกฎกระทรวงให้อธิบดีกรมบังคับคดีมีอำนาจออกหลักเกณฑ์กำหนดราคา เริ่มต้น และราคาสมควรขายในการขายทอดตลาด 2)ยกเลิกหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้กรณีที่มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว หรือขายทรัพย์ได้ไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา ให้กรมถอนทรัพย์ชิ้นนั้นกลับมาขายใหม่ภายหลัง
ทั้งนี้เดิมวิธีการ ขายทอดตลาดทรัพย์ NPA ในการเปิดประมูลครั้งแรก กรมจะตั้งราคาที่ 100% ของราคาประเมินกรมธนารักษ์ ครั้งที่ 2 ตั้งที่ 80% ถ้าไม่มีผู้ประมูลครั้งที่ 3 จะตั้งราคาเริ่มประมูลที่ 50% ต่อมากฎกระทรวงฉบับวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ให้กำหนดราคาทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดจากดัชนีราคา 7 ตัว โดยเลือกดัชนีที่มีราคาสูงสุด อาทิ ราคาประเมินของสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์, ราคาประเมินของผู้เชี่ยวชาญการประเมินราคา, ราคาประเมินของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าของทรัพย์ผู้รับจำนำ หรือผู้รับจำนอง ฯลฯ
รมว.ยุติธรรมในขณะนั้นมีเจตนาให้ขายทรัพย์ได้ ราคาสูงเพื่อช่วยลูกหนี้ปลดหนี้ แต่ในทางปฏิบัติ การตั้งราคาขายทรัพย์สูงก็ไม่เกิดแรงจูงใจให้มีคนเข้าประมูล ทำให้ขายทรัพย์ NPA ได้ยากขึ้นไปอีก
ส่วนหลักเกณฑ์ที่ขอแก้ไข แนวคิดขณะนี้คือจะกลับมาใช้วิธีอ้างอิงจากราคาประเมินกรมธนารักษ์
แนว คิดกำหนดราคาขายทรัพย์เบื้องต้น คาดว่าจะอยู่ในช่วง 70-100% ของราคาประเมิน กล่าวคือขายทอดตลาดครั้งแรกเริ่มต้นที่ราคา 100% ของราคาประเมิน ถ้าขายไม่ได้ค่อยปรับลดลง เช่น ครั้งที่ 2, 3, 4 ปรับลดเหลือ 90% 80% และ 70% ตามลำดับ
ปล่อยผีกรณี ประมูลรายเดียว
แหล่ง ข่าวกล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ไขหลักเกณฑ์กรณีที่มีผู้เสนอราคาประมูลเพียงราย หรือราคาทรัพย์ที่ขายได้ไม่พอชำระหนี้ หรือไม่มีลูกหนี้ตามคำพิพากษาเข้าร่วมซื้อหนี้ด้วย ให้กรมถอนทรัพย์ชิ้นนั้นออกจากการขายทอดตลาดเพื่อนำกลับมาขายใหม่ในภายหลัง ได้เสนอยกเลิกการใช้กฎกระทรวงข้อนี้ เพราะค่อนข้างเป็นอุปสรรคต่อการขายทอดตลาด
"ขั้นตอนการออกกฎกระทรวง ล่าสุด หากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผ่านการตรวจพิจารณา ก็จะส่งกลับเข้าสู่ที่ประชุม ครม.อีกครั้ง หาก ครม.อนุมัติก็สามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ทันที"
เปิดโผ 5 ทรัพย์เด่น
ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจทรัพย์รอการขาย (NPA) ของกรมบังคับคดี พบว่ามีทรัพย์เด่น 5 รายการที่น่าสนใจ ได้แก่ 1)อาคารสำนักงานธนาลงกรณ์พร้อมที่ดิน เนื้อที่ 2 ไร่ ติดถนนบรมราชชนนี ใกล้กับศูนย์การค้าเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า ราคาเริ่มต้นขายทอดตลาด 774,184,080 บาท กำหนดขายทอดตลาดนัดที่แรก 23 พฤษภาคมนี้
2)ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 23-0-68 ไร่ ต.ราษฎร์นิยม อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ราคาเริ่มต้นขายทอดตลาด 25,956,800 บาท ขายทอดตลาดนัดแรก 31 พฤษภาคมนี้
3)ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 1 ไร่ ในตำบลบึงบอนใต้ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ราคาเริ่มต้น 40 ล้านบาท กำหนดขาย 8 มิถุนายนนี้ ฯลฯ
แหล่งข่าวจากกรมบังคับคดีเปิด เผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมบังคับคดีได้เสนอกระทรวงยุติธรรมพิจารณาหลักการในการออกร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPA (non performing asset) ฉบับใหม่ เพื่อใช้ทดแทนกฎกระทรวงฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554 เพราะทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์สินช้าลง
พอร์ต NPA ยอดพุ่ง 3.6 แสน ล.
ความ คืบหน้าล่าสุด เพิ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรมและคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาอุปสรรคการขายทอดตลาดให้มีประสิทธิภาพ บนหลักการในการกำหนดราคาขายทรัพย์จะต้องไม่ต่ำจนเกินไป และต้องจูงใจให้คนมาประมูล
เหตุผลข้อเสนอแก้ไขกฎกระทรวง เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับใหม่ที่บังคับใช้ 12 กรกฎาคมปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบรุนแรงต่อการระบายทรัพย์ โดยสถิติการขายทอดตลาดทรัพย์สินลดลงมาก จากการเก็บตัวเลขช่วง 4 เดือนก่อน และหลังกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ จากที่เคยขายทรัพย์ได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 200 ล้านบาท ขณะที่ทรัพย์รอการขายก็เพิ่มขึ้นมาก จาก 2 แสนล้านบาท เป็น 3.6 แสนล้านบาท
ชี้ปมอยู่ที่ ดัชนีราคา 7 ตัว
แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ต้องขอแก้ไขกฎหมาย มีสาระสำคัญ 2 ข้อ คือ 1)ปรับเปลี่ยนวิธีประเมินและกำหนดราคาขายทรัพย์ โดยขอแก้ไขกฎกระทรวงให้อธิบดีกรมบังคับคดีมีอำนาจออกหลักเกณฑ์กำหนดราคา เริ่มต้น และราคาสมควรขายในการขายทอดตลาด 2)ยกเลิกหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้กรณีที่มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว หรือขายทรัพย์ได้ไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา ให้กรมถอนทรัพย์ชิ้นนั้นกลับมาขายใหม่ภายหลัง
ทั้งนี้เดิมวิธีการ ขายทอดตลาดทรัพย์ NPA ในการเปิดประมูลครั้งแรก กรมจะตั้งราคาที่ 100% ของราคาประเมินกรมธนารักษ์ ครั้งที่ 2 ตั้งที่ 80% ถ้าไม่มีผู้ประมูลครั้งที่ 3 จะตั้งราคาเริ่มประมูลที่ 50% ต่อมากฎกระทรวงฉบับวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ให้กำหนดราคาทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดจากดัชนีราคา 7 ตัว โดยเลือกดัชนีที่มีราคาสูงสุด อาทิ ราคาประเมินของสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์, ราคาประเมินของผู้เชี่ยวชาญการประเมินราคา, ราคาประเมินของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าของทรัพย์ผู้รับจำนำ หรือผู้รับจำนอง ฯลฯ
รมว.ยุติธรรมในขณะนั้นมีเจตนาให้ขายทรัพย์ได้ ราคาสูงเพื่อช่วยลูกหนี้ปลดหนี้ แต่ในทางปฏิบัติ การตั้งราคาขายทรัพย์สูงก็ไม่เกิดแรงจูงใจให้มีคนเข้าประมูล ทำให้ขายทรัพย์ NPA ได้ยากขึ้นไปอีก
ส่วนหลักเกณฑ์ที่ขอแก้ไข แนวคิดขณะนี้คือจะกลับมาใช้วิธีอ้างอิงจากราคาประเมินกรมธนารักษ์
แนว คิดกำหนดราคาขายทรัพย์เบื้องต้น คาดว่าจะอยู่ในช่วง 70-100% ของราคาประเมิน กล่าวคือขายทอดตลาดครั้งแรกเริ่มต้นที่ราคา 100% ของราคาประเมิน ถ้าขายไม่ได้ค่อยปรับลดลง เช่น ครั้งที่ 2, 3, 4 ปรับลดเหลือ 90% 80% และ 70% ตามลำดับ
ปล่อยผีกรณี ประมูลรายเดียว
แหล่ง ข่าวกล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ไขหลักเกณฑ์กรณีที่มีผู้เสนอราคาประมูลเพียงราย หรือราคาทรัพย์ที่ขายได้ไม่พอชำระหนี้ หรือไม่มีลูกหนี้ตามคำพิพากษาเข้าร่วมซื้อหนี้ด้วย ให้กรมถอนทรัพย์ชิ้นนั้นออกจากการขายทอดตลาดเพื่อนำกลับมาขายใหม่ในภายหลัง ได้เสนอยกเลิกการใช้กฎกระทรวงข้อนี้ เพราะค่อนข้างเป็นอุปสรรคต่อการขายทอดตลาด
"ขั้นตอนการออกกฎกระทรวง ล่าสุด หากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผ่านการตรวจพิจารณา ก็จะส่งกลับเข้าสู่ที่ประชุม ครม.อีกครั้ง หาก ครม.อนุมัติก็สามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ทันที"
เปิดโผ 5 ทรัพย์เด่น
ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจทรัพย์รอการขาย (NPA) ของกรมบังคับคดี พบว่ามีทรัพย์เด่น 5 รายการที่น่าสนใจ ได้แก่ 1)อาคารสำนักงานธนาลงกรณ์พร้อมที่ดิน เนื้อที่ 2 ไร่ ติดถนนบรมราชชนนี ใกล้กับศูนย์การค้าเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า ราคาเริ่มต้นขายทอดตลาด 774,184,080 บาท กำหนดขายทอดตลาดนัดที่แรก 23 พฤษภาคมนี้
2)ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 23-0-68 ไร่ ต.ราษฎร์นิยม อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ราคาเริ่มต้นขายทอดตลาด 25,956,800 บาท ขายทอดตลาดนัดแรก 31 พฤษภาคมนี้
3)ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 1 ไร่ ในตำบลบึงบอนใต้ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ราคาเริ่มต้น 40 ล้านบาท กำหนดขาย 8 มิถุนายนนี้ ฯลฯ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น