การสร้างวินัยในการออม
การสร้างวินัยในการออม” เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง นอกเหนือไปจากความสามารถในการหาทำงานหาเงินทอง และการสร้างวินัยให้กับตนเองในการออมนั้นถือว่าเป็นเคล็ดลับสำคัญที่สุด ที่จะช่วยผลักดันให้เพื่อนๆสามารถเก็บเงินได้ตามระยะทางเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากขาดการสร้างวินัยให้กับตนเอง เราก็อาจไปถึงเป้าหมายยากลำบากขึ้น ดังนั้น อยากจะให้เพื่อนๆคิดเสียว่า “การออมก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายตัวหนึ่งที่จะต้องคอยดูแลกันทุกเดือน” แต่แตกต่างกันตรงที่ การออมเป็นค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายให้ก...ับตัวเองอย่างมีวัตถุประสงค์ ซึ่งเราสามารถจัดสรรการออมให้กับตัวเองด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ค่ะ
1. ออมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน โดยตัดประมาณ 10% ของรายได้ ซึ่งอาจนำเข้าบัญชีเงินฝากประจำ เพื่อให้ยากต่อการนำเงินออกมาใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
2. ออมไว้เพื่อเกษียณ โดยตัดประมาณ 10% ของรายได้ อาจเป็นการจ่ายเพื่อลงทุนในกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับทางบริษัท, การซื้อกองทุน RMF , การซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือแบบสะสมทรัพย์
3. ออมไว้เพื่อใช้ลงทุนต่อให้เงินงอกเงย โดยตัดประมาณ 20% ของรายได้ และนำเงินส่วนนี้มาลงทุนเพื่อเป็นการต่อยอด เช่น ซื้อทองคำ พันธบัตร สลากออมสิน หรือตัดบัญชีอัตโนมัติทุก ๆ เดือนเพื่อซื้อกองทุน LTF, RMF ยิ่งถ้าเราหาช่องทางการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งเห็นผลที่ได้รับมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
จากวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้คุณมีเงินเหลือไว้สำหรับใช้จ่ายแบบสบาย ๆ อีก 60% ของรายได้ และถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น หรือค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าไปโดยไม่เกิดประโยชน์ เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ ที่สมัครไว้แต่ไม่ได้ใช้บริการ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบัตรเครดิต เช่น ดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้ เป็นต้น ก็จะทำให้มีเงินเหลือไว้ออมกันมากขึ้น
นอกจากนี้ ถ้าเรามองว่าการออมเงินก็คือค่าใช้จ่ายตัวนึง จะทำให้เราไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินก้อนนั้น ซึ่งจะส่งผลดีกับตัวเราเองอย่างแน่นอนในระยะยาว แต่ถ้าเรามองว่าเงินออม ก็คือเงินสำรองที่สามารถดึงมาใช้ได้ตลอดในยามฉุกเฉิน หรือเมื่อเงินไม่พอใช้ ก็จะทำให้เราไปดึงเงินก้อนนั้นมา โดยคิดว่า “ขอยืมมาใช้ก่อน พอมีแล้วเดี๋ยวกลับมาออมใหม่” ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เงินออมส่วนที่หายไปนั้น น้อยมากที่จะเริ่มกลับมาออมกันใหม่อีก
จะยังไงก็ตามถึงแม้คุณจะบริหารจัดการทางการเงินดียังไงก็ตาม ก็ไม่ควรลืมบริหารชีวิตตัวคุณด้วย คนเราต้องมีความสมดุลในชีวิตนะคะ เพื่อนๆบางคนที่ชอบเก็บออมเงิน/ลงทุนมาเยอะจนลืมที่จะใช้จ่ายเพื่อความสุขให้แก่ตัวเอง จริงอยู่ที่การเก็บออม/การลงทุนเป็นเรื่องดีแต่ชีวิตด้านอื่นก็สำคัญเช่นกัน หาเวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อน ไปใช้ชีวิตให้เต็มที่ เก็บเกี่ยวความสุขและประสบการณ์กันบ้างก็ดีนะคะ
เที่ยวสนุก สุขกับการออม สุขกับไลฟ์สไตล์ในแบบของคุณ ไปกับเราเอไลฟ์ นะคะ
ดูเพิ่มเติม2. ออมไว้เพื่อเกษียณ โดยตัดประมาณ 10% ของรายได้ อาจเป็นการจ่ายเพื่อลงทุนในกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับทางบริษัท, การซื้อกองทุน RMF , การซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือแบบสะสมทรัพย์
3. ออมไว้เพื่อใช้ลงทุนต่อให้เงินงอกเงย โดยตัดประมาณ 20% ของรายได้ และนำเงินส่วนนี้มาลงทุนเพื่อเป็นการต่อยอด เช่น ซื้อทองคำ พันธบัตร สลากออมสิน หรือตัดบัญชีอัตโนมัติทุก ๆ เดือนเพื่อซื้อกองทุน LTF, RMF ยิ่งถ้าเราหาช่องทางการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งเห็นผลที่ได้รับมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
จากวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้คุณมีเงินเหลือไว้สำหรับใช้จ่ายแบบสบาย ๆ อีก 60% ของรายได้ และถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น หรือค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าไปโดยไม่เกิดประโยชน์ เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ ที่สมัครไว้แต่ไม่ได้ใช้บริการ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบัตรเครดิต เช่น ดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้ เป็นต้น ก็จะทำให้มีเงินเหลือไว้ออมกันมากขึ้น
นอกจากนี้ ถ้าเรามองว่าการออมเงินก็คือค่าใช้จ่ายตัวนึง จะทำให้เราไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินก้อนนั้น ซึ่งจะส่งผลดีกับตัวเราเองอย่างแน่นอนในระยะยาว แต่ถ้าเรามองว่าเงินออม ก็คือเงินสำรองที่สามารถดึงมาใช้ได้ตลอดในยามฉุกเฉิน หรือเมื่อเงินไม่พอใช้ ก็จะทำให้เราไปดึงเงินก้อนนั้นมา โดยคิดว่า “ขอยืมมาใช้ก่อน พอมีแล้วเดี๋ยวกลับมาออมใหม่” ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เงินออมส่วนที่หายไปนั้น น้อยมากที่จะเริ่มกลับมาออมกันใหม่อีก
จะยังไงก็ตามถึงแม้คุณจะบริหารจัดการทางการเงินดียังไงก็ตาม ก็ไม่ควรลืมบริหารชีวิตตัวคุณด้วย คนเราต้องมีความสมดุลในชีวิตนะคะ เพื่อนๆบางคนที่ชอบเก็บออมเงิน/ลงทุนมาเยอะจนลืมที่จะใช้จ่ายเพื่อความสุขให้แก่ตัวเอง จริงอยู่ที่การเก็บออม/การลงทุนเป็นเรื่องดีแต่ชีวิตด้านอื่นก็สำคัญเช่นกัน หาเวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อน ไปใช้ชีวิตให้เต็มที่ เก็บเกี่ยวความสุขและประสบการณ์กันบ้างก็ดีนะคะ
เที่ยวสนุก สุขกับการออม สุขกับไลฟ์สไตล์ในแบบของคุณ ไปกับเราเอไลฟ์ นะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น