บทความ

การทำประนอมหนี้คือการทำสัญญานรก

รูปภาพ
“ สัญญา_นรก ” คืออะไร? “ สัญญา นรก ” ก็คือสัญญาที่ทางฝ่ายเจ้าหนี้หยิบยื่นเงือนไขให้กับลูกหนี้ หลังจากที่ลูกหนี้หยุดชำระหนี้บัตรเครดิต หรือหยุดชำระหนี้สินเชื่อ มานานสักระยะหนึ่งแล้ว(หยุดจ่ายประมาณ 2-3 เดือนขึ้นไป) โดยทางเจ้าหนี้จะเสนอให้ทางฝ่ายลูกหนี้กู้เงินก้อนใหม่จากทางเจ้าหนี้ เพื่อไปปิดหนี้ตัวเดิมที่ได้หยุดจ่ายไป แล้วมาผ่อนต่อในสัญญาเงินกู้ตัวใหม่นี้แทน โดยเสนอว่าจะลดดอกเบี้ยให้ และยอดผ่อนจ่ายต่อเดือนน้อยลง แต่ระยะเวลาในการผ่อนจ่ายนานขึ้น(เช่น 4 - 5 ปี)เป็นต้น เงินกู้ก้อนใหม่ที่ได้มานี้ จะเอาไปใช้ปิดหนี้ที่ค้างชำระของเดิมเลยโดยตรง เงินก้อนนี้จะไม่ผ่านมือของลูกหนี้เลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น นายพอเพียงมียอดหนี้บัตรเครดิตอยู่ 50,000 บาท แล้วนายพอเพียงก็หยุดจ่ายหนี้มานานประมาณ 3 เดือนแล้ว จนยอดหนี้กลายเป็น 56,200 บาท (ยอดหนี้เมื่อสามเดือนก่อน + ดอกเบี้ย + ค่าปรับล่าช้า) แล้วทางเจ้าหนี้ก็เสนอให้นายพอเพียงทำสัญญานรก เพื่อกู้เอาเงิน 56,200 บาท ไปจ่ายปิดหนี้ของบัตรเครดิต แล้วมาผ่อนหนี้กับสัญญานรกตัวนี้แทน ซึ่งคิดดอกเบี้ย 13% ต่อปี และสามารถผ่อนได้ยาวนานถึง 5ปี(60งวด) โ

ความหมายของ วันนัดไปศาล

ถ้าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า ให้จำเลยมาศาล เพื่อการไกล่เกลี่ย ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 และให้จำเลยมาศาล เพื่อการสืบพยานโจทก์ ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ วันนัดไกล่เกลี่ย (นัดที่หนึ่ง) และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ" (นัดที่สอง) ส่วนสำหรับวัน นัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา) จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน? ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง) เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท

ทำอะไร ........หลังเกษียณ

จอเพื่อนหลายคน บอกอยากให้เขียนเรื่องควรทำอะไรหลังเกษียณเพื่อเป็นแนวทางให้กับมือใหม่ ในฐานะที่มีประสบการณ์เกษียณมานานที่สุดในรุ่น...ก็ 16 ปีเข้าไปแล้ว เยอะเหมือนกัน...ตั้งใจมานานว่าจะเขียนเรื่องนี้ตอนเพื่อน ๆ ใกล้เกษียณซึ่งเวลานี้ก็เหมาะสม...แต่เมื่อสาระตะอย่างละเอียดแล้วก็บอกตัว เองว่าอย่าเขียนดีกว่า เพราะเขียนไปก็คงเขียนไม่จบ...เคยกำหนดโครงการแรกหลังเกษียณว่าจะเขียน เรื่องประสบการณ์ของผู้บริหารเมื่ออายุยังน้อย จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้เริ่มต้นเลย...หลังเกษียณ แม้จะมีเวลาเยอะ แต่ต้องใช้ไปกับการลอกหัวโขนด้วยตนเองออกทีละชั้น ชั้นแล้วชั้นเล่า เป็นประสบการณ์ที่ท้าทายจนแทบไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น...เห็นบางคนที่ไม่เต็ม ใจให้ลอก เมื่อถึงเวลามันก็ต้องหลุดร่วงไปเองอย่างเจ็บปวด...ตัวผมนั้น จนป่านนี้แล้ว ยังเหลือให้ลอกอีกตั้งหลายชั้น...เรื่องนี้ยกเว้นให้กับคนที่ไม่มีหัวโขนให้ ลอก...แล้วพวกเราล่ะ ใครไม่มีหัวโขนให้ลอก...จริงหรือ ผม เกริ่นเรื่องเอาไว้อย่างนี้...ก็มีเพื่อนฝูงคะยั้นคะยอให้เขียน...พอมาก ๆ เข้า ก็ใจอ่อน เอ้าเขียนก็เขียน...จบได้หรือไม่ได้ยังไม่รู้...จะขอไล่เรียงทำความเข้าใจ กับการ

ทางรอดของชนชั้นกลาง โดยคุณวีระพงษ์ ธัม

  ชนชั้นกลาง หรือ Middle Class เป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย แต่ชนชั้นกลางทั่วโลกกำลังถูกท้าทายมาโดยตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนกับว่าคน “กำลังรวยขึ้น” จากชนชั้นรากหญ้าสู่ชนชั้นกลาง แต่ตำแหน่งชนชั้นกลาง กำลังมีชีวิตที่ “ยากลำบาก” ลงเรื่อย ๆ              นิยามของชนชั้นกลางนั้น พูดโดยกว้าง ๆ มักจะเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษาพอสมควร อาจจะจบปริญญา หรืออนุปริญญา มีวิชาชีพติดตัว ชีวิตอยู่สะดวกสบายแต่ไม่สามารถฟุ่มเฟือยได้มากนัก ส่วนมากจะมีบ้านเป็นของครอบครัว มีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว อาจจะชอบทานกาแฟ ร้านอาหาร ชอบท่องเที่ยว เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ฯลฯ รวมไปถึงว่ามีความเชื่อที่เหมือน ๆ กับ “คนกลุ่มใหญ่” ในสังคม เช่นช่วงหนึ่งมีความเชื่อว่า การประสบความสำเร็จต้องหางานทำดี ๆ มั่นคง เป็นเจ้าคนนายคน เป็นต้น              ประเทศกำลังพัฒนาเกือบทุกประเทศจะมีลักษณะคล้ายกันคือ มีการขยายตัวของคนชั้นกลาง เช่นในประเทศจีน ชนชั้นกลางขยายตัวจาก 15% สู่ 62% ในช่วงเวลาแค่สิบกว่าปี (จาก The Economist) เพราะพ่อแม่ของคนกลุ่มนี้จะส่งเสียลูก ๆ ให้มีการศึกษาสูง ๆ