อายัดเงินดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา
ลูกหนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลรวมกันหลายแสนบาท
ต่อมาโดนฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ อยากทราบขั้นตอนการถูกอายัดเงินเดือน และลูกหนี้สามารถจะส่งเงินเดือนที่ถูกอายัดได้เองหรือไม่
ตอบ
1. เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้วเจ้าหนี้ตามคำ
พิพากษาสามารถขออายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะพิจารณา อายัดให้ ดังนี้
เงินเดือน อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30
ของอัตราเงินเดือน
ก่อนหักรายจ่ายอื่น
ทั้งนี้ต้องมีเงินคงเหลือให้ลูกหนี้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
เงินโบนัส อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 50
เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30
เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดเต็มจำ นวนไม่เกินหนี้
ตามหมายบังคับคดี
2. เมื่อผู้รับคำสั่งอายัด (นายจ้าง)
ได้รับคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงาน บังคับคดีแล้ว
ต้องนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดอย่างเคร่งครัด หากมีเหตุขัดข้อง
ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
มิฉะนั้นนายจ้างอาจต้องรับผิดชำระหนี้
เสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำ พิพากษา เท่ากับจำ
นวนที่นายจ้างไม่ได้นำส่งเงิน ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
3. ในกรณีลูกหนี้ประสงค์จะนำส่งเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัด ไปด้วยตนเอง
ลูกหนี้จะต้องไปตกลงกับนายจ้างก่อนเพราะนายจ้างมีหน้าที่ ต้องนำส่งเงิน การที่ลูกหนี้นำส่งเงิน
จึงเสมือนเป็นการนำส่งเงินของนายจ้าง และให้ลูกหนี้ส่งใบเสร็จรับเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้นายจ้างทราบ ทุกครั้ง หากลูกหนี้ไม่นำส่งเงิน
นายจ้างยังคงมีความรับผิดตามข้อ 2
ตามที่พี่นกกระจอกเทศ ประธานชมรมหนี้เขียนไว้ดังนี้
หมายความว่า ถ้าเงินเดือนเกิน 20,000 ยึดไปจ่ายหนี้ครับ
การอายัดเงินเดือน หมายถึง “การอายัดรายได้โดยคิดมาจากรายรับรวมทั้งหมด ทุกๆรายรับที่ลูกหนี้ได้รับมาจากนายจ้างในแต่ละเดือน โดยรายได้นั้นๆ ต้องถูกนำไปหักภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ตาม ภงด.91”
สรุปแล้วก็คือ การอายัดเงินเดือนในแต่ละเดือนนั้น จะคิดมาจาก
เงินเดือน บวกด้วยค่าต่างๆดังนี้ (ถ้ามี)...อาทิเช่น
+ ค่าโอที + ค่าเบี้ยกะ + ค่าเบี้ยขยัน + ค่าคอมมิชชั่น + ค่าน้ำมันรถ + ค่าเบี้ยเลี่ยง + ค่าตำแหน่ง
ได้รวมกันทั้งหมดเท่าไหร่ หากมีจำนวนเงินที่เกินกว่า 20,000 บาท ก็ต้องทำการหักไปนำส่งให้กับกรมบังคับคดีทั้งหมด โดยเหลือเงินให้ลูกหนี้เอาไว้ใช้แค่ 20,000 บาทเท่านัั้น (ตามกฎหมายฉบับใหม่ที่กำหนดไว้)
ส่วนเงินโบนัส จะต้องถูกอายัดที่ 50%(ครึ่งหนึ่ง)อยู่แล้ว...อันนี้กฎหมายไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
หากลูกหนี้ไปทำเรื่องขอลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง(50%)...แล้วได้รับการอนุมัติตามนั้น
แทนที่ทุกๆเดือน ลูกหนี้จะต้องโดนอายัดในส่วนเงินที่เกิน 20,000 ไปทั้งหมด
ลูกหนี้ก็จะโดนอายัดเงินที่ครึ่งหนึ่ง ของจำนวนเงินที่เกิน 20,000 บาทแทน
เช่น
ลูกหนี้มี เงินเดือน + ค่าโอที + ค่าเบี้ยกะ + ค่าเบี้ยขยัน + ค่าคอมมิชชั่น + ค่าน้ำมันรถ + ค่าเบี้ยเลี่ยง+ ค่าตำแหน่ง ในเดือนนี้ = 38,000 บาท
โดยปกติ ลูกหนี้จะต้องโดนอายัดเงินที่ 18,000 บาท
แต่...ถ้าลูกหนี้ไปทำเรื่องขอลดหย่อนการอายัด ที่ครึ่งหนึ่ง(50%)...และได้รับการอนุมัติแล้ว
ลูกหนี้ก็จะโดนอายัดเงินที่จำนวน 9,000 บาทแทน
สรุปแล้วก็คือ การอายัดเงินเดือนในแต่ละเดือนนั้น จะคิดมาจาก
เงินเดือน บวกด้วยค่าต่างๆดังนี้ (ถ้ามี)...อาทิเช่น
+ ค่าโอที + ค่าเบี้ยกะ + ค่าเบี้ยขยัน + ค่าคอมมิชชั่น + ค่าน้ำมันรถ + ค่าเบี้ยเลี่ยง + ค่าตำแหน่ง
ได้รวมกันทั้งหมดเท่าไหร่ หากมีจำนวนเงินที่เกินกว่า 20,000 บาท ก็ต้องทำการหักไปนำส่งให้กับกรมบังคับคดีทั้งหมด โดยเหลือเงินให้ลูกหนี้เอาไว้ใช้แค่ 20,000 บาทเท่านัั้น (ตามกฎหมายฉบับใหม่ที่กำหนดไว้)
ส่วนเงินโบนัส จะต้องถูกอายัดที่ 50%(ครึ่งหนึ่ง)อยู่แล้ว...อันนี้กฎหมายไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
หากลูกหนี้ไปทำเรื่องขอลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง(50%)...แล้วได้รับการอนุมัติตามนั้น
แทนที่ทุกๆเดือน ลูกหนี้จะต้องโดนอายัดในส่วนเงินที่เกิน 20,000 ไปทั้งหมด
ลูกหนี้ก็จะโดนอายัดเงินที่ครึ่งหนึ่ง ของจำนวนเงินที่เกิน 20,000 บาทแทน
เช่น
ลูกหนี้มี เงินเดือน + ค่าโอที + ค่าเบี้ยกะ + ค่าเบี้ยขยัน + ค่าคอมมิชชั่น + ค่าน้ำมันรถ + ค่าเบี้ยเลี่ยง+ ค่าตำแหน่ง ในเดือนนี้ = 38,000 บาท
โดยปกติ ลูกหนี้จะต้องโดนอายัดเงินที่ 18,000 บาท
แต่...ถ้าลูกหนี้ไปทำเรื่องขอลดหย่อนการอายัด ที่ครึ่งหนึ่ง(50%)...และได้รับการอนุมัติแล้ว
ลูกหนี้ก็จะโดนอายัดเงินที่จำนวน 9,000 บาทแทน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น