ไขข้อข้องใจการอายัดเงินเดือน
ถาม : ถูกศาลพิพากษาแล้ว อีกนานแค่ไหนถึงจะโดนอายัดเงินเดือน?
ตอบ : การอายัดเงินเดือน หรือการอายัดทรัพย์ใดๆนั้น จะใช้เวลานานเท่าใดนั้น มันขึ้นอยู่กับความขยันของฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้) ที่จะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาล ไปเขียนคำร้องขอต่อกรมบังคับคดีให้เป็นผู้ทำการอายัด โดยให้เหตุผลว่าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล(ดื้อแพ่ง)
เจ้าหนี้จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อกรมบังคับคดี พร้อมกับแนบหลักฐานว่า เจ้าหนี้สืบพบว่าลูกหนี้ในคดีนี้ ทำงานอยู่ที่บริษัท xxxx จำกัด โดยหลังจากนี้ ทางกรมบังคับคดีก็จะจัดส่งจดหมาย ไปถึงยังผู้บริหารของบริษัท xxxx จำกัด เพื่อให้ทำการหักอายัดเงินเดือนของลูกจ้าง(จำเลยที่ถูกพิพากษา) พร้อมกับให้นายจ้างเป็นผู้นำส่งเงินที่อายัดจำนวนนี้ ส่งมาให้กรมบังคับคดีทุกเดือน เพื่อชดใช้หนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะหมดหนี้
ดังนั้น...ระยะเวลาในการอายัดใดๆ ของกรมบังคับคดี หลังจากที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วนั้น...มันจึงไม่แน่นอน (ถึงแม้นว่าในคำพิพากษา จะเขียนเอาไว้โดยชัดเจนว่า บังคับภายใน 15 หรือ 30 วัน ก็ตามที) เพราะเงื่อนไขของระยะเวลาดังกล่าว มันขึ้นอยู่กับทางฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้)เอง ว่าจะไปยื่นเรื่องเมื่อไหร่?
ยังมีเงื่อนไขแห่งความล่าช้าของการอายัดอีกประการหนึ่ง...กล่าวคือ
เนื่องจากยังมีคดีในการติดตามอายัดต่างๆ ที่ค้างอยู่ในกรมบังคับคดีจำนวนมหาศาล ที่ยังรอคิวเพื่อทำเรื่องส่งอายัดอยู่อีกตั้งมากมายหลายคดี
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ของกรมบังคับคดีในแต่ละจังหวัดอีกด้วย เพราะในบางจังหวัดมีคดีในการฟ้องร้องบังคับคดีกันน้อยมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญน้อย เช่น จังหวัด แม่ฮ่องสอน , น่าน , ตราด , ระนอง , สตูล , พังงา , ยโสธร , เลย , และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้…เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดน้อยคดี จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับคดีได้โดยเร็วเพราะไม่ต้องรอคิวนาน
ส่วนจังหวัดที่มีความเจริญสูงมากๆ ก็จะมีคดีที่รอคิวให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญสูง เช่นจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล , ชลบุรี , เชียงใหม่ , นครราชสีมา , ขอนแก่น , อุบลราชธานี , อุดรธานี , สงขลา...เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับได้ช้ามาก เพราะไม่รู้ว่าต้องรออีก กี่พัน กี่หมื่นคดี กว่าจะถึงคิวของตน
ดังนั้น...ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนที่ถูกอายัด...กว่าจะ"โดน" ก็เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ (15 วัน) กันทั้งนั้น...และแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการ"โดน"ที่ไม่เท่ากันเลย...เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย
บางคน"โดน"หลังจากที่ศาลพิพากษา เพียงแค่ 2 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 6 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 1 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 2 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 6 ปี
แล้วจะเอาตรงไหนมาเป็นบรรทัดฐานดีล่ะครับ?
ตอบ : การอายัดเงินเดือน หรือการอายัดทรัพย์ใดๆนั้น จะใช้เวลานานเท่าใดนั้น มันขึ้นอยู่กับความขยันของฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้) ที่จะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาล ไปเขียนคำร้องขอต่อกรมบังคับคดีให้เป็นผู้ทำการอายัด โดยให้เหตุผลว่าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล(ดื้อแพ่ง)
เจ้าหนี้จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อกรมบังคับคดี พร้อมกับแนบหลักฐานว่า เจ้าหนี้สืบพบว่าลูกหนี้ในคดีนี้ ทำงานอยู่ที่บริษัท xxxx จำกัด โดยหลังจากนี้ ทางกรมบังคับคดีก็จะจัดส่งจดหมาย ไปถึงยังผู้บริหารของบริษัท xxxx จำกัด เพื่อให้ทำการหักอายัดเงินเดือนของลูกจ้าง(จำเลยที่ถูกพิพากษา) พร้อมกับให้นายจ้างเป็นผู้นำส่งเงินที่อายัดจำนวนนี้ ส่งมาให้กรมบังคับคดีทุกเดือน เพื่อชดใช้หนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะหมดหนี้
ดังนั้น...ระยะเวลาในการอายัดใดๆ ของกรมบังคับคดี หลังจากที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วนั้น...มันจึงไม่แน่นอน (ถึงแม้นว่าในคำพิพากษา จะเขียนเอาไว้โดยชัดเจนว่า บังคับภายใน 15 หรือ 30 วัน ก็ตามที) เพราะเงื่อนไขของระยะเวลาดังกล่าว มันขึ้นอยู่กับทางฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้)เอง ว่าจะไปยื่นเรื่องเมื่อไหร่?
ยังมีเงื่อนไขแห่งความล่าช้าของการอายัดอีกประการหนึ่ง...กล่าวคือ
เนื่องจากยังมีคดีในการติดตามอายัดต่างๆ ที่ค้างอยู่ในกรมบังคับคดีจำนวนมหาศาล ที่ยังรอคิวเพื่อทำเรื่องส่งอายัดอยู่อีกตั้งมากมายหลายคดี
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ของกรมบังคับคดีในแต่ละจังหวัดอีกด้วย เพราะในบางจังหวัดมีคดีในการฟ้องร้องบังคับคดีกันน้อยมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญน้อย เช่น จังหวัด แม่ฮ่องสอน , น่าน , ตราด , ระนอง , สตูล , พังงา , ยโสธร , เลย , และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้…เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดน้อยคดี จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับคดีได้โดยเร็วเพราะไม่ต้องรอคิวนาน
ส่วนจังหวัดที่มีความเจริญสูงมากๆ ก็จะมีคดีที่รอคิวให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก อย่าง จังหวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเจริญสูง เช่นจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล , ชลบุรี , เชียงใหม่ , นครราชสีมา , ขอนแก่น , อุบลราชธานี , อุดรธานี , สงขลา...เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้จะมีคดีที่ถูกยื่นให้ทำการอายัดเป็นจำนวนมาก จึงสามารถดำเนินการอายัดบังคับได้ช้ามาก เพราะไม่รู้ว่าต้องรออีก กี่พัน กี่หมื่นคดี กว่าจะถึงคิวของตน
ดังนั้น...ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนที่ถูกอายัด...กว่าจะ"โดน" ก็เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ (15 วัน) กันทั้งนั้น...และแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการ"โดน"ที่ไม่เท่ากันเลย...เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย
บางคน"โดน"หลังจากที่ศาลพิพากษา เพียงแค่ 2 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 6 เดือน
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 1 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 2 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 4 ปี
บางคนก็"โดน"หลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว 6 ปี
แล้วจะเอาตรงไหนมาเป็นบรรทัดฐานดีล่ะครับ?
ภายใน10ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา
ตอบลบ