บทความ

คอนโดเก่า จากผู้เช่า สุ่ผู้จัดการนิติบุคคล ตอนที่ 3

เก่าไปใหม่มา หลังจากป้าแต๋วได้พ่ายแพ้ในสำหรับตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลฯ แต่ที่ประชุมได้เลือก จริงๆแล้วก็ไม่ได้เลือกคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด แต่มีคนเสนอตัวกันมา ๗ คน และไม่ต้องเลือกเพราะเป็นได้ถึง ๙ คน ซึ่งคณะกรรมการส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกของท่านประธาน ส่วนกรรมการชุดเก่าต่างเข็ดขยาดไม่อยากเป็นต่อ เลยไม่สมัคร บรรยากาศหลังเลิกประชุม บรรดาลูกบ้านต่างกลับจากโรงแรม ทางกรรมการชุดใหม่ได้เข้ามายึดอำนาจ ล็อคห้องทำงานของป้าแต๋ว ไม่ให้เข้าไม่ให้ออก แต่ก็สายไปเสียแล้ว เอกสารบางส่วนป้าแกได้นำออกไปแล้วเมื่อมารู้ภายหลัง  ในที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุบิน ซึ่งเป็นคนที่มีห้องในคอนโดมากเป็นสิบห้อง และปล่อยให้เช่า มาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการคอนโด และนายยุทธนาเป็นประธานคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด แต่เมื่อนำไปจดทะเบียนกับทางกรมที่ดินแล้วไม่สามารถทำได้เนืองจากตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พุทธศักราช ๒๕๕๑ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องได้รับคะแนะเสียง ๒๕ เปอร์เซนต์จากลูกบ้านทั้งหมด เมื่อไม่สามารถเป็นได้ ทางคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดต้องประชุมกันเพื่อเลือกผู้จัดการรักษาการ ผลที่ได้คือเลือกนายยุทธนาเป็นผู้จัดการนิติ ท

คอนโดเก่า จากคนเช่า จนเป็นผู้จัดการนิติบุคคล ภาค ๒

คอนโดเก่า จากคนเช่า จนเป็นผู้จัดการนิติบุคคล ภาค ๒ หลังจากทำห้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมก็ย้ายเข้ามาอยู่ ในช่วงนั้นเป็นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงปลายวาระการเป็นผู้จัดการคอนโดตามภาษาพูดของชาวคอนโดจะเรียกผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดว่า ผู้จัดการคอนโด ทางคณะกรรมการได้มีกำหนดให้มีการประชุมประจำปีเพื่อพิจาณาผลการดำเนินการและมีการเลือกตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลจากลูกบ้าน ป้าแต๋วซึ่งเป็นผู้จัดการก็ได้ออกหนังสือเชิญประชุม โดยคำสั่งของท่านประธานกรรมการนิติบุคคล ที่นี่มันมีเรื่องกันอยู่ว่า ทางท่านประธานและกรรมการบางท่านสงสัยว่าป้าแต๋วจะทุจริตในเรื่องของการฝากห้องให้เช่า และการซื้อขายคอนโด จึงมีการวิ่งเต้นล๊อบบี้ เพื่อที่จะโค่นป้าแต๋วลงให้ได้ ฝ่ายป้าแต๋วก็มีการปล่อยข่าวประมาณว่า ไม่เลือกเรา เขามาแน่ คือ ๒ ปี ก่อนที่ป้าแต๋วจะเข้ามา ทางลูกบ้านได้จ้างบริษัทเข้ามาบริหาร ซึ่งผู้จัดการคอนโดเป็นน้องของสามีเก่าป้าแต๋ว และเอาภรรยาคือพี่ซาร่ามาทำด้วย ตอนนั้นมีปัญหาเรื่องการทุกจริต ยักยอก อมเงิน รับเงินแล้วไม่เอาเงินเข้าบัญชี ลูกบ้านเลยต้องไปอัญเชิญป้าแต๋ว ซึ่งเคยทำงานกับบริษัทที่มารับจ้างบริหาร ก่อนโดนน้องสามีเขี่ย

คอนโดเก่า จากคนเช่า เป็นผู้จัดการนิติ

คอนโดเก่า จากคนเช่า เป็นผู้จัดการนิติ จากคนเช่า เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ภาค ๑  การซื้อคอนโดเก่ามือสอง คอนโดเก่าก็เร้าใจ เมื่อปี 2551 ผมได้ซื้อคอนโดเก่าอายุกว่า 16 ปี ตอนซื้อไม่ได้ขอดูโฉนดก่อนจึงไม่ทราบว่ามันเก่าถึงเพียงนี้ การขายดำเนินการโดยป้าผู้จัดการคอนโดซึ่งรับจ๊อบเป็นคนซื้อขายด้วย  ราคาที่บอกขายป้าแกบอก 750,000 ซึ่งสภาพห้องก็เน่ามาก ด้วยความที่ชอบรีโนเวท (ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดที่ไม่ประเมินราคาการปรับปรุงก่อนตัดสินใจซื้อ) ก็ได้ตกลงซื้อไป ที่นี่ปัญหาของคอนโดมือสอง มือสาม หรือมือสี่ ในการกู้ธนาคารก็คือ ราคาที่ซื้อขายส่วนมากจะสูงกว่าราคาประเมิน หรือได้ไม่เต็มวงเงินกู้  คอนโดที่ผมซื้อราคาประเมินของกรมธนารักษ์อยู่ที่ ตารางเมตรละ 15,000 มี 40 ตารางเมตร จึงเป็น 600,000  ที่นี่จะทำไงกันดี  ก็เลยทำสัญญาซื้อขายกันสองฉบับ ฉบับแรกทำไป 850,000 ไว้กู้ธนาคาร อีกฉบับทำไว้ 750,000 ตามราคาที่ตกลงจริงๆ ที่นี่ธนาคารปล่อยกู้ก็แค่ 70 – 80 เปอร์เซนต์ของราคาประเมิน หรือ ราคาซื้อขาย ขึ้นอยู่กับว่าอะไรจะสูงกว่ากัน  โชคดีที่ ธนาคารให้บริษัทมาประเมิน แต่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมิน ได้ราคาที่ 850,

น้าสุข กับการเกษียณที่ไม่เป็นสุข

น้าสุข กับการเกษียณที่ไม่เป็นสุข แกเกษียณมาจากการประปา ได้ 6 ปี ได้เงินมาก้อนนึง 1.7 ล้านบาท แต่ก็หมดลงภายในเวลา 4 ปี ตอนแกเกษียณ แกเอาเงินไปออกแท๊กซี่มือสอง มา 2 คัน ตกคันละ 400,000 แกไม่ขับเอง จ้างคนขับ กะว่าได้วันละ 400 ต่อคัน มีสองคันก็แปดร้อย เดือนนึงไม่ต้องทำไร ได้สามหมื่นเนาะๆ สบายๆ แต่ที่ไหนได้ คนขับที่มาเช่ารถแกมันรู้กันกับอู่ รถแกเดี๋ยวเสีย เดี๋ยวซ่อม ซ่อมตลอดๆ จนบานปลายไม่ได้เงิน นิสัยส่วนตัวแกก็ไม่เคยทำมาหากินอย่างอื่น เครียด กินเหล้า โดนผู้หญิงหลอกอีก เงิน 1.7 ล้านหมดไปภายใน 4 ปี นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรมีความรู้ทางการเงินก่อนเกษียณ อย่าทำอะไรที่ไม่ถนัด ก่อนเกษียณก็หาความรู้บ้าง อะไรไม่เคยทำก็ศึกษา แก่แล้วโอกาสแก้ตัวหมดแล้วล่ะนั ตอนนี้แกรับจ้างเฝ้าสุขา เก็บตังค์หน้าห้องน้ำ พอประทังชีวิต

เมื่อฉันเลิกกิจการเกสต์เฮ้าส์

รูปภาพ
เลิกกิจการเกสต์เฮ้าส์ ตอนนี้ก็ได้เลิกกิจการเกสต์เฮ้าส์ไปแล้วด้วยหนี้สินหลักแสน  ตอนแรกทางเจ้าของเก่าประกาศขายมานานแล้ว แต่ไม่มีใครซื้อ  แกเคยทำเองมาก่อน แต่เจอช่วงกีฬาสีเลยไปไม่ไหว ต้องให้พวกนักเรียนเทคนิค พาณิชย์เช่า  เขาโกหกเราตั้งแต่แรกว่ารายได้ค่าเช่าของเขาเดือนละ 20,000 แต่ไปถามคนเช่าเขาจ่ายแค่ 1200 แล้วก็รวมค่าไฟ สภาพห้องก็สลัมสุดๆ  ตอนนั้นอะไรบังตาไม่รู้ทำให้ดูไม่ละเอียดถ้วนถึ่ สภาพห้องก็ไม่ดี แต่เราไม่ดูให้ละเอียด เมื่อเข้าไปทำแล้วต้องเสียเงินปรับปรุงเยอะทีเดียว ลุงแกจะขายทั้งหมด 2.5 ล้านบาท เราเลยขอเป็นเช่าแล้วกัน แกให้วางประกันของเสีย 70,000 ตอนแรกจะเอาแสนนึง จะมีของอะไรเสียหาย เพราะมันเน่าขนาดนี้ ที่นี่เมื่อตกลงทำแล้วก็ต้องหาช่างต่อไป แต่ช่างที่ได้มาก็แย่มากงานหยาบทำวันหยุดสองวัน ปวดหัวมากๆ แล้วจะมาเล่าต่อนะครับ ตอนนี้เลิกทำและขายอุปกรณ์ทิ้งหมดแล้ว  บทเรียนที่ ๑ จะเสียเงินดูให้ละเอียดรอบคอบ สภาพอาคารต้องดูให้ละเอียด ยิ่งไปเช่าเขาด้วย เรามีโอกาสเสียเปรียบได้มาก ควรจ้างช่างหรือวิศวกรเข้าไปดูสภาพและประเมินราคาค่าปรับปรุงด้วย  แต่นี่ผมไม่ทำเลย เอาเร็วอย่างเดียว พอซ่อมและปรับปรุง

เรื่องเศร้าของสาวออฟฟิส ติดหนี้บัตร

ขอเป็นโค้ชกะเขามั่ง ไม่ได้ตังค์หรอกนะ มีเคสนึง เป็นพนักงานออฟฟิส รุ่นใหญ่วัยราบ 11 คือใกล้หลักสี่ เป็นหนี้บัตรและสินเชื่อบุคคลสิริรวม 400,000 กว่าบาท ด้วยเงินเดือน 25,000 เหลือกินจริงๆ เดือนนึง ประมาณ 3,000 กว่าบาท เธอเล่าว่าบางที ซื้อไข่พะโล้มา ผ่าครึ่งกินทีละมื้อ เอาเงินไปให้จ่ายเจ้าหนี้ ดอกเบี้ยกินหมด เป็นงี้มาปีแล้วปีเล่า ตอนแรกแนะนำวิธีไป นางบอกไม่เอาอ่ะ กลัวเสียเครดิต ติดแบล็คลิสต์ บอกว่าจะกู้ซื้อคอนโดในอนาคต คิดในใจ มึงยังไม่รู้ตัว ใครเขาจะให้กู้ล่ะคุณ เต็มวงเงินขนาดนี้ ต้องคุยอยู่นาน และให้กลับไปคิด ตอนนั้นนางเปรียบเหมือนคนไข้อาการหนัก ต้องห้ามเลือดให้หยุดไหลก่อน และผ่าตัดใหญ่ สุดท้ายยอมทำตามที่แนะนำ ก็ตามนี้แหละนะ http://debtclub.consumerthai.org/index.php… ตอนนี้ หนี้บัตรหมดไปกว่าครึ่ง และไม่เครียด ไม่ต้องกินไข่พะโล้ผ่าครึ่งแต่ละมื้อแล้ว ยอมล้มในวันนี้ แล้วลุกขึ้นมาใหม่ดีกว่า หวังว่านางคงเข็ด

ไขข้อข้องใจการอายัดเงินเดือน

ถาม : ถูกศาลพิพากษาแล้ว อีกนานแค่ไหนถึงจะโดนอายัดเงินเดือน? ตอบ : การอายัดเงินเดือน หรือการอายัดทรัพย์ใดๆนั้น จะใช้เวลานานเท่าใดนั้น มันขึ้นอยู่กับความขยันของฝ่ายโจทก์(เจ้าหนี้) ที่จะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาล ไปเขียนคำร้องขอต่อกรมบังคับคดีให้เป็นผู้ทำการอายัด โดยให้เหตุผลว่าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล(ดื้อแพ่ง) เจ้าหนี้จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อกรมบังคับคดี พร้อมกับแนบหลักฐานว่า เจ้าหนี้สืบพบว่าลูกหนี้ในคดีนี้ ทำงานอยู่ที่บริษัท xxxx จำกัด โดยหลังจากนี้ ทางกรมบังคับคดีก็จะจัดส่งจดหมาย ไปถึงยังผู้บริหารของบริษัท xxxx จำกัด เพื่อให้ทำการหักอายัดเงินเดือนของลูกจ้าง(จำเลยที่ถูกพิพากษา) พร้อมกับให้นายจ้างเป็นผู้นำส่งเงินที่อายัดจำนวนนี้ ส่งมาให้กรมบังคับคดีทุกเดือน เพื่อชดใช้หนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะหมดหนี้ ดังนั้น...ระยะเวลาในการอายัดใดๆ ของกรมบังคับคดี หลังจากที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วนั้น...มันจึงไม่แน่นอน (ถึงแม้นว่าในคำพิพากษา จะเขียนเอาไว้โดยชัดเจนว่า บังคับภายใน 15 หรือ 30 วัน ก็ตามที) เพราะเงื่อนไขของระยะเวลาดังกล่าว มันขึ้นอยู่กับทางฝ่ายโจทก์(เจ้า