บทความ

ประสบการณ์ขึ้นศาล CITI BANK

รูปภาพ
วันนี้จะมาอัพเดตหน่อยหลังจากหายไปนาน 1. City advance สินเชื่อส่วนบุคคล ยอดหนี้ 2xx,xxx บาท (ขอแก้ไขยอดหนี้หน่อยนะครับ ตัวนี้ ยอดฟ้องอยู่ที่ 17x,xxx )>> หยุดจ่าย 6/57 (ฟ้องแล้ว จากนั้น City ติดต่อ H/C 80,000 แบ่งจ่าย 3 งวด งวดแรกเริ่ม ตุลาคม - ธันวาคม เป็นงวดสุดท้าย )จะขอเล่าเกี่ยวกับตัวนี้นิดหน่อย เนื่องจากผมโดนหมายศาลให้ไปขึ้นศาล วันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งช่วงระยะเวลานั้นมันอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ ตอนแรกผมไม่แน่ใจว่าต้องไปขึ้นศาลมั้ยเนื่องจากเจรจา H/C ไปแล้ว แต่หลังจากโทรไปปรึษาพี่นกกระจอก ท่านแนะนำว่ายังไงก็ต้องไป เพราะการ H/C ยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าเราชำระเรียบร้อยแล้วทางทนายของ City จะถอนฟ้องเอง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ผมได้มีโอกาสขึ้นศาลครั้งแรก การเตรียมตัว 1. หาอ่านเคสการขึ้นศาลในบอร์ด ซึ่งที่ผมเจอก็ไม่มีที่เหมือนผมเป๊ะๆซะเท่าไหร่ ดังนั้น เราก็ต้องประยุกต์เอาเอง 2. ตรวจสอบ และเตรียมเอกสารที่ต้องเอาไป (หนังสือ H/C , สลิปที่ไปจ่ายเงินถ่ายเอกสาร และที่สำคัญ "หมายศาล") 3. วันที่ศาลนัด ผมไปก่อนเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (ศาลนัด 9 โมงเช้า) หลังจากนั้นผมก็ไปตรวจรายชื่อ พ

ตัวอย่างการคำนวณภาษ๊ ลดหย่อนจากประกันชีวิต

ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้มีเงินได้ทุกประเภทภาษีรวมทั้งปีเท่ากับ 3,400,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของตนเองไว้รวมปีละ 60,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญไว้ 300,000 บาท และซื้อหน่วยลงทุน RMF ไว้ในปีเดียวกันถึง 360,000 บาท นาย ก. สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ดังนี้ (1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้มีเงินได้ทั้งปี 3,400,000 บาท ไม่เกินร้อยละ 15 มีเพดานสูงสุดเท่ากับ = 3,400,000 X 15% = ไม่เกิน 510,000 บาท (2) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 60,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตปกติก่อน 60,000 บาท คงเหลืออีก 40,000 บาท (100,000 - 60,000 = 40,000 ) จึงนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาใช้สิทธิให้ครบ 100,000 บาท (3) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 300,000 บาท คงเหลืออีก 260,000 บาท (300,000 - 40,000) นำมาเปรียบเทียบกับตาม 1. พบว่าไม่เกิน จึงสามารถใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้เต็ม 200,000 บาท (4) นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท ไปรวมกับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF

ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการเพิ่มเติมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่มีอยู่แล้วตามปกติ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน             แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน  หลักเกณฑ์  (1) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (2) ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย (3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกัน ก็ได้ โดยจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน (4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรื