บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2014

10 ข้อผิดพลาดของการซื้อบ้านใหม่

เมื่อถึงคราวตัดสินใจเลือกซื้อบ้านใหม่ สำหรับผู้ซื้อบ้านเป็นครั้งแรกย่อมมีความกังวลใจเป็นธรรมดา เพราะถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญเป็นเงินก้อนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการซื้อบ้าน-คอนโดฯ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ บางโครงการอาจเป็นเพียงการขายแผ่นพับโบรชัวร์เท่านั้น ลองมาดู10 ข้อผิดพลาดของการซื้อบ้านใหม่ ซื้อคอนโดใหม่ มีอะไรบ้าง จะได้ไม่เสียใจภายหลัง 1.อย่าให้ใจทำงานเกินสมอง ตราบใดที่ปล่อยให้ความอยากได้ที่เกิดจากใจเป็นตัวควบคุมการสั่งการในการซื้อบ้านใหม่ เราอาจขาดความรอบคอบในการพิจารณา บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะขายความฝันด้วยภาพโฆษณา ตกแต่งห้องด้วยมูลค่าที่อาจแพงกว่าราคาห้องด้วยซ้ำไป แต่งเติมในโฆษณาด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค สร้างอารมณ์ให้อยากอยู่ในสภาพอย่างนั้น เมื่อตัดสินใจบนใจไม่ไม่เป็นปกติ จึงอาจก่อให้เกิดความผิดหวังในภายหลังเมื่อเข้าไปอยู่จริง 2. อย่าติดกับดัก “ผ่อนดาวน์น้อย” ในยุค 4-5 ปีที่ผ่านมาโครงการส่วนใหญ่มักมีกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยการให้ผู้อยากได้บ้าน-คอนโดฯ สามารถผ่อนดาวน์ได้ในอัตราต่ำมากๆ อาทิ บ้าน-คอนโดฯ ราคา 2 ล้านบาท แต่ให้ผ่อนดาวน์งวดละ 5 พันบาท คนเงินเดือน 2 หมื่นบาทไ

มหาเศรษฐีฮ่องกง ลี กา ชิง สอนวิธีทีซื้อบ้านและรถภายในเวลา 5 ปี

หมายเหตุ : *1 หยวน ประมาณ 5 บาท มหาเศรษฐีฮ่องกง ลี กา ชิง แบ่งปันความภูมิปัญญาทางด้านการเงินของเขา สรุปแผนที่ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับแผนห้าปีที่จะเปลี่ยนชีวิตคนไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างสิ้นเชิง สมมติว่ารายได้ต่อเดือนของคุณมีแค่ 2,000 หยวน คุณสามารถมีการ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ โดยการที่คุณแบ่งเงินเป็น 5 ส่วน ส่วนแรก 600 หยวน, ส่วนที่สอง 400 หยวน, ส่วนที่สาม 300 หยวน, ส่วนที่สี่ 200 หยวน, ส่วนที่ห้า 500 หยวน เงินส่วนแรก กันเอาไว้เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีง่ายๆ คุณแค่แบ่งเงินในแต่ละวันไว้ใช้จ่ายไม่เกิน 20 หยวนต่อวัน มื้อเช้าของทุกวันกินวุ้นเส้น ไข่หนึ่งฟอง และนมหนึ่งแก้ว ส่วนมื้อกลางวันก็กินอาหารเบาๆ และผลไม้ พอมือเย็นก็เข้าครัวไปทำอาหารที่ประกอบด้วยผัก และดื่มนมหนึ่งแก้วก่อนนอน ในหนึ่งเดือนค่าใช้จ่ายตกประมาณ 500-600 หยวน เมื่อคุณยังหนุ่มสาวร่างกายคุณยังไม่ค่อยเจ็บป่วยในช่วงปีแรกๆ พอเพียงสำหรับการกินอยู่แบบนี้ เงินส่วนที่สอง กันไว้สำหรับการสร้างเพื่อน และขยายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในแวดวง สิ่งนี้จะทำให้คุณมั่งคั่ง กันไว้ 100 หยวนสำหรับค่าโทรศัพท์ กันเงินไว้สำ

เงิน 1 ล้าน พอใช้หลังเกษียณหรือไม่

สมศรีจะเกษียณอายุในวัย 60 ปี แต่ปัญหาของสมศรีคือ มีเงินเก็บอยู่เพียง 1,000,000 บาท จะเอามาใช้ได้อีกกี่ปี ถ้าเอาเงิน 1,000,000 บาทมากอดไว้เฉยๆ ไม่ทำอะไร ถ้าใช้เดือนละ 10,000 บาท ปีนึงก็ตก 120,000 บาท สมศรีจะอยู่ไปได้ประมาณ 9 ปี แต่ว่า เราจะอยู่หลังเกษียณแค่ 9 ปีเหรอ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไไปได้ด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ คนมีอายุยืนมากขึ้น  เอ  แล้วเราจะทำไงดี อีกวิธีที่แนะนำ - กันเงินมา 600,000 บาท  เอาไว้ใช้เดือนละ 10,000 บาท ก็ตกปีละ 120,000 บาท จะอยุ่ได้ประมาณ 5 ปี แต่เงินนี้อย่าเก็บไว้เฉยๆ ให้เอาไปฝากธนาคารหรือกองทุนตราสารหนี้ หรือ กองทุนตลาดเงินที่มีสภาพคล่อง ให้ได้ผลตอบแทนประมาณ 2.5-3.0 % เพื่อให้ครอบคลุมเงินเฟ้อที่กัดกินเงินของเราให้ด้อยค่า ก้อนนี้ก็จะช่วยให้ สมศรีประทังชีวิต จาก 60 - 65 ปี ซึ่งเป็นช่วงเกษียณแรกๆ -  อีกส่วนที่เหลือ 400,000 เอาออกมา 65% ของ 400,000 = 260,000 เอามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็จะได้ผลตอบแทนประมาณ 4 - 5% ต่อปี เงินก็จะงออกออกมาเป็น 320,000 บาท ใช้ได้ต่อจาก อายุ 65 - 68 ปีที่เดือนละ 10,000 นะครับ - อีกส่วนนึง

“Test Drive Your Retirement“

ลองก่อนก็ได้ ว่าไหวไหม 27 มกราคม 2557 บัวหลวง Money Tips             ใช่ครับ ในบั้นปลายชีวิต ทุกคนก็อยากอยู่อย่างมีความสุขในวัยเกษียณ ซึ่งความสุขของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แล้วคุณๆ ได้เตรียมการหรือวางแผนบ้างหรือยังครับ          เรื่องนี้ บางคนซึ่งเป็นส่วนน้อยนิดเขาคิดและวางแผนมาตั้งแต่เริ่มต้นทำงานใหม่ๆ แล้ว บางคนก็เพิ่งเริ่มคิดหรือวางแผนตอนใกล้ๆ จะเกษียณ แต่ผมเชื่อว่าน้อยคนที่มีการวางแผนแล้วจะเคยทดลองใช้ชีวิตตามแผนที่วางไว้ เพื่อดูว่าจะเป็นอย่างที่เราคิดบ้างหรือไม่            ที่มาของเรื่อง “ ลองก่อนก็ได้ ว่าไหวไหม “ อันนี้ มาจากบทความเรื่อง “ Test Drive Your Retirement “ ที่ CEO มอบหมายให้ผมอ่านแนวคิดแล้วเขียนขึ้นมาใหม่ ผมอ่านไปแล้วก็คิดว่ามันเหมือนเรามีแผนซื้อรถใหม่ แล้วไปที่ศูนย์ขายรถยนต์เพื่อลองขับ เพื่อให้ได้ยี่ห้อหรือรุ่นที่เราชอบ ที่พอใจที่สุด ตามงบประมาณครับ          ในการเกษียณ เราต้องเริ่มด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเกษียณ เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ทั้งค่าเช่า ค่าผ่อนบ้าน และค่าซ่อมแซม) ค่าใช้จ่