บทความ

เมื่อโดนทวงหนี้บัตรทางโทรศัพท์

บ่ายวันหนึ่ง...เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น “กริ๊งงงงงง...”  (รับสายแล้ว ได้ยินเสียงทางนั้นพูดขึ้นว่า) หมาทวงหนี้  : ขอเรียนสายคุณนกกระจอกเทศครับ นกกระจอกเทศ  : ครับ...ผมนกกระจอกเทศพูดสายอยู่ครับ หมาทวงหนี้  : ผมโทรมาจากสำนักงานหมาขี้เรื้อนครับ จะสอบถามเกี่ยวกับยอดหนี้ของธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก ไทย ไม่ทราบว่ามีการชำระเข้ามาบ้างหรือยังครับ? นกกระจอกเทศ  : ยังเลยครับ หมาทวงหนี้  : ยอดเงินคงค้างของคุณ มันหลายเดือนแล้วนะครับ ไม่ทราบว่าจะชำระได้เมื่อไหร่? นกกระจอกเทศ  : เมื่อมีตังค์ครับ...แต่...ตอนนี้ยังไม่มี หมาทวงหนี้  : แล้วเมื่อไหร่จะมีล่ะครับ? นกกระจอกเทศ  : เมื่อไหร่เหรอ?...อืม...มีเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้นแหละครับ หมาทวงหนี้  : คุณไม่มีความคิดที่จะชำระเข้ามาบ้างเลยหรือครับ? นกกระจอกเทศ  : ไอ้“ ความคิด ”น่ะ...ผมมีครับ แต่ไอ้ที่มันไม่มีน่ะ ก็คือ" กะตังค์ "ครับ...เข้าใจไหมครับ? หมาทวงหนี้  : แล้วคุณมีวิธีการที่จะหาเงินมาชำระให้ทางเราได้ยังไงบ้างครับ? นกกระจอกเทศ  : อืมมม!!!...ไม่รู้สิ...แล้วคุณมีวิธีการที่จะช่วยให้ผมหาเงินได้บ้างไหมล่ะครับ? หมาทวงหนี้  : แล้วตอนนี้ คุณไม่มีเงินติดตัวบ้างเลยเ

หมายศาลจะถุกส่งไปที่ไหน

รูปภาพ
หมายศาล" จะต้องถูกส่งไปยังที่อยู่ของผู้ที่ถูกฟ้อง(บ้าน/ภูมิลำเนา ของจำเลย)ณ ปัจจุบันเท่านั้น...จึงจะถูกต้องตามขั้นตอนของกฏหมาย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์(เจ้าหนี้) ก่อนที่จะทำการฟ้องลูกหนี้(จำเลย)ให้เป็นคดีความ โจทก์จะต้องทำการเช็คทะเบียนบ้านของลูกหนี้ให้ Update และถูกต้องตามความเป็นจริงเสียก่อน ว่าลูกหนี้ที่โจทก์จะทำการฟ้องผู้นั้น อยู่ที่ใดตามทะเบียนบ้านที่ถูกต้อง ณ ปัจจุบัน โดยการไปเช็คข้อมูลที่อยู่ของลูกหนี้ ที่"กองทะเบียนราษฎร์" สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ให้ถูกต้องเสียก่อนที่จะส่งเรื่องฟ้อง...มิฉะนั้น อาจเข้าข่าย"ฟ้องผิดสถานที่"ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หมายศาล จะมีลักษณะที่เป็นชุดกระดาษหนาเป็นปีกๆ (มีจำนวนกระดาษหลายๆแผ่น จึงทำให้ดูหนามากๆ) และการปิดหมายศาลดังกล่าว จะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของศาล (แมสเสนเจอร์ศาล) เป็นผู้นำส่ง ไม่ใช่กระทำโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายเจ้าหนี้ เป็นผู้นำส่ง โดยเจ้าหน้าที่ของศาลผู้นำส่งหมาย จะนำเอาหมายศาลมาผูกเชือก แล้วทำการหาที่แขวนหรือที่ผูกห้อยไว้ที่บริเวณหน้าบ้านของจำเลย เช่นที่ประตูบ้าน หรือที่บริเวณประตูร

ปล่อยกู้หนี้นอกระบบมีหนาว

ปล่อยกู้หนี้นอกระบบมีหนาว เจอ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา อ้างอิงข้อมูลจาก www.thairath.co.th/content/836471 และ www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000004722 มีผลแล้ว! กม.“ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด” ชี้ เป็นความผิดอาญาแผ่นดินอันยอมความไม่ได้ เพิ่มโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เน้น เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น วันนี้ (15 ม.ค. 60) มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ” มาตร

Wealth ตวามมั่งคั่ง

Wealth is not authored by material possessions, money, or "stuff" but by what I call fundamental "F's": Family (relationships), fitness (health) and freedom (choice). Within this wealth trinity is where you will find the true wealth and, yes, happiness. - MJ DeMarco- The Fastlane Millionaire . ความมั่งคั่งที่แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุที่เรามี เงินทอง หรือ สมบัต แต่อยู่ภายใต้ัสามสิ่งนี้ Family คือ ความครัว หรือ ความสัมพันธ์ คู่รัก เพื่อน ญาติ บางคนทำงานหนักจนลืมดูแลคนในครอบครัว หรือ ไม่มีเวลาให้ลูก หรือ ห่างๆเพื่อนไป Fitness คือ สุขภาพกายใจที่ดี มีเงินแต่นอนติดเตียง หรือ สะสมโรคไว้เยอะมากก็ไม่ไหวนะครับ Freedom คือ ได้เลือกในสิ่งที่ตัวเองต้องการ คนบางคนมีรายได้ แต่ไม่มีความมั่งคั่ง เพราะมีโอกาสได้เลือกอะไรทั้งนั้น คนที่มั่งคั่งจริง จะเลิกได้ว่าตัวเองต้องการไม่ต้องการอะไร

อิสรภาพของคุณราคาเท่าไหร่ โดย คุณ บอย วิสูตร

รูปภาพ
ไม่เคยมีครั้งไหนที่คุณจะวัดอิสรภาพของคุณได้ชัดเจนเท่าครั้งนี้ Wisoot Sangarunlert ได้เงิน 2 หมื่นบาทเท่างานประจำ แต่ไม่รู้ว่าเดือนหน้าจะมีงานให้ทำอีกมั้ย December 1, 2014  ·  ไม่เคยมีครั้งไหนที่คุณจะวัดอิสรภาพของคุณได้ชัดเจนเท่าครั้งนี้ สมมติว่าคุณทำงานประจำ ได้เงินเดือน 2 หมื่นบาท แล้ววันนึงคุณไปรับงานนอก ใช้เวลาตอนหลังเลิกงาน ทำงา นประมาณหนึ่งเดือน คำถามคือ แล้วถ้าเงื่อนไขคือคุณต้องเลือกระหว่าง จะทำงานประจำต่อ หรือ ลาออกไปทำงานไม่ประจำ เพราะทำสองอย่างไม่ไหว เหนื่อยมาก คุณจะเลือกอะไร? ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่เลือกทำงานประจำต่อไปแน่นอน เพราะมันให้ "ความมั่นคง" เรารู้แน่ ๆ ว่าสิ้นเดือนจะได้เงินเอามาใช้จ่าย แต่ถ้าผมเปลี่ยนโจทย์ใหม่ สมมติว่าคุณก็ยังเงินเดือน 2 หมื่นบาทเท่าเดิม แต่คราวนี้งานนอก ทำให้คุณได้เงิน 4 หมื่นบาทต่อเดือน แต่ก็ยังไม่รับประกันอีกนั่นแหละว่าเดือนหน้าจะมีงานให้ทำอีกมั้ย ถ้าเป็นแบบนี้คุณจะเลือกอะไร ระหว่างงานประจำกับงานไม่ประจำ? คุณก็ยังอาจจะไม่ลาออกอยูดี เพราะยังอยากได้ความมั่นคง แล้วถ้างานนอกให้รายได้เป็นเดือนละ 8 หมื่นบาทล่ะ

อายุเท่าไหร่จึงสายเกินเปลี่ยนสายอาชีพ

นักเขียนการ์ตูน ชัย ราชวัตร เรียนจบสายบัญชี แต่ชอบการ์ตูนมากกว่า ในที่สุดก็เดินตามหัวใจ กลายเป็นศิลปินสร้างผลงานดี ๆ มากมาย มองรอบตัว ผมเห็นคนที่เลือกหลุดออกจากอาการผิดที่ไม่น้อย บางคนเป็นหมอแล้วหันทิศมาเป็นนักเขียน บางคนจบสถาปัตย์ฯไปเป็นนักแต่งเพลง จบกฎหมายไปทำสวน จบออกแบบเป็นนักดนตรี บางคนทำงานเลขานุการ แล้วมาเรียนเป็นครู บางคนทำงานในองค์กรนาน แล้วหักฉากมาทำการครัว ฯลฯ คนใกล้ตัวผมหลายคนเปลี่ยนทิศเดินชีวิตเมื่ออายุเกินเลข 4 เลข 5 ไปแล้ว บางคนเกษียณแล้ว เพิ่งเริ่มมาเรียนสายใหม่ ไม่มีคำว่าสายเกินไป พอใจเปลี่ยนวันไหนก็วันนั้น ชีวิตไม่จำเป็นต้องจมดักดานกับจุดเดิมที่เดิมหลุมเดิมไปจนตาย เปลี่ยนใจเมื่อไร ก็เปลี่ยนทิศได้เสมอ ไม่ต้องทำงานสายเดิมต่อไปจนถึงวันตายเพียงเพราะเรียนมาสายใดสายหนึ่ง หรือเพราะความเคยชิน เพราะพ่อสั่งหรือแม่ขอ การทู่ซี้ทำสิ่งที่ไม่ชอบ ย่อมได้งานไม่ดี และท้ายที่สุด ก็ส่งงานไม่ดีออกไปในสังคม บางกรณีก็สร้างอันตราย ไม่ชอบเป็นครู แต่ดันทุรังสอนต่อ ก็ไม่มีทางสร้างเด็กที่มีคุณภาพได้ ไม่ชอบเป็นหมอ แต่เรียนหมอเพราะคะแนนสูงมาตลอด ใคร ๆ ก็ยุให้เรียนหมอ ทำงานแบบไม่ชอบอ

ความหมายของการนัดไปศาลครั้งแรก

าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า  ให้จำเลยมาศาล เพื่อการไกล่เกลี่ย ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 และให้จำเลยมาศาล เพื่อการสืบพยานโจทก์ ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ  วันนัดไกล่เกลี่ย  (นัดที่หนึ่ง) และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ  วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ"  (นัดที่สอง) ส่วนสำหรับวัน นัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา)  จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า  ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน? ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง) เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กันเป