ความหมายของ วันนัดไปศาล

ถ้าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า

ให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ยในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558

และให้จำเลยมาศาลเพื่อการสืบพยานโจทก์ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558

ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน

ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ วันนัดไกล่เกลี่ย (นัดที่หนึ่ง)
และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ" (นัดที่สอง)

ส่วนสำหรับวันนัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา) จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน?

ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง)

เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กันเป็นส่วนใหญ่..จะเขียนเป็นดังนี้

เพราะฉะนั้นให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและสืบพยาน ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2556

ส่วนใหญ่หมายศาลของ คดีแพ่ง และ คดีผู้บริโภค ในปัจจุบัน มักจะเขียนเป็นอย่างนี้กันเกือบทั้งหมดแล้วครับ

แล้วเขียนแบบนี้มันหมายความว่าอย่างไร?...และมันแตกต่างกันตรงไหนหรือ?...

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็คือ...ในปัจจุบันนี้ คดีแพ่งต่างๆรวมทั้งคดีผู้บริโภคที่อยู่ในชั้นศาล มีมากมายเสียจนแทบจะเรียกได้ว่า"คดีล้นศาล"...ดังนั้นศาลท่านจึงเห็นว่า สมควรที่จะต้องรีบ"รวบรัด"คดี ต่างๆที่ยังมีค้างอยู่ รวมทั้งคดีต่างๆที่จะเข้ามาใหม่ ให้มีระยะเวลาที่ กระชับ , รวดเร็ว , และกระขั้นชิดมากขึ้น โดยพยายามไม่ให้ยืดเยื้อ

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้อง...รวบเอานัดที่หนึ่ง(นัดไกล่เกลี่ย) และนัดที่สอง(นัดสืบพยาน) โดยนำมารวมให้อยู่ภายในวันเดียวกันเลย เรียกได้ว่าขึ้นศาลวันเดียว"รู้เรื่อง" เพราะทั้งไกล่เกลี่ยและทั้งต่อสู้คดีภายในวันเดียวกันไปเลย

ศาลท่านจึงได้เขียนระบุไว้ที่หน้าหมายศาลว่า "ให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและสืบพยาน ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2556"...ยังไงล่ะครับ

ถ้าใครที่ถูกฟ้องแล้ว ในหน้าหมายศาลเขียนเอาไว้อย่างที่ผมได้บอกไป (ขอย้ำว่า...ศาลส่วนใหญ่จะเขียนเป็นแบบที่ผมบอก) ก็คือ "การรวบทั้งสองนัด" ไว้ภายในวันเดียว...แต่ฝ่ายลูกหนี้ (จำเลย) อ่านแล้วเข้าใจผิดไปเอง โดยไปคิดเอาเองว่า "เป็นแค่เพียงวันนัดไกล่เกลี่ยเท่านั้น" ดังนั้น ยังไม่ต้องไปศาลในนัดแรกนี้ก็ได้ เดี๋ยวก็ต้องไปใหม่อีกทีในวันสืบพยาน (วันสู้คดี) อยู่ดี

ถ้าคิดเช่นนี้...ก็ฉิบหายเลยครับ

เพราะการที่คุณไม่ได้ไปศาลในวันดังกล่าว เนื่องจากการเข้าใจผิดไปเอง...ก็เท่ากับว่าคุณ "ได้หนีศาลไปถึงสองนัดพร้อมๆกัน" ซึ่งคุณจะถูกศาลท่านพิพากษาทันที ภายในวันนั้นเลย

ดังนั้นจึงใคร่ขอเตือนให้สมาชิกทุกท่าน กรุณาอ่านข้อความ ที่เกี่ยวข้องกับวันนัดในหมายศาลให้ดีนะครับ ว่าเขาเขียนเอาไว้อย่างไร?...นัดให้ไปขึ้นศาลเพื่ออะไร?...จะได้ไม่ต้องมา นั่งร้องให้เสียใจในภายหลัง




อนึ่ง...หากลูกหนี้รายใด ได้รับหมายศาลแล้ว ปรากฏว่าใน"วันที่"นัดให้ไปขึ้นศาล มันเป็น"วันเสาร์"ตาม ในปฎิทิน...ก็ไม่ต้องสงสัยไปนะครับ ว่าวันที่ในนั้นถูกระบุผิดหรือเปล่า? เพราะตามปกติแล้วศาลจะหยุด(ไม่ทำงาน)ในวัน เสาร์-อาทิตย์ มิใช่หรือ?

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ...ตามที่ผมได้เกริ่นไปตั้งแต่แรกแล้วว่า

ในปัจจุบันนี้ คดีแพ่งต่างๆรวมทั้งคดีผู้บริโภคที่อยู่ในชั้นศาล(ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องร้องกันว่าด้วยเรื่อง"หนี้เงิน") มีคดีมากมายเสียจนแทบจะเรียกได้ว่า"คดีล้นศาล"

ดังนั้น ศาลท่านจึงจำเป็นที่จะต้องมาทำงานในวัน เสาร์/อาทิตย์(ซึ่งปกติเป็นวันหยุด)ด้วย เพื่อที่จะช่วยระบายคดีต่างๆที่ยัง"ล้นศาล"นี้ออกไปให้ได้มากที่สุด
จึงเป็นเหตุผลที่ศาลบางแห่ง ที่มีคดี"ล้นศาล"เป็นจำนวนมากๆ ศาลจึงจำเป็นต้องนัดคู่ความตามในคดีฟ้อง (ความแพ่ง) ให้มาขึ้นศาลในวันหยุดดังกล่าวด้วย
โดยในหมายศาลหน้าแรก อาจเขียนเป็นคำสั่งไว้ว่า นัดนอกเวลาทำการ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์จริงคนขึ้นศาลคดี Easybuy

แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ โดยคุณแก้วจ๋า ชมรมหนี้บัตรเครดิต

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน